ทุเรียนหลงลับแล
จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองมหัศจรรย์แห่งผลไม้ เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้หลากหลายชนิด ทั้งทุเรียน ลางสาด สับปะรดห้วยมุ่น ฯลฯ โดยผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุดคือ ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแล ซึ่งมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่อำเภอลับแลและอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดประมาณเดือนเมษายน-สิงหาคม ของทุกปี “ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล” เป็นสายพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองของอำเภอลับแล มีขนาดเล็กถึงปานกลาง ทรงกระบอก ฐานผลเว้าลึก น้ำหนักเฉลี่ย 1-2.5 ก้านผลขนาดเล็ก เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดเหนียวแห้ง เมล็ดลีบเล็ก รสชาติหวานมัน กลิ่นอ่อน รับประทานแล้วไม่ทำให้เกิดอาการร้อนใน “ทุเรียนหลงลับแล” เป็นทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองของอำเภอลับแล มีเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ คือ เนื้อสีเหลืองอ่อนนุ่ม ไม่มีเสี้ยน กลิ่นอ่อน รสชาติหวาน มีผลขนาดเล็ก 1-2 กิโลกรัม เมล็ดลีบ เนื้อแห้ง เจริญเติบโตได้ดีบนที่เชิงเขา ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า แม้ว่าจะนำไปปลูกในแหล่งปลูกทุเรียนอื่นๆ ก็ไม่มีรสชาติดีเท่าที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบัน ทุเรียนอำเภอลับแลมีราคาสูง และได้รับความนิยมมาก แต่ประสบปัญหามีคุณภ
คุณประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (สศท.2 พิษณุโลก) เปิดเผยว่า ทุเรียนหลงลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ทุเรียนหลงลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีศักยภาพและโอกาสทางการตลาดสูง โดยทุเรียนหลงลับแลมีลักษณะเด่นคือ มีผลทรงกลมหรือกลมรี ขนาดเล็ก เปลือกบาง เนื้อมาก สีเหลืองเข้ม เนื้อแห้งละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบเล็ก จุดกำเนิดของทุเรียนหลงลับแล อุตรดิตถ์ มาจากทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีความพิเศษแตกต่างจากทุเรียนพื้นเมืองทั่วไป คือเป็นทุเรียนที่มีรสชาติดี เมล็ดลีบ ซึ่งภายหลังจากส่งเข้าประกวดทุเรียนและได้รับรางวัลยอดเยี่ยม เกษตรกรจึงได้รับการส่งเสริมให้ปลูกและขยายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายมากยิ่งขึ้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้รับการร
นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (สศท.2 พิษณุโลก) เปิดเผยว่า ทุเรียนหลงลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ทุเรียนหลงลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีศักยภาพและโอกาสทางการตลาดสูง โดยทุเรียนหลงลับแลมีลักษณะเด่น คือ มีผลทรงกลม หรือกลมรี ขนาดเล็ก เปลือกบาง เนื้อมาก สีเหลืองเข้ม เนื้อแห้งละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบเล็ก จุดกำเนิดของทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์มาจากทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีความพิเศษแตกต่างจากทุเรียนพื้นเมืองทั่วไป คือ เป็นทุเรียนที่มีรสชาติดี เมล็ดลีบ ซึ่งภายหลังจากส่งเข้าประกวดทุเรียนและได้รับรางวัลยอดเยี่ยม เกษตรกรจึงได้รับการส่งเสริมให้ปลูกและขยายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายมากยิ่งขึ้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้รับการร
