ทุเรียนส่งออก
หลายชาติแข่งส่งออก “ทุเรียน” ตีตลาดจีน สถานะผู้นำ “ทุเรียนไทย” ในตลาดจีนกำลังถูกสั่นคลอน ทั้งเวียดนาม-ฟิลิปปินส์-มาเลเซีย เปิดเกมบุกแย่งส่วนแบ่งตลาดจีน เผยไตรมาสแรกปีนี้ จีนนำเข้าทุเรียนไทยแค่ 13,000 ตัน ลดลง 59% เหตุร้อนแล้ง ทุเรียนไทยเข้าสู่ตลาดจีนช้ากว่าปกติและผลผลิตน้อย ขณะที่นำเข้าทุเรียนเวียดนามถึง 35,000 ตัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2567 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ด่านโหย่วอี้กวนหรือด่านมิตรภาพบนพรมแดนจีน-เวียดนาม ณ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน ได้รับรองการนำเข้าทุเรียนสดในไตรมาสแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2567) รวม 48,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.85 พันล้านหยวน (ราว 9.25 พันล้านบาท) ไตรมาส 1 จีนนำเข้า “ทุเรียนไทย” ลดลง 59% โดยการนำเข้าทุเรียนสดข้างต้น แบ่งเป็นนำเข้าจากเวียดนาม 35,000 ตัน เพิ่มขึ้น 48.1% เมื่อเทียบปีต่อปี คิดเป็นมูลค่า 1.28 พันล้านหยวน (ราว 6.4 พันล้านบาท) และเป็นทุเรียนนำเข้าจากไทย 13,000 ตัน ลดลง 59.5% เมื่อเทียบปีช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 570 ล้านหยวน (ราว 2.85 พันล้านบาท) ถือว่ามูลค่าลดลง 63.5% เทียบกับไตรมาสแรกปีที่แล้ว รายงานข่าวระบุว่า ด่านโหย่
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดจันทบุรีติดตามการผลิตทุเรียนคุณภาพปลอดภัยมูลค่าสูงและรับฟังปัญหาจากเกษตรกร ณ สวนนวลทองจันท์ ตำบลมาบไพ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ว่าขณะนี้เป็นต้นฤดูในการเก็บเกี่ยวผลผลิตของผลไม้ภาคตะวันออก โดยเฉพาะทุเรียนซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลให้ความสำคัญ มีตลาดส่งออกปลายทางหลักคือประเทศจีน จากปริมาณความต้องการบริโภคทุเรียนของชาวจีน เฉลี่ยคนละ 0.7 กิโลกรัมต่อปี และเชื่อมั่นว่าจากคุณภาพมาตรฐานของทุเรียนไทยที่ส่งออกไป จะทำให้ค่าเฉลี่ยชาวจีนที่บริโภคทุเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต แต่ต้องมีการพัฒนาการปลูกทุเรียนภายใต้มาตรการเพื่อสร้างความได้เปรียบประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนาม จึงสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พัฒนาสายพันธุ์ของทุเรียน การแปรรูป การใช้ปุ๋ยเคมีและการกำจัดศัตรูพืช การควบคุมทุเรียนด้อยคุณภาพ พร้อมทั้งให้บูรณาการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เข้มงวดกับทุเรียนส่งออก เพื่อให้ประเทศปลายทางได้รับทุเรียนคุณภาพ และเป็นการรักษาชื่อเสียงของทุเรียนไทยให้คงอยู่ตลอดไป นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและกรมชลประทานจัดสรรน้ำใ
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้เชิญผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย สมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ไทย สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออก สมาคมการค้าธุรกิจเกษตรไทย-จีน สมาคมทุเรียนไทย รองประธานคณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตร และผู้ส่งออก ประชุมหารือเตรียมความพร้อมการส่งออกทุเรียนไปจีนของภาคตะวันออกฤดูกาลส่งออกปี พ.ศ. 2567 ภายใต้นโยบายของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการเพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่าภายใน 4 ปี โดยทุเรียนเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญที่จะขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวได้ การประชุมในครั้งนี้เพื่อสร้างแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ควบคุมคุณภาพทุเรียนส่งออกไปจีนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย สวน โรงคัดบรรจุ การส่งออก การขนส่ง การตลาด การแปรรูป และการเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการ ที่มีการบูรณาการของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในแต่ละขั้นตอนเชื่อมโยงกัน ภายใต้ “จันทบุรีโมเดล” พร้
