ทุเรียนสาลิกา
เมื่อพูดถึงสินค้าอัตลักษณ์จังหวัดพังงา เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงทุเรียนสาลิกาพังงาเป็นลำดับแรก มีลักษณะเฉพาะตัวและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ทำให้ทุเรียนสาลิกาพังงาเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และเป็นที่นิยมในตลาดสำหรับผู้บริโภคที่ชื่นชอบทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีสินค้าอัตลักษณ์อื่นๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดพังงา เช่น ข้าวไร่ดอกข่าพังงา มังคุดทิพย์พังงา ปลิงทะเลเกาะยาว เป็นต้น สวนเย็นจิตกะปง แหล่งผลิตทุเรียนสาลิกาพังงาดั้งเดิม การันตีด้วยรางวัลแหล่งผลิตสินค้าอัตลักษณ์ต้นแบบ และรางวัลเกษตรกรดีเด่น ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของคุณจำลอง เอี๋ยวสกุล พ่อผู้ก่อตั้ง และคุณฐิติกร เอี๋ยวสกุล ลูกชายผู้สืบทอด ทำให้สวนเย็นจิตกะปงเป็นหนึ่งในสวนทุเรียนที่ใครหลายคนถามถึง อยากเข้ามาเยี่ยมชม และทดลองชิมถึงสวนสักครั้ง คุณพ่อจำลอง ผู้ก่อตั้งสวนเย็นจิตกะปง เริ่มต้นปลูกทุเรียนพันธุ์สาลิกาพังงากว่า 200 ต้น และทุเรียนพันธุ์หมอนทองอีกเล็กน้อย เพื่อจำหน่ายและรับประทานในครอบครัว แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการตลาด คุณพ่อจำลองจึงตัดสินใจโค่นทุเรียนบางส่วน เปลี่ยนไปทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันทดแทน ซึ่งให้ผลส
ทุเรียนสาลิกา (Salika Durian) ถือเป็นไม้ผลอัตลักษณ์ของจังหวัดพังงา ที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่อำเภอกะปง และได้มีการขยายพันธุ์จนมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งทุเรียนสาลิกาของแท้ดั้งเดิมมีลักษณะผลค่อนข้างกลม เปลือกบาง เมล็ดลีบ รสชาติหวานมัน เนื้อสีเหลือง เนื้อหนาละเอียด มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ และที่สำคัญบริเวณกลางแกนผลมีสนิมสีแดงทุกผล จนได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ภายใต้ชื่อ “ทุเรียนสาลิกาพังงา” จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยมีขอบเขตพื้นที่การผลิตในพื้นที่อำเภอกะปงเท่านั้น ลักษณะทุเรียนสาลิกา เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ผลค่อนข้างกลม เปลือกผลบาง หนามสั้นและค่อนข้างถี่ ผลดิบสีเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อผลแก่สีจะอ่อนลง และมีสีน้ำตาลอ่อนบริเวณร่องพู เนื้อมีสีเหลือง เนื้อหนาละเอียด ไม่มีเส้นใย เนื้อแน่น ไม่เละ มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ รสชาติหวานมัน เมล็ดส่วนใหญ่จะมีลักษณะลีบ มีขนาดเล็ก น้ำหนักผลเฉลี่ย 1-2 กิโลกรัม มีผลผลิตออกสู่ตลาดในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม คุณรุ่งรดิศ ภิรมย์ หรือ โก้ลือ เห็นถึงความสำคัญของทุเรียนสาล
กลับมาอีกครั้ง ที่เก่า…เวลาเดิม…สำหรับฤดูกาลของทุเรียนสาลิกา ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน 2567 ใครที่ผ่านไปผ่านมาหรือตั้งใจมาเที่ยวและพักค้างที่จังหวัดพังงา ต้องไม่พลาดที่จะแวะชิมทุเรียนสาลิกา โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอกะปง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของทุเรียนสาลิกา ราชาทุเรียนบ้านภาคใต้ หรือจะสั่งออนไลน์ก็พร้อมจัดส่งความอร่อยกันถึงบ้าน รับประกันรสชาติหวานมัน พร้อมกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ฉบับพังงา นายอำนวย แออุดม เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า “ทุเรียนสาลิกา” หรือชื่อเต็มตามการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ว่า “ทุเรียนสาลิกาพังงา” (Salika Phangnga Durian) ถือเป็นไม้ผลอัตลักษณ์ของจังหวัดพังงาที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่อำเภอกะปง จังหวัดพังงา และได้มีการขยายพันธุ์จนมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทุเรียนสาลิกาของแท้ดั้งเดิมนั้นจะมีลักษณะผลค่อนข้างกลม เปลือกบาง เมล็ดลีบ รสชาติหวานมัน เนื้อสีเหลือง เนื้อหนาละเอียด มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ และที่สำคัญบริเวณกลางแกนผลมีสนิมสีแดงทุกผล จนได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จ
จังหวัดพังงา ตรวจรับรองแปลงทุเรียนสาลิกา ส่งเสริมการใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่า “ทุเรียนสาลิกาพังงา” ทุเรียนสาลิกา (Salika Durian) หรือชื่อเต็มตามการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา คือ “ทุเรียนสาลิกาพังงา” เป็นทุเรียนพื้นเมืองที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่อำเภอกะปง จังหวัดพังงา มีการขยายพันธุ์จนมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทุเรียนสาลิกาของแท้ดั้งเดิมจะมีลักษณะผลค่อนข้างกลม เปลือกบาง เมล็ดลีบ รสชาติหวานมัน เนื้อสีเหลือง เนื้อหนาละเอียด มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ และที่สำคัญบริเวณกลางแกนผลมีสนิมสีแดงทุกผล จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เมื่อปี 2561 โดยมีขอบเขตการผลิตเฉพาะในพื้นที่อำเภอกะปง จังหวัดพังงา เท่านั้น และหลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้สนใจขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จนปัจจุบันมีเกษตรกรที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ทุเรียนสาลิกาพังงา” แล้ว รวมทั้งสิ้นกว
จังหวัดพังงา ขับเคลื่อนการพัฒนา “ทุเรียนสาลิกา ราชาทุเรียนบ้านภาคใต้” ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ประจำปี 2565 นายประคอง อุสาห์มัน เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2565 สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นหน่วยงานในระดับภูมิภาค ภายใต้กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและมุ่งเน้นการพัฒนาการเกษตร เศรษฐกิจ และสังคมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งมีเรื่องราวแหล่งกำเนิดสินค้า (Story) ที่ทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตจากแหล่งอื่นๆ มีความโดดเด่น มีศักยภาพ และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างมูลค่า สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิต สามารถพัฒนายกระดับผลผลิตเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานหรือขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI : Geographical Indications) ได้ต่อไป นางสาววิไลวรรณ สีนา หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า จังหวัดพังงาได้คัดเลือกทุเร
คุณนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดพังงา เล่าว่า จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และเป็นเมืองเกษตรที่ผลิตสินค้าสำคัญๆ หลายชนิด ทั้งไม้ผลจำพวกมังคุด ทุเรียน เงาะ ลองกอง สินค้าปศุสัตว์ ประมง และโดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์สาลิกา ซึ่งเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง จังหวัดพังงามีพื้นที่ปลูกทุเรียนสาลิกา ประมาณ 500 ไร่ ซึ่งขณะนี้ชื่อเสียงของทุเรียนสาลิกากำลังเป็นที่รู้จักและมีผู้บริโภคที่ต้องการลิ้มลองทุเรียนขึ้นชื่อพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าในปีนี้สภาพอากาศจะไม่อำนวย ทุเรียนยืนต้นตายไปบางส่วน ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค คุณนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดพังงา พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย นักวิชาการผู้รับผิดชอบงานไม้ผลในระดับ ลักษณะและจุดเด่นของทุเรียนสาลิกานั้น เนื่องจากเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและชอบอากาศร้อนชื้น จึงเหมาะกับสภาพภูมิอากาศในเขตจังหวัดพังงาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังทนทานต่อโรคใบติด ต้านทานโรครากเน่าโคนเน่า ประกอบกับพื้นที่ปลูกเป็นที่เนินและไหล่เขา จึงมักไม่ค่อยเจอปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า ลักษณะผลของทุเรียนสาลิกานั้นค่อนข้างกลม คล้ายกับลูกแอปเปิ้ล ซ
เกษตรจังหวัดพังงา นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา พบปะสมาชิกเครือข่ายไม้ผล อำเภอกะปง และลงดูพื้นที่เยี่ยมชมสวนทุเรียนสาลิกาของ คุณธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพังงา ซึ่งพื้นที่สวนดังกล่าวเป็นสวนทุเรียนพันธุ์สาลิกา ในพื้นที่เนินเขาตามสไตล์สวนของชาวพังงาทั่วไป ที่มีอายุต้นประมาณ 20 ปีเศษ กำลังติดผลเต็มต้น ใกล้เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวเข้ามาทุกที นักบริโภคทุเรียนสาลิกาทั้งใกล้ไกล ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม เริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาด แต่ผลผลิตออกเยอะจริงๆ ประมาณช่วงเดือนมิถุนายน และจะกระจายไปถึงเดือนกรกฎาคม 2561 ปีนี้คาดว่าทุเรียนสาลิกาจะมีผลผลิตมากกว่าปีที่ผ่านมา และมีคุณภาพที่ดี อร่อย สมการรอคอยอย่างแน่นอน คุณนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดพังงา เล่าว่า จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และเป็นเมืองเกษตรที่ผลิตสินค้าสำคัญๆ หลายชนิด ทั้งไม้ผลจำพวกมังคุด ทุเรียน เงาะ ลองกอง สินค้าปศุสัตว์ ประมง และโดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์สาลิกา ซึ่งเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง จังหวัดพังงามีพื้นที่ปลูกทุเรียนสาลิกา ประมาณ 500 ไร่ ซึ่งขณะนี้ชื่อเสียงของทุ
สาลิกา สุดยอดทุเรียนพื้นเมือง อันดับ 1 ของภาคใต้ ของแท้ต้องที่ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา เท่านั้น “ถ้ามาพังงาแล้วไม่ได้ชิมทุเรียนสาลิกา เหมือนมาไม่ถึงเมืองพังงา” เป็นคำกล่าวของผู้ที่ชื่นชอบและหลงใหลในรสชาติของทุเรียน และได้เคยลิ้มลองทุเรียนสาลิกา นายสมชาย บริพันธุ์ เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า ในช่วงขณะนี้ผลไม้ของจังหวัดพังงากำลังออกสู่ท้องตลาดหลายชนิด ได้แก่ มังคุด สะตอ ทุเรียน และทุเรียนพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพังงา คือ ทุเรียนสาลิกา จากการติดตามสถานการณ์ไม้ผลของจังหวัดพังงาในปีนี้ พบว่าผลผลิตลดลงกว่าทุกปี เนื่องจากจังหวัดพังงาประสบปัญหาภัยแล้งติดต่อกันยาวนาน ไม้ผลขาดแคลนน้ำ ทำให้ได้ผลผลิตน้อย ผลผลิตจึงมีราคาสูง เช่น มังคุด กิโลกรัมละ 60 บาท สะตอ ร้อยฝัก 400 บาท ทุเรียนพื้นเมือง กิโลกรัมละ 50 บาท โดยเฉพาะทุเรียนสาลิกา กิโลกรัมละ 150-200 บาท ในจังหวัดใกล้เคียง วางขายกิโลกรัมละ 250-300 บาท ซึ่งคาดว่าสถานการณ์ราคาผลไม้ของจังหวัดพังงาจะมีราคาดีตลอดฤดูกาล ซึ่งราคาสูงกว่าปีที่ผ่านมา ประมาณ ร้อยละ 30 โดยเกษตรกรได้มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มี