ทุเรียนหลินลับแล
วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ วช. นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทองเชิงพาณิชย์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง” ดำเนินโครงการฯ โดย รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท และคณะนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างมาตรฐานทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่นในการตรวจสอบคุณภาพ เตรียมพร้อมการส่งออกในอนาคตและเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้มาปรับใช้ เพื่อให้เกิดผลิตผลที่มีคุณภาพ ณ สวนทุเรียนหลินลับแล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท แห่ง ม.นเรศวร หัวห้นาโครงการฯ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่ ม.นเรศวร ในการดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทองเชิงพาณิชย์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง” เพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างมาตรฐานทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่นในการตรวจ
เมื่อเข้าสู่หน้าฝนเป็นช่วงที่ทุเรียนหลง-หลิน ลับแล แห่งเมืองอุตรดิตถ์ สุกพร้อมออกสู่ตลาด นับเป็นช่วงเวลาที่รอคอยของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่งผลให้บรรยากาศในตลาดทุเรียน เทศบาลตำบลหัวดง ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ในฤดูกาลผลผลิตนี้คึกคัก เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมเลือกซื้อทุเรียนเพื่อไปรับประทาน รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้ามาเลือกซื้อทุเรียนเพื่อนำส่งสู่ผู้บริโภคทั่วไทย ทุเรียน “หลงลับแล” ต้นเดิมปลูกโดย นายลม-นางหลง อุประ ชาวบ้านหัวดง ตำบลแม่พูล ซึ่งได้นำเอาเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ไปปลูกจนต้นโตติดผลดก ณ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ต่อมา ปี 2520 ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม “ทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ด” ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จากการประกวดของกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร จึงจดทะเบียนรับรองพันธุ์ ในชื่อ “ทุเรียนหลงลับแล” ในปี 2521 โดยลักษณะเด่น ผลกลม ร่องพูไม่ชัดเจน เมล็ดลีบ เนื้อในสีเหลืองจัด รสชาติหอมมัน กลิ่นอ่อน ทุเรียน “หลินลับแล” ต้นเดิมปลูกโดย นายหลิน บันลาด ชาวบ้านผามูบ ซึ่งนำเอาเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ไปปลูก ณ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ต่อมาออกผล เกิดการกลายพันธุ์ มีรูปท
เมื่อวันที่ 27 เมษายน นายบัญชา อรุณเขต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า แม้จะเป็นช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้ อ.ลับแล กำลังออกดอกติดผล โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแล เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของ อ.ลับแล ที่มีรสชาติอร่อยที่สุดในโลก จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างมาก แต่ละปีมักจะมีคำสั่งซื้อมากไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค แต่ปีนี้กลับเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ปลูกทุเรียนดังกล่าวและผลไม้ชนิดอื่นๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก เกษตรกรจำนวนมากยังไม่ทราบว่าหลังจากนี้ผลผลิตที่ออกมาจะมีคุณภาพหรือปริมาณมากน้อยแค่ไหน นายบัญชา กล่าวว่า ฝนที่ตกลงมาใส่ดอกผลไม้ของชาวสาวลับแลนั้น ในน้ำฝนจะมีธาตุไนโตรเจนหรือที่ชาวบ้านรู้จักดี คือ ธาตุอาหารที่อยู่ในปุ๋ยยูเรียที่อยู่ในอากาศผสมมาด้วย จะทำให้เกิดการแตกใบอ่อนของทุเรียนและพืชอื่นได้ง่าย ถ้าพืชได้รับปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ลำต้นนำไปเลี้ยงส่วนอื่นมากกว่านำไปเลี้ยงดอกและผลอาจจะไม่ได้ปริมาณที่เพียงพอ ลำต้นก็อาจจะสลัดดอกและผลทิ้งได้ ซึ่งก็หมายความว่า ผลผลิตก็จะเสียหายทันที “อีกปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรจำนวนมากยังไม่มีความรู้