ท่าอุเทน
ในแต่ละภาคของประเทศไทย ย่อมมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกันไป ความเหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละชนิดให้อุดมสมบูรณ์ มีผลผลิตดีและได้คุณภาพ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่าง มีส่วนทำให้ผลผลิตในแต่ละพื้นที่มีจุดเด่นที่ต่างกัน แตงโม-ท่าอุเทน เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่รสชาติขึ้นชื่อของจังหวัดนครพนม และอำเภอท่าอุเทน เป็นอำเภอที่ปลูกแตงโมมากที่สุดของจังหวัด เท่าที่ทราบจากเกษตรกร แต่ไม่เป็นที่แน่ชัดถึงสาเหตุของรสชาติแตงโมที่หวานกรอบ เป็นเพราะพื้นที่ปลูกเป็นวัสดุที่ไม้ผลชนิดนี้ชอบคือ ดินทรายเม็ดใหญ่ ดินดง ทรายดำ มีกรวดบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังไม่พบว่า แตงโม-ท่าอุเทน จะไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะปัจจุบันแตงโมเกินกว่าครึ่งที่วางจำหน่ายในตลาดไท ซึ่งเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าทางการเกษตรขนาดใหญ่ เป็นแตงโมที่รับมาจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม หากไม่ใช่คนพื้นที่อำเภอท่าอุเทนแล้ว อาจนึกภาพไม่ออก เพราะแม้จะซอกแซกการเดินทาง ผ่านหมู่บ้านและตำบลในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จะพบแต่พื้นที่ทำสวนไม้ผลชนิดอื่น หรือที่พบมากที่สุดคือ การทำสวนยางพารา หากจะมองหาสวนแตงโมยังเป็นเรื่องยาก ต้องคนท้องถิ่นเท่านั้น จึ
ตามที่เป็นข่าวว่า “กรมส่งเสริมสหกรณ์” โดยนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นโจทก์ มอบอำนาจให้ผู้แทน ยื่นฟ้องสหกรณ์การเกษตรท่าอุเทน จำกัด จังหวัดนครพนม ฐานผิดสัญญาหลังจากที่สหกรณ์ไม่สามารถหาเงินมาคืนค่าโรงสีข้าวขนาด 40 ตัน ที่ได้รับมอบจากกรมส่งเสริมสหกรณ์เมื่อปี พ.ศ.2544 ได้นั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ ขอชี้แจงว่า “โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตร (ASPL)” ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดทำขึ้น เป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปัจจัยด้านการผลิต การตลาด และการจัดการผลผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสนองความต้องการของผู้บริโภค สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและเพิ่มอำนาจต่อรองของเกษตรกร โดยโครงการดังกล่าวได้กำหนดให้จัดสรรเงินอุดหนุนจ่ายขาดให้แก่สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โรงสี ไซโล ลานตาก ฉาง ฯลฯ โดยมีเงื่อนไขว่าให้สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้ประโยชน์เข้าบัญชีที่เปิดในกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด (ไม
เกษตรกร อ.ท่าอุเทน นครพนม สร้างรายได้จากการหันมาปลูกสับปะรด เปรยผลผลิตไม่พอขาย เพราะพื้นที่ปลูกน้อย ช่วงก่อนหน้านี้เกษตรกรส่วนใหญ่เปลี่ยนมาปลูกยางพารา ตั้งเป้าส่งเสริมให้กลับมาปลูกสับปะรดมากขึ้น นายสุขสันต์ พรรษวงษ์ ผู้ใหญ่บ้านกุดกุมน้อย หมู่ 4 กล่าวว่า ตนมีพื้นที่ปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย 4 ไร่ แซมในสวนยางพาราที่เพิ่งอายุได้แค่ 3 ปี เริ่มปลูกช่วงต้อนฤดูฝน โดยใช้หน่อ 4,000-5,000 หน่อต่อไร่ ลงทุนเริ่มแรกอยู่ที่ประมาณ 60,000-70,000 บาท ข้อดีของสับปะรดอยู่ที่ให้ผลผลิตติดต่อกันถึง 3 ปี ให้ลูกดก รสหวานฉ่ำ ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. โดยจะมีพ่อค้าจาก มุกดาหาร อุบลฯ ร้อยเอ็ด และยโสธร มารับซื้อถึงสวน ซึ่งผลผลิตในปีนี้แทบไม่พอขาย เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เปลี่ยนมาปลูกยางพารามากขึ้น ปีนี้ได้ผลผลิต 3-5 ตันต่อไร่ ราคาหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละ 20-25 บาทเป็นราคาที่พุ่งสูงในรอบ10 ปี คิดเป็นกำไรไร่ละ 50,000 บาท เตรียมขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีก 8 ไร่ ด้านนายมานะ บุญระมี กล่าวว่า เดิมทีพื้นที่ปลูกสับปะรดมากที่สุดอยู่ที่ ต.โนนตาล อ.ท่าอุเทน และ ต.นาใน อ.โพน