ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด
ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน คือ อะไร ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank) คือ การบริหารจัดการน้ำในลักษณะการใช้น้ำบนดิน ผิวดิน และน้ำฝน ที่ตกลงมาด้วยการนำหลักการเติมน้ำลงใต้ดิน เป็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ราบ หรือพื้นที่ลุ่มมีน้ำขัง เมื่อน้ำไหลมารวมกันปริมาณมากๆ ในฤดูน้ำหลาก ต้องทำบ่อเก็บน้ำ เพื่อการส่งน้ำลงใต้ดิน ให้ขุดบ่อถึงชั้นหินอุ้มน้ำ ทำให้มีน้ำจำนวนมากเก็บไว้ใต้ดิน เป็นกรณีศึกษา การบริหารจัดการน้ำในระดับท้องถิ่นจะมีลำราง ร่องน้ำและคลองเล็กๆ เป็นแหล่งน้ำของหมู่บ้านและเป็นต้นน้ำที่ทำให้เกิดลำห้วย หลายๆ สาย เมื่อฝนตกน้ำฝนทั้งหมดในหมู่บ้านจะไหลรวมกันที่ลำราง ร่องน้ำหรือคลองเล็กๆ ลำรางทุกลำรางเป็นสาขาย่อยของลำห้วยการเก็บน้ำไว้ที่ต้นน้ำทุกลำรางด้วยการทำ “ฝายหยุดน้ำ (Nitessatsanakoon Ground water dams)” เพื่อการส่งน้ำไว้ใต้ดินถึงชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer) จะทำให้พื้นที่ในหมู่บ้านต้นน้ำไม่เกิดความแห้งแล้ง กลางน้ำและปลายน้ำไม่เกิดน้ำท่วมเมื่อน้ำหลากจากผลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินถึงชั้นหินอุ้มน้ำเกิดขึ้นทุกลำราง ลำห้วยจะมีน้ำเต็มตลิ่งตลอดฤดูกาลครบรอบ 12 เดือน โดยมีการกักเก
(อ่านตอนแรก คลิก!) ฉบับที่แล้ว เล่าเรื่อง บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พาผู้นำป่าชุมชน จาก 10 จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมกิจกรรม “สัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชนกล้ายิ้ม” รุ่นที่ 21 ภายใต้ โครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” เพื่อศึกษาเรียนรู้วิธีการจัดการน้ำในรูปแบบต่างๆ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ รวมทั้งนวัตกรรม “ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank)” ของ หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ ประธานสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ ซึ่งใช้หลักการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดิน โดยขุดบ่อในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก หรือจุดรวมของน้ำเพื่อกักน้ำให้ซึมลงไปชั้นหิน เป็นการพักน้ำรวมไว้เหมือนธนาคาร อีกวิธีคือ การใช้เศษไม้ ขวดแก้ว เศษอิฐ กรวด หิน หรือวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาถมในบ่อเพื่อแทนที่น้ำ ให้น้ำล้นออกมาใช้ได้เร็วขึ้นเมื่อน้ำใต้ดินมีปริมาณมากพอ แนวคิดนี้เป็นเสมือนการออมหรือกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้ในหน้าแล้ง หรืออุ้มน้ำในยามน้ำหลาก นับเป็นตัวอย่างของการบูรณาการความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถใช้บริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน ธนาคารน้ำใต้ดิน มี 2 รูปแบบ ดร. เร่งรัด สุทธิสน
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ทั่วโลกเจอสภาวะอากาศแปรปรวนอย่างต่อเนื่อง ทั้งพายุฤดูร้อน ภัยแล้ง และน้ำท่วมฉับพลัน ปริมาณฝนตกต่ำกว่าค่าปกติ ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอสำหรับการใช้ในการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยใช้นวัตกรรม “ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank)” เพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ผู้นำป่าชุมชนเรียนรู้ศาสตร์พระราชา เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้นำป่าชุมชน จาก 10 จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมกิจกรรม “สัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชนกล้ายิ้ม” รุ่นที่ 21 ภายใต้โครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ที่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมมือกับกรมป่าไม้ จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2551 กิจกรรมปีนี้ได้มุ่งเน้นประเด็นการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความแปรปรวนของอากาศที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญในปีนี้ ซึ่งพื้นที่ที่เคยชุ่มชื้นจะต้องเผชิญกับภาวะแล้ง ส่วนพื้นที่ที่แห้งแล้งจะเกิดฝนตกหนักและน้ำท่วม อีกทั้งยังเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์โลกอีกด้วย นางบุญทิวา ด่านศมสถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่