ธุรกิจการเกษตร
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดตัวโครงการ “New Gen Hug บ้านเกิด ซีซั่น 2” ต่อยอดความสำเร็จจากโครงการ “New Gen Hug บ้านเกิด ซีซั่น 1” เพื่อส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้เกิดแรงบันดาลใจในการเข้าสู่ธุรกิจการเกษตร และยกระดับไปสู่เกษตรมูลค่าสูง รวมถึงการต่อยอดธุรกิจไปสู่การทำธุรกิจแบบ Next Normal ด้วยการเฟ้นหา “เกษตรกรต้นแบบ” ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ ผ่านการแข่งขันในรูปแบบรายการ REALITY และ PITCHING SHOW สุดเข้มข้น โดยเปิดรับสมัครเกษตรกรยุคใหม่จากทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อเข้าร่วมแข่งขันชิงรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 โดยมี “นายฉัตรชัย ศิริไล” ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ร่วมด้วย “นายมนูญ ทนะวัง” ผู้ชนะสาขาเกษตรท่องเที่ยวชุมชน และ Best of the Best ประเภทเดี่ยว โครงการ “New Gen Hug บ้านเกิด (ซีซั่น 1)” มาร่วมแชร์ความสำเร็จในการทำธุรกิจการเกษตรมูลค่าสูง พร้อมเปิดตัวคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รายการ New Gen Hug บ้านเกิด ซีซั่น 2 ได้แก่ “ดร.ศิริกุล เลา
“ไข่ไก่” วัตถุดิบรังสรรค์หลากหลายเมนูอาหารที่ทุกบ้านคุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งในเมืองไทยมีฟาร์มไก่ไข่ผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากมาย จึงนำมาสู่อีกหนึ่ง Case Study ที่น่าเรียนรู้เป็นอย่างยิ่งว่า บริษัท ฟาร์มระพีพัฒน์ (1999) จำกัด ฟาร์มไก่ไข่ชื่อดัง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา บริหารธุรกิจอย่างไร? จึงสามารถฟันฝ่าวิกฤต-อุปสรรคต่างๆ จนประสบความสำเร็จอยู่รอดในสมรภูมิการแข่งขันอันแสนดุเดือด เป็นแนวคิดสร้างไอเดียให้กับผู้ประกอบการและ SME บ้านเรา นำไป Business Transformation ประยุกต์ปรับใช้สู้ศึกการทำธุรกิจห้วงเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน นำวิชาที่มี สร้างธุรกิจที่ตนเองถนัด คุณสุพัฒน์ ธนะพิงค์พงษ์ กรรมการ บริษัท ฟาร์มระพีพัฒน์ (1999) จำกัด เล่าย้อนความหลังว่า “ฟาร์มระพีพัฒน์” ก่อตั้งเมื่อปี 2521 โดยเริ่มต้นบริษัทมีการเลี้ยงทั้งไก่ไข่ ไก่เนื้อ และหมู ต่อมาในปี 2530 ได้หันเลี้ยงไก่ไข่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากไก่เนื้อและหมูมีการแข่งขันกับรายใหญ่สูงมาก ประกอบกับต้องอาศัยโรงเชือดซึ่งบริษัทไม่มี จึงทำให้กำหนดราคาไม่ได้เมื่อเทียบกับรายใหญ่ซึ่งมีโรงเชือดของตัวเอง โดยก่อนที่คุณสุพัฒน์ก่อตั้งบริษัท ได้จบการศึกษ
สวัสดีครับ ในโลกปัจจุบันนี้ที่คนรุ่นใหม่ ที่เรียกกันว่า คนรุ่นมิลเลเนียล (Millenials) กับ คนเจนแซด (Gen Z) กำลังจะครองโลก ธุรกิจสาขาต่างๆ ก็กำลังจะถูกคนกลุ่มนี้เข้าครอบครอง ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจการเกษตร “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผมธนากร เที่ยงน้อย ฉบับนี้เต็มใจพาท่านเดินทางออกจาก กทม. ไป 600 กว่ากิโลเมตร ไปยังภาคอีสาน เพื่อไปเยี่ยมชมธุรกิจรายย่อยที่มีคนรุ่นใหม่ไฟแรงเข้ามาสานต่อและขยายงาน ขยายธุรกิจเดิมของที่บ้านให้เป็นธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ตามผมไปที่จังหวัดอุบลราชธานีกันครับ ที่มาของเม็ดดินเผาโอเคลย์ (O-Clay) พาท่านมาพบกับ ดร.ยุวเรศ วิทุรวงศ์ ที่บ้านเลขที่ 254 ถนนพโลรังฤทธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ดร.ยุวเรศ หรือ คุณยุวเรศ เป็นเจ้าของเม็ดดินเผายี่ห้อ โอเคลย์ (O-Clay) คุณยุวเรศ เล่าที่มาของธุรกิจเม็ดดินเผา ยี่ห้อ โอเคลย์ (O-Clay) ให้เราฟังว่า “ที่บ้านมีธุรกิจโรงงานผลิตเครื่องเคลือบดินเผา เป็นโรงงานผลิตในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่โรงงานประมาณ 11 ไร่ มีเตาเผาเซรามิกขนาดใหญ่ 8 ตัว มีทั้งระบบฟืน (เผาแบบโบราณ) และระบบไฟฟ้า บริเวณหลังโรงงานยังแบ่งพื้นที่ไว้ทำเกษตรแ
คุณวิชิต ว่องวัฒนาการ กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย พร้อมด้วย คุณเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ดร.อภัวัฒน์ จ่าตา นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย และ คุณกมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมแถลงข่าว การดำเนินโครงการฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่ (Ford Move Her Business) คุณเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายในการส่งเสริมสตรีในภาคการเกษตรให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านการเกษตรมาโดยตลอด รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง และเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกัน ซึ่งที่ผ่านมามีเกษตรกรหญิงจำนวนไม่น้อยพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรและเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) ที่สามารถเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพการเกษตรของชุมชนและเกษตรกรรายอื่นต่อไปได้ ดร.อภิวัฒน์ จ่าตา นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ฟอร์ด ประเทศไทย และสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ได้ทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนาน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมทั้งสื่อมวลชนเกษตรและเกษตรกร ให้มีโอกาสเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำก
สวัสดีครับ ยินดีที่ได้พบกันผ่านคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผมธนากร เที่ยงน้อย กันเป็นประจำ ฉบับนี้ผมอาจจะมาด้วยเรื่องที่แปลกตาสักหน่อย กับ คำว่า “ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบบูติค” ซึ่งเป็นคำที่ผมคิดขึ้นและนำมาใช้เรียกธุรกิจการเกษตรรูปแบบหนึ่ง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2553 เมื่อมีโอกาสไปเยี่ยมชมบ้านไร่วิมานดินฟาร์มสเตย์ แอนด์ รีสอร์ท ของ พ.ต.ท. กฤชญาณ อภิกุลชา ที่อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งท่าน พ.ต.ท. กฤชญาณ บอกว่า ถูกใจคำว่า ระบบการเกษตรแบบบูติคนี้มาก และผมก็ใช้คำๆ นี้เรื่อยมา เพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจการเกษตรอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างไปจากธุรกิจการเกษตรแบบอื่นๆ แต่ก็มีคนทักท้วงว่าเมื่อเห็นว่ามันต่าง ทำไมไม่อธิบายให้คนส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจให้ตรงกันเสียที ปล่อยผ่านมาจนเวลาล่วงเลยเป็น 10 ปี ดังนั้น ผมจึงขอใช้พื้นที่ในฉบับนี้อธิบายขยายความ คำว่า “ระบบการเกษตรแบบบูติค” เสียทีครับ ระบบการผลิตทางการเกษตร คืออะไร? ในการผลิตโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ด้วยกันคือ ปัจจัยการผลิต (Input) ส่วนกระบวนการผลิต (Process) และส่วนที่เป็นผลผลิต (Output) ซึ่งรวมเรียกว่า ระบบการผลิต ระบบการผลิต (Production System)