ธรรมศาสตร์
“ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์” นำอ่านประกาศสันติภาพ 16 สิงหาคม 2488 ในงาน “ครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดรำลึกปฏิบัติการกอบกู้ชาติของ “ขบวนการเสรีไทย” จนมาสู่เอกราชของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีทายาทขบวนการเสรีไทย-ผู้แทนคณะทูตจากหลากหลายประเทศ ฯลฯ เข้าร่วม ขณะที่ “รศ.ดร.ดนุพันธ์” ย้ำ สันติภาพไม่ใช่ของฟรีที่จะได้มาง่ายๆ แต่เป็นสิ่งที่ต้องแลกมา ขอให้ทุกคนอดทนอดกลั้น และเข้าใจความแตกต่างของมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ร่วมกับสถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดกิจกรรม “ครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย” ประจำปี 2567 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อรำลึกถึงการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติ การพิทักษ์ปกป้องเอกราช และอธิปไตยของขบวนการเสรีไทย ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าขบวนการฯ และได้ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นกองบัญชาการลับฝึกพลพรรคเสรีไทย จนนำไปสู่การช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศที่แพ้สงคราม โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทายาทขบวนการเสรีไทย และผู้แทนคณะทูตานุทูตจากหลากหลายประเทศ ฯลฯ เข้าร่วม ศ.ดร.สุรพล นิติไก
วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปี ถือเป็น “วันสันติภาพไทย” ซึ่งเป็นวาระแห่งการรำลึกถึงคุณูปการของขบวนการเสรีไทย และ นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการฯ ที่ช่วยกอบกู้ให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศพ่ายแพ้สงคราม ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการออก “ประกาศสันติภาพ” ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 อันเป็นผลทำให้สามารถดำรงความเป็น “ไท” มาได้จนถึงทุกวันนี้ อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม เคยกล่าวเอาไว้ว่า วันสันติภาพไทย เป็นวันที่สำคัญที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวันประกาศอิสรภาพ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวันที่พระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพเมื่อไทยเสียกรุงครั้งแรก เฉกเช่นเดียวกับวันที่ 28 ธันวาคม 2310 ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้ากรุงธนบุรีขับไล่พม่าออกไปจากประเทศสยาม และในวาระ “ครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ซึ่งในประวัติศาสตร์เคยเป็นสถานที่ตั้งลับของกองบัญชาการขบวนการเสรีไทย จึงได้จัดกิจกรรมรำลึกถึงเหล่าผู้กล้าและสดุดีวีรกรรมที่ทำเพื่อประเทศ ในวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. สำหรับกิจกรรม “ครบรอบ 79 ปี วันสันติ
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเปิด โครงการ “ธรรมศาสตร์ทำนา และปลูกผัก บนหลังคาลอยฟ้า” หรือ “Thammasart Urban Rooftop Organic Farm” เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์อย่างถูกต้องและสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นกุศโลบายในการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ในการให้ความสำคัญกับเกษตรปลอดภัยอย่างจริงจัง นำไปสู่ความมั่นคงทางด้านอาหารและปลอดภัยต่อผู้บริโภค อุทยานการเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดให้บริการในรูปแบบเนินเขากลางกรุง ผืนเกษตรชุ่มน้ำ แหล่งเรียนรู้การเพาะปลูกปลอดสาร และประชาธิปไตย บนพื้นที่กว่า 53,000 ตารางเมตร ความสูงเท่ากับตึก 4 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดให้บริการแล้ว ประกอบด้วย ห้องสมุดประชาชน ห้องประชุมและสัมมนา พื้นที่ Co-Working Space ศูนย์นิทรรศการ พื้นที่จัดแสดงงานคอนเสิร์ต ขนาด 630 ที่นั่ง ศูนย์อาหารออร์แกนิก และพื้นที่กิจกรรมอเนกประสงค์ (Amphitheatre) เพื่อการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาอย่างยั่
ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดค้นผลิตภัณฑ์ยารักษาอาการภูมิแพ้-หอบหืดจาก “ไพล” สมุนไพรดั้งเดิมของประเทศไทย ด้าน“องค์การเภสัชกรรม”ให้ทุนสนับสนุนกว่า 10 ล้านบาท มุ่งหวังให้คนไทยใช้ยาคุณภาพดีราคาถูกได้ ภายใน 2 ปี ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ องค์การเภสัชกรรม เพื่อต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมยาสมุนไพรชนิดแคปซูลที่ได้จาก “ไพล” ซึ่งมีสรรพคุณรักษาอาการโรคภูมิแพ้และหอบหืด ศาสตราจารย์ พญ. อรพรรณ โพชนุกูล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยว่า นวัตกรรมยาสมุนไพรจาก ไพลเกิดขึ้นจากการพบผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืดในประเทศไทยจำนวนมาก แต่ยาที่มีประสิทธิภาพกลับต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาแพง ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงริเริ่มนำจุดเด่นของสมุนไพรไทยมาผลิต เพื่อให้คนไทยเข้าถึงยาในราคาถูกลง และพบว่า ไพลซึ่งมีแหล่งปลูกในไทยเพียงประเทศเดียว มีคุณสมบัติลดอาการภูมิแพ้ได้ดี จึงคิดค้นร่วมกับน