เมื่อเข้าสู่หน้าฝนเป็นช่วงที่ทุเรียนหลง-หลิน ลับแล แห่งเมืองอุตรดิตถ์ สุกพร้อมออกสู่ตลาด นับเป็นช่วงเวลาที่รอคอยของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่งผลให้บรรยากาศในตลาดทุเรียน เทศบาลตำบลหัวดง ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ในฤดูกาลผลผลิตนี้คึกคัก เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมเลือกซื้อทุเรียนเพื่อไปรับประทาน รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้ามาเลือกซื้อทุเรียนเพื่อนำส่งสู่ผู้บริโภคทั่วไทย ทุเรียน “หลงลับแล” ต้นเดิมปลูกโดย นายลม-นางหลง อุประ ชาวบ้านหัวดง ตำบลแม่พูล ซึ่งได้นำเอาเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ไปปลูกจนต้นโตติดผลดก ณ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ต่อมา ปี 2520 ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม “ทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ด” ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จากการประกวดของกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร จึงจดทะเบียนรับรองพันธุ์ ในชื่อ “ทุเรียนหลงลับแล” ในปี 2521 โดยลักษณะเด่น ผลกลม ร่องพูไม่ชัดเจน เมล็ดลีบ เนื้อในสีเหลืองจัด รสชาติหอมมัน กลิ่นอ่อน ทุเรียน “หลินลับแล” ต้นเดิมปลูกโดย นายหลิน บันลาด ชาวบ้านผามูบ ซึ่งนำเอาเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ไปปลูก ณ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ต่อมาออกผล เกิดการกลายพันธุ์ มีรูปท
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา นายเสฐียรพงศ์ มากศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิดงานเทศกาลทุเรียน และผลไม้เมืองลับแล ” ทุเรียนหลง-หลินลับแล” ประจำปี 2561 โดยมีนายอุเทน โล่พานิช นายกเทศมนตรีตำบลหัวดง พร้อมด้วย พาณิชย์จังหวัดอุตรดิตถ์ ท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ หัวหน้าส่วนราชการ นายกองค์การส่วนท้องถิ่น เกษตรกรชาวสวนทุเรียน และประชาชนกว่า 1,000 คนเข้าร่วมงาน นายเสถียรพงศ์ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ว่าเมื่อมาถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ จากผู้เข้าร่วมขายแต่ของแท้ทั้งทุเรียน และผลไม้ต่างๆของจังหวัด ตามมาตรฐานการตรวจตราจากชุดปฏิบัติการ เพื่อเป็นเจ้าบ้านที่ดี อีกทั้งยังเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดในเชิงเกษตรและธรรมชาติ ที่จะได้เห็นหุบเขาท่ามกลางเมฆหมอกกับต้นทุเทียนคุณภาพดี หลง-หลินลับแล เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของอำเภอลับแล เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ประกอบกับในปี พ.ศ. 2561 กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เป็นพันธุ์ที่สามารถเพาะปลูกและมีผลผลิตที
เมื่อวันที่ 27 เมษายน นายบัญชา อรุณเขต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า แม้จะเป็นช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้ อ.ลับแล กำลังออกดอกติดผล โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแล เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของ อ.ลับแล ที่มีรสชาติอร่อยที่สุดในโลก จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างมาก แต่ละปีมักจะมีคำสั่งซื้อมากไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค แต่ปีนี้กลับเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ปลูกทุเรียนดังกล่าวและผลไม้ชนิดอื่นๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก เกษตรกรจำนวนมากยังไม่ทราบว่าหลังจากนี้ผลผลิตที่ออกมาจะมีคุณภาพหรือปริมาณมากน้อยแค่ไหน นายบัญชา กล่าวว่า ฝนที่ตกลงมาใส่ดอกผลไม้ของชาวสาวลับแลนั้น ในน้ำฝนจะมีธาตุไนโตรเจนหรือที่ชาวบ้านรู้จักดี คือ ธาตุอาหารที่อยู่ในปุ๋ยยูเรียที่อยู่ในอากาศผสมมาด้วย จะทำให้เกิดการแตกใบอ่อนของทุเรียนและพืชอื่นได้ง่าย ถ้าพืชได้รับปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ลำต้นนำไปเลี้ยงส่วนอื่นมากกว่านำไปเลี้ยงดอกและผลอาจจะไม่ได้ปริมาณที่เพียงพอ ลำต้นก็อาจจะสลัดดอกและผลทิ้งได้ ซึ่งก็หมายความว่า ผลผลิตก็จะเสียหายทันที “อีกปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรจำนวนมากยังไม่มีความรู้