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปี 2563 มาถึงระลอก 2 ช่วงปลายธันวาคมถึงต้นปี 2564 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทย โดยเฉพาะตลาดจีนที่เป็นตลาดใหญ่ที่สุดกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อมีการประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดง) มี 3 จังหวัดภาคตะวันออก ระยอง จันทบุรี ตราด ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทุเรียนใหญ่ที่สุดของประเทศ มูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาท พร้อมๆ กับจีนเองพบการกลับมาแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้จีนเข้มงวดการป้องกันและควบคุมการนำเข้าผลไม้ สร้างความหวั่นวิตกให้เกษตรกรและผู้ประกอบการส่งออก เนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคมนี้ทุเรียนจะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ปี 2564 ข้อมูลสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ทุเรียนในจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด จะมีประมาณ 600,000 ตัน ดังนั้น ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชน จึงร่วมมือกันควบคุมผลผลิตทุเรียนไทยปลอดโควิด-19 ร้อยเปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ในสวน โรงคัดบรรจุ และระบบการขนส่ง พร้อมๆ กับควบคุมคุณภาพไม่ให้มีทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดอีกด้วย มาตรการควบคุมการใช้ใบ GAP และป้องกันทุเรียนอ่อน คุณชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพ
งานพืชสวนก้าวหน้า ครั้งที่ 15 (HORITEX 2018) ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา เวทีประชุมหารือ “GAP ไม่มีไม่ได้แล้ว” เป็นหัวข้อที่โดนใจ ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า 200 คน กระทั่งห้องประชุมล้นหลาม โดยมี ดร. เสริมสุข สลักเพ็ชร อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ประธานประชุม ตอบคำถามด้วยตัวเองอย่างชัดเจนตรงประเด็น จากผู้ร่วมเวที อาทิ อาจารย์ปราโมช ร่วมสุข ประธานสถาบันทุเรียนไทย หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรจังหวัด 3 จังหวัดภาคตะวันออก ประธานแปลงใหญ่ทุเรียน จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด และสมาคมผู้ส่งออกทุเรียน มังคุด จันทบุรี-ชุมพร นายกสมาคมผู้ค้าและผู้ส่งออกผลไม้ไทย ผู้แทนผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ GMP ผลไม้ทั้งเปลือก จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด และ7ผู้แทนเกษตร GAP ดีเด่น เป็นต้น เพื่อหารือแนวทางการทำมาตรฐาน GAP ของทุเรียน และ GMP ของโรงคัดบรรจุ เพราะอนาคตทุเรียนต้องประสบปัญหาคู่แข่งด้านการตลาดกับเพื่อนบ้านอาเซียนและเป็นผลไม้ที่สามารถส่งออกทำเงินได้ปีละกว่า 20,000 ล้านบาท จีน พบสารตกค้าง เกษตรกร โรงคัดรีบทำตลาด โชว์ GAP/GMP ทุเรียนคุณภ
วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ควีน โฟรเซ่น ฟุต จำกัด ทำหนังสือเชิญสื่อมวลชนร่วมงานเซ็นสัญญา เอ็มโอยู กับ JD.com (บริษัทในเครือ Beijing Jingdong century Trade) โดยระบุว่าเป็นงานเซ็นสัญญา MOU การค้าขายสั่งซื้อทุเรียนและผลไม้ไทย จำนวนมหาศาลสู่ประเทศจีนและการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ระหว่าง JD.com ยักษ์ใหญ่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของประเทศจีน คู่แข่งรายสำคัญของ อาลีบาบา กับ บริษัท ควีน โฟรเซ่นฟุต จำกัด โดย คุณกาญจนา แย้มพราย ประธานกรรมการผู้ประกอบธุรกิจผลไม้ส่งออกรายใหญ่ของไทย ในวันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 เวลา 11.30 น. ณ บริษัท ควีน โฟรเซ่น ฟรุต จำกัด ตลาดไท จ.ปทุมธานี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ JD.com Jd.com ก่อตั้งโดย “ริชาร์ด หลิว” หรือ หลิว เชียงตง ในปี 1988 เริ่มจากการเป็นร้านขายอุปกรณ์ ไอที ในย่านจงกวานซุนของปักกิ่ง ก่อนที่จุดพลิกผันจะเกิดขึ้นในปี 2003 ที่เกิดเหตุโรคซาร์สระบาดในเอเชีย ทำให้หลิวตัดสินใจก่อตั้งร้านค้าออนไลน์ jdlaser.com ในปี 2004 และนี่จุดเริ่มต้นของอีคอมเมิร์ซจีนที่ได้ชื่อว่า “อะเมซอนแห่งจีน” (ตัวจริง) นักวิเคราะห์หลายเสียงเปรียบ JD