ทุเรียนโบราณ
“จิตร์นิยม” สวนผลไม้ชื่อดังของจังหวัดปราจีนบุรี ที่ได้เป็นสวนออร์แกนิกดีเด่นระดับประเทศจากกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2556 มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรุ่นอาเหล่ากงบุกเบิกทำเป็นสวนเกษตรอินทรีย์เป็นที่แรกของอำเภอศรีมหาโพธิ จนเริ่มเป็นที่รู้จักในยุคคุณสมพร อุดมสิน ในชื่อสวนจิตร์นิยม และได้รับการเฝ้าดูจนมาถึงรุ่นคุณเกรียงศักดิ์ อุดมสิน เจ้าของสวนคนปัจจุบัน ผู้ทำการตลาดส่งออกผลไม้และติดต่อขายกับ 24 Shopping ในรูปแบบ E-Commerce และห้างสรรพสินค้า Central จนมาถึงรุ่นที่ 4 ซึ่งได้มีการวางแผนลงทุนและต่อยอดต่อไป ปัจจุบันที่สวนก็ยังยืนหยัดที่จะทำเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงมีการขยับขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมพื้นที่ 20 ไร่ จนถึงปัจจุบันขยายพื้นที่ไปถึง 500 ไร่ นับได้ว่าเป็นอีกสวนเกษตรผสมผสานแบบอินทรีย์ที่มากคุณค่า มากเรื่องราว และน่าค้นหาเป็นอย่างมาก คุณบุณยกร อุดมสิน หรือ คุณเนียร์ อยู่บ้านเลขที่ 29/1 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรง ในวัย 23 ปี ที่กำลังจะกลับมาสานต่อกิจการทำสวนของที่บ้าน อยู่ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนรุ่นการดูแล โดยได้มีกา
ช่วงที่ผมยังทำงานประจำอยู่กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณนั้น มีอยู่ฉบับหนึ่ง พวกเราตัดสินใจทำเรื่องจากปกเป็นทุเรียนเมืองนนท์ มีการออกไปถ่ายภาพในพื้นที่ สัมภาษณ์คุณลุงคุณป้าเจ้าของสวนทุเรียนเก่า แถมยังสืบค้นบทความย้อนอดีตหาอ่านยากหลายเรื่องมาตีพิมพ์รวมไว้ในเล่มด้วย ทว่า เพียงไม่นานหลังจากนั้น มหาอุทกภัยปลายปี พ.ศ. 2554 ก็ทำลายล้างเกือบทั้งหมดของทุเรียนเมืองนนท์ไป สวนทุเรียนโบราณที่ได้ขึ้นปกวารสารฉบับนั้นต้องร้างไปในที่สุด เจ้าของสวนเองก็จากไปหลังจากนั้นไม่นานนัก ที่จริงผมเคยอ่านผ่านตามาบ้าง เรื่องการล่มสลายของสวนทุเรียนหลายแห่งในเขตธนบุรีและนนทบุรี เพราะถูกน้ำท่วมใหญ่หลายครั้ง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2485 แต่สำหรับมหาอุทกภัยเมื่อสิบปีก่อนมันหนักหนาสาหัส จนไม่นึกว่าพืชสวนยกร่องที่ต้องการการดูแลประคบประหงมอย่างทุเรียนจะฟื้นตัวกลับมาได้อีกแล้ว “ตอนนั้นคิดแต่ว่า จะเลิกแล้ว รู้สึกมันไม่คุ้มทุนเลย แต่พวกเรามาได้กำลังใจ คือสมเด็จพระเทพฯ ท่านเสด็จมาทรงเยี่ยม ให้กำลังใจว่าให้สู้ ให้หาคนมาทำต่อ เราเลยสู้ จนเดี๋ยวนี้ทำพื้นที่ได้ทั้งหมด 82 ไร่ ที่ตำบลไทรม้านี่หนาแน่นที่สุด คนทำที่อายุมากที่สุดตอนนี้คือ 86 ป
คุณมานพ อมรอรช (อาต) บ้านเลขที่ 17 เทศบาลสาย 7 ต.ขลุง อ.ขลุง จ.จันทบุรี บัณฑิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรียนจบสาขาวิชาพืชสวนประดับ กลับมาสานต่อสวนไม้ผลที่พ่อแม่อนุรักษ์ทุเรียนสายพันธุ์โบราณไว้กว่า 10 สายพันธุ์ คุณอาตเล่าว่า สาเหตุที่ตัดสินใจเลือกเรียนเกษตรเพราะจากประสบการณ์พบเห็นจากคนแถวบ้านหลายคนที่ไปเรียนไกลถึงกรุงเทพ เรียนจบจากหลากที่หลายคณะ มีทั้งจบเกษตรโดยตรงและจบจากสาขาอื่น แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมายังบ้านเกิดและลงเอยทีงานสวนอยู่ดี ด้วยสาเหตุนี้จึงตัดสินใจเรียนคณะเกษตร และพอดีตอนนั้นได้โควต้าจากมทร.ตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี เรียนจบในระดับ ปวส. แล้วเข้าศึกษาต่อที่ม.แม่โจ้ ช่วงจบใหม่ๆ ได้ลองไปทำงานหาประสบการณ์ที่บริษัทจัดสวนก่อน หลังจากนั้นไปทำเกี่ยวกับเคมีเกษตร และกลับมาสานต่ออาชีพของครอบครัวในที่สุด มรดกสวนทุเรียนจากพ่อ-แม่ 30 ไร่ สร้างเงิน สร้างอาชีพมาตลอด พื้นที่สวนทุเรียนคุณอาตอยู่เขตตำบลซึ้ง อำเภอขลุง มีพื้นที่กว่า 30 ไร่ มีทุเรียนกว่า 400 ต้น เป็นมรดกที่พ่อแม่ทิ้งไว้ให้ ตนแค่มาสวนต่อ ซึ่งคุณอาตกลับมาสานต่อการทำสวนได้เป็นเวลา 10 ปีแล้วหลังจากที่เรียนจบได้มีการไปหาประสบการณ์จากท
เมื่อ 3-4 ปีมานี้ ราคาทุเรียนจูงใจให้เกษตรกรปลูกอย่างมาก ปัจจัยหนุนส่งเป็นเรื่องของการส่งออก โดยเฉพาะไปจีน ด้วยเหตุนี้ จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมาก ไม่มีใครคาดเดาได้ว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร ดูแต่ยางพารานั่นประไร จุดสูงสุดกว่า 100 บาท ทุกวันนี้ต่ำเตี้ยติดดิน เกษตรกรส่วนใหญ่ มีรูปแบบการผลิตทุเรียนคล้ายๆ กัน แต่ สวนจันทวิสูตร ดูจะแตกต่างจากสวนอื่น สวนจันทวิสูตร อยู่เลขที่ 38/11 หมู่ที่ 1 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี คุณกิตติ จันทวิสูตร เจ้าของสวน เล่าว่า เดิมทีผลิตสินค้าเกษตรคล้ายเกษตรกรรายอื่น โดยปลูกสะละ ลองกอง ตะเคียน รวมทั้งทุเรียน ระยะหลังเริ่มปรับเปลี่ยน คือตัดต้นตะเคียน แล้วปลูกทุเรียนแทน โดยกิจกรรมที่ทำอยู่มีพื้นที่ 300 ไร่ พันธุ์แปลกใหม่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด คุณกิตติ บอกว่า ตนเองปลูกตะเคียนไว้มาก ทุกวันนี้ยังมีอยู่ และทยอยขายให้กับโรงเลื่อย สำหรับทุเรียน มีปลูกแปลงใหญ่พันธุ์หมอนทอง จำนวน 500 ต้น อยู่ที่อำเภอมะขาม แต่ที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ ปลูกทุเรียนพันธุ์ใหม่ พันธุ์โบราณหายาก รวมแล้วเป็น 100 พันธุ์ คุณกิตติ เป็นคนหมั่นศึกษาหาความรู้ อย่างนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ลงเรื่องทุเรีย
คุณมานพ อมรอรช (คุณอาร์ท) อยู่บ้านเลขที่ 17 เทศบาลสาย 7 ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี บัณฑิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรียนจบสาขาวิชาพืชสวนประดับ กลับมาสานต่อสวนไม้ผลที่พ่อแม่อนุรักษ์ทุเรียนสายพันธุ์โบราณไว้กว่า 10 สายพันธุ์ คุณอาร์ท เล่าว่า สาเหตุที่ตัดสินใจเลือกเรียนเกษตร เพราะจากประสบการณ์พบเห็นจากคนแถวบ้านหลายคนที่ไปเรียนไกลถึงกรุงเทพฯ เรียนจบจากหลากที่หลายคณะ มีทั้งจบเกษตรโดยตรงและจบจากสาขาอื่น แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมายังบ้านเกิดและลงเอยที่งานสวนอยู่ดี ด้วยสาเหตุนี้จึงตัดสินใจเรียนคณะเกษตร และพอดีตอนนั้นได้โควต้าจากมทร. ตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี เรียนจบในระดับ ปวส. แล้วเข้าศึกษาต่อที่ ม. แม่โจ้ ช่วงจบใหม่ๆ ได้ลองไปทำงานหาประสบการณ์ที่บริษัทจัดสวนก่อน หลังจากนั้นไปทำเกี่ยวกับเคมีเกษตร และกลับมาสานต่ออาชีพของครอบครัวในที่สุด มรดกสวนทุเรียนจากพ่อ-แม่ 30 ไร่ สร้างเงิน สร้างอาชีพ มาตลอด พื้นที่สวนทุเรียนคุณอาร์ทอยู่เขตตำบลซึ้ง อำเภอขลุง มีพื้นที่กว่า 30 ไร่ มีทุเรียนกว่า 400 ต้น เป็นมรดกที่พ่อแม่ทิ้งไว้ให้ ตนแค่มาสานต่อ ซึ่งคุณอาร์ทกลับมาสานต่อการทำสวนได้เป็นเวลา 10 ปีแล้ว หลังจาก