ธรรมะจากวัด
เวลาที่เราเห็นบุคคล หรือสังคม รวมถึงประเทศชาติใดๆ ในโลกนี้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่จนมีภาพออกมาให้เห็นว่า มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายไม่ลำบากยากแค้น หรือบางทีก็ใช้ชีวิตอย่างหรูหราได้ตามชอบใจ เราควรจะศึกษาเรียนรู้ค้นคว้าให้ลึกลงไปว่า กว่าจะถึงวันที่สะดวกสบายได้ผ่านกระบวนการเคี่ยวกรำเผชิญปัญหาต่างๆ และหาทางออกของปัญหาได้อย่างไร จึงจะได้รู้จักชีวิต สังคม และประเทศชาติอย่างเป็นกระบวนการมีเหตุผล และเหตุปัจจัยพร้อมทั้งเงื่อนไขต่างๆ มากกว่าโชคช่วยหรือเทพองค์ใดบันดาล เพื่อให้เกิดความกระชับและตรงประเด็นยิ่ง ขอนำเอาคุณธรรมมาวางให้เห็นกันชัดๆ ส่วนใครอ่านคุณธรรมเหล่านี้แล้วมีแรงจูงใจปรารถนาจะไปศึกษาและต่อยอดอ่านในรายละเอียดอีกจะยิ่งเป็นการดี ที่ได้กระตุ้นให้ลุกขึ้นคว้าหนังสืออ่านเป็นชุดๆ ไป พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สุโข ปัญญาปฏิลาโภ การได้เฉพาะซึ่งปัญญา เป็นความสุข” นี่แปลตามตัวบาลี แต่ถ้าจะปรับให้เข้าใจแบบไทยแท้ๆ ไม่ต้องแปลอีก คงจะแปลว่า “การได้ปัญญานำมาซึ่งความสุข” คำตรัสของพระพุทธเจ้าประจักษ์แท้ ว่า ขณะที่อ่านหนังสือด้วยจิตใจเป็นสมาธิจดจ่อไม่ไปไหน ก็มีความสุข ครั้งหนึ่งก่อน ครั้
เวลาที่ใครจะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ จะต้องมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง ที่เป็นเครื่องมือในการเดินทางไปสู่ความสำเร็จ หนึ่งในบรรดาเครื่องมือนั้น ต้องมี ศรัทธา คือความเชื่อมั่น เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์ประกอบอื่นๆ ให้ไปสู่เป้าหมาย เหมือนการขับรถยนต์หรือยานพาหนะอื่นๆ ไปสู่จุดหมายปลายทางนั่นแหละ หากมาศึกษาถึงธรรมะอันเสริมกำลังตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้มี 5 ประการ คือ 1. ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อมั่น 2. วิริยะ ความพากเพียรพยายาม ทำในสิ่งที่เชื่อมั่นนั้นให้บรรลุผล 3. สติ ความระลึกรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในเรื่องที่กำลังกระทำอยู่ 4. สมาธิ ความตั้งมั่น เมื่อมีศรัทธาในสิ่งใด ย่อมมุ่งมั่นในสิ่งนั้น 5. ปัญญา ความรอบรู้ในเรื่องราวต่างๆ ที่กำลังกระทำนั้น จะเห็นได้ว่า ศรัทธา เป็นผู้นำแห่งธรรมอันเสริมพลังอื่นๆ ทีนี้ก็มาดูกันต่อไปว่า ศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มีอย่างไรบ้าง ศรัทธาแบบพุทธ จะต้องเชื่อมั่นในกรอบ 4 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มี 3 เรื่องหลักๆ คือ การตรัสรู้ เรื่องที่ 1 ทรงระลึกชาติ ที่พระองค์เคยเกิดมาก่อน