ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา
นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่จังหวัดยะลาให้การส่งเสริมเป็นสินค้ามูลค่าสูง เนื่องจากเป็นไม้ผลที่นิยมบริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดย “ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา” หรือ Sa-Ded Nam Yala หรือ Durian Sa-Ded Nam Yala เป็นสินค้าอัตลักษณ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 100 เมตรขึ้นไป ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดยะลา สภาพแวดล้อมที่ห้อมล้อมด้วยผืนป่า ภูเขา สายน้ำ แร่ธาตุในดิน จึงส่งผลให้คุณภาพของทุเรียนในพื้นที่แตกต่างจากแหล่งอื่น คือ เนื้อทุเรียนแห้ง ไม่แฉะ รสชาติหวานมัน เส้นใยน้อย คุณภาพดี ด้านสถานการณ์การผลิตทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา ปี 2567 พบว่า มีเนื้อที่ยืนต้น 96,234 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 91ของเนื้อที่ปลูกทั้งจังหวัด เนื้อที่ให้ผล 66,788 ไร่ ผลผลิตรวม 76,739 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,149 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรปลูกทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ก้
นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่จังหวัดยะลาให้การส่งเสริมเป็นสินค้ามูลค่าสูง เนื่องจากเป็นไม้ผลที่นิยมบริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดย “ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา” หรือ Sa-Ded Nam Yala หรือ Durian Sa-Ded Nam Yala เป็นสินค้าอัตลักษณ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 100 เมตรขึ้นไป ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดยะลา สภาพแวดล้อมที่ห้อมล้อมด้วยผืนป่า ภูเขา สายน้ำ แร่ธาตุในดิน จึงส่งผลให้คุณภาพของทุเรียนในพื้นที่แตกต่างจากแหล่งอื่น คือเนื้อทุเรียนแห้ง ไม่แฉะ รสชาติหวานมัน เส้นใยน้อย คุณภาพดี ด้านสถานการณ์การผลิตทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา ปี 2567 พบว่า มีเนื้อที่ยืนต้น 96,234 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 91 ของเนื้อที่ปลูกทั้งจังหวัด เนื้อที่ให้ผล 66,788 ไร่ ผลผลิตรวม 76,739 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,149 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรปลูกทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