ทุเรียนพื้นบ้าน
ต้นกำเนิดของ “ทุเรียนบ้าน” ตำบลละมอ คุณธนายุทธ นิตมา กำนันตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เล่าว่า “เมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อนยังไม่มีความเจริญเรื่องการคมนาคม ไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนสมัยนี้ การเดินทางใช้วิธีการเดินเท้าตามเส้นทางสายน้ำ สายคลอง คนจากฝั่งจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง หากต้องการเดินทางมาจังหวัดตรัง ก็จะใช้เส้นทางสายน้ำที่ไหลผ่านเทือกเขาบรรทัดลงมาทางอำเภอนาโยง เพื่อเข้าเมืองตรัง เส้นทางหลักที่ใช้ ได้แก่ สายน้ำคลองตะเหมก ซึ่งไหลลงมาเชื่อมกับคลองวังหยี และคลองละมอ แต่ในการเดินทางต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ทำให้ชาวบ้านมีการคดข้าวห่อมากินระหว่างทาง โดยส่วนใหญ่จะแวะกินแถวคลองตะเหมกและคลองวังหยี ปัจจุบันคือพื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 9 ของตำบลละมอ อำเภอนาโยง ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ชาวบ้านคดห่อมากินนั้นคือ “ทุเรียนบ้าน” ทำให้สองฝั่งคลองเต็มไปด้วยต้นทุเรียน และมีชาวบ้านในบริเวณนั้นนำไปขยายพันธุ์ปลูกในพื้นที่ของตนเอง จึงทำให้ทุเรียนบ้านยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน” จุดเด่นของ “ทุเรียนบ้าน” ทุเรียนบ้านเป็นไม้ขนาดใหญ่ที่สามารถปลูกร่วมกับไม้ยืนต้นอื่นได้แบบพึ่งพาอาศัยกัน ทนต่อโรค และมีอายุยืนยาว จากการเ
ทุเรียน เป็นไม้ผลที่มีแหล่งดั้งเดิมในคาบสมุทรมลายู ก่อนจะกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยคาดว่า ได้รับสายพันธุ์ทุเรียนมาจากประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มปลูกครั้งแรกในพื้นที่ภาคใต้ก่อน จากนั้นจึงค่อยนำมาปลูกในพื้นที่ภาคกลาง เช่น จังหวัดนนทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ในอดีตไทยปลูกทุเรียนพื้นบ้านหลายร้อยสายพันธุ์ โดยนำมาปลูกเชิงการค้า ประมาณ 60-80 พันธุ์ เท่านั้น ในปัจจุบันทุเรียนพื้นบ้านซึ่งเป็นสายพันธุ์โบราณเหล่านั้นปลูกน้อยลงและหายาก บางสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์เชิงการค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง รองลงมาคือ ทุเรียนพันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุม และพันธุ์อื่นๆ ทุเรียนสายพันธุ์โบราณ โดดเด่นเรื่องความทนทาน โรค-แมลง และการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม เพราะถูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์มาจากเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนในอดีต ช่วงที่นักวิชาการไปเก็บรวบรวมพันธุ์ทุเรียนโบราณจากแหล่งผลิตที่มีอายุการปลูก 40-50 ปี ขณะที่บางสวนมีทุเรียนต้นพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุมาก 100-200 ปี ก็เคยเจอมาแล้ว ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ได้รวบรวม
สภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ร่วมบูรณาการโครงการกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จัดโครงการการส่งเสริมการอนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้านจังหวัดยะลา ขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านที่มีศักยภาพ โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม เพื่อคัดทุเรียนบ้านที่มีรสชาติอร่อยของตนเองเข้าประกวด สู่การยกระดับเป็นทุเรียนพื้นบ้านสายพันธุ์ดีอัตลักษณ์ของจังหวัดยะลา เพื่อให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค สร้างเสถียรภาพด้านราคา และขยายพันธุ์ต่อไป หลังจากนั้นเป็นการทำงานร่วมกับภาควิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิต และยกระดับทุเรียนพื้นบ้านยะลา ซึ่งมีขอบเขตในการดำเนินงานคือ การคัดเลือกพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านยะลาที่มีศักยภาพจากการประกวด ลงพื้นที่บันทึกพิกัด โดยอาศัยลักษณะสัณฐานของผล รสชาติ ลักษณะเด่น วิเคราะห์ลักษณะคุณภาพพื้นฐานอย่างง่าย และระบุเอกลักษณ์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ ซึ่งในปี 2563 มีทุเรียนบ้านรสชาติดี ที่เก็บตัวอย่างไปแล้วกว่า 13 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กระดุมทองใหญ่ ,ขมิ้นผู้ใหญ่ ,ริมคลอง ,YC1,มะเฟือง ,เล็กหมอน ,ไอ้เบตง,น้องเบตง,ก้านทอง,รอปีอ๊ะ2,กำปั้น,ไข
ทุเรียน เป็นไม้ผลที่มีแหล่งดั้งเดิมในคาบสมุทรมลายู ก่อนจะกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยคาดว่า ได้รับสายพันธุ์ทุเรียนมาจากประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มปลูกครั้งแรกในพื้นที่ภาคใต้ก่อน จากนั้นจึงค่อยนำมาปลูกในพื้นที่ภาคกลาง เช่น จังหวัดนนทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ต้นทุเรียนสาลิกา ในอดีตไทยปลูกทุเรียนพื้นบ้านหลายร้อยสายพันธุ์ โดยนำมาปลูกเชิงการค้า ประมาณ 60-80 พันธุ์ เท่านั้น ในปัจจุบันทุเรียนพื้นบ้านซึ่งเป็นสายพันธุ์โบราณเหล่านั้นปลูกน้อยลง และหายาก บางสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์เชิงการค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง รองลงมาคือ ทุเรียนพันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุม และพันธุ์อื่นๆ ทุเรียนสายพันธุ์โบราณโดดเด่นเรื่องความทนทานโรค-แมลง และการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม เพราะถูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์มาจากเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนในอดีต ช่วงที่นักวิชาการไปเก็บรวบรวมพันธุ์ทุเรียนโบราณจากแหล่งผลิตที่มีอายุการปลูก 40-50 ปี ขณะที่บางสวนมีทุเรียนต้นพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุมาก 100-200 ปี ก็เคยเจอมาแล้ว ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชา
ช่วงเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับ คือร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. … ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เจตนารมณ์ของการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว ก็เพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งในส่วนของระบบการจัดการทรัพยากรและชุมชน โดยเปิดทางให้ประชาชนที่ปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือพื้นที่ของตนเอง หรือที่ที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามกฎหมาย สามารถตัดไม้ขายได้ หรือนำไปเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจได้ โดยต้องเป็นต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า จำนวน 58 ชนิด ซึ่งถือเป็นวิธีการออมเงินอีกทางหนึ่ง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นการสร้างให้เกิดพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติจะต้องผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก่อนประกาศบังคับใช้ ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้หยิบยกมติคณะรัฐมนตรี ขึ้นมาเกริ่นนำก็เป็นการกระต
เมื่อ 3-4 ปีมานี้ ราคาทุเรียนจูงใจให้เกษตรกรปลูกอย่างมาก ปัจจัยหนุนส่งเป็นเรื่องของการส่งออก โดยเฉพาะไปจีน ด้วยเหตุนี้ จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมาก ไม่มีใครคาดเดาได้ว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร ดูแต่ยางพารานั่นประไร จุดสูงสุดกว่า 100 บาท ทุกวันนี้ต่ำเตี้ยติดดิน เกษตรกรส่วนใหญ่ มีรูปแบบการผลิตทุเรียนคล้ายๆ กัน แต่ สวนจันทวิสูตร ดูจะแตกต่างจากสวนอื่น สวนจันทวิสูตร อยู่เลขที่ 38/11 หมู่ที่ 1 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี คุณกิตติ จันทวิสูตร เจ้าของสวน เล่าว่า เดิมทีผลิตสินค้าเกษตรคล้ายเกษตรกรรายอื่น โดยปลูกสะละ ลองกอง ตะเคียน รวมทั้งทุเรียน ระยะหลังเริ่มปรับเปลี่ยน คือตัดต้นตะเคียน แล้วปลูกทุเรียนแทน โดยกิจกรรมที่ทำอยู่มีพื้นที่ 300 ไร่ พันธุ์แปลกใหม่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด คุณกิตติ บอกว่า ตนเองปลูกตะเคียนไว้มาก ทุกวันนี้ยังมีอยู่ และทยอยขายให้กับโรงเลื่อย สำหรับทุเรียน มีปลูกแปลงใหญ่พันธุ์หมอนทอง จำนวน 500 ต้น อยู่ที่อำเภอมะขาม แต่ที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ ปลูกทุเรียนพันธุ์ใหม่ พันธุ์โบราณหายาก รวมแล้วเป็น 100 พันธุ์ คุณกิตติ เป็นคนหมั่นศึกษาหาความรู้ อย่างนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ลงเรื่องทุเรีย