นครสวรรค์
วันนี้ (3ก.ย.66) ณ ห้องประชุมจังหวัดนครสวรรค์ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายปกรณ์ สุตสุนทร ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา นายวรพจน์ เพชรนรชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 นายไพฑูรย์ ศรีมุก รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 นายฉัตรชัย ทองปอนด์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครสวรรค์ และผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 66 และ 3 มาตรการรับมือเอลนีโญ ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน(2ก.ย.66) 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 10,126 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ เป็นปริมาณน้ำใช้การรวมกัน 3,430 ล้าน ลบ.ม. จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรน้ำช่วงฤดูฝนไปแล้ว 5,644 ล้าน ลบ.ม
“ปลากัด” เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงกันมาเป็นเวลานานแล้ว เพราะหาได้ง่ายตามลำน้ำลำคลองทั่วไป อีกทั้งมีสีสันลวดลายที่งดงาม ต่อมาได้มีการผสมข้ามพันธุ์กับต่างสายพันธุ์ จึงมีสายพันธุ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย จนในปัจจุบันมีสายพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพันธุ์ แล้วแต่ว่าเราจะเลือกเลี้ยงแบบไหน การเลี้ยงปลากัดในสมัยแรก จะมีเหตุผลเพื่อกีฬากัดปลา ดังนั้น นับแต่อดีตจึงมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันแพร่หลาย เนื่องจากเพาะพันธุ์ได้ง่าย ไม่ต้องการความดูแลเอาใจใส่มากนักจึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่หัดเริ่มเลี้ยง อีกทั้งระหว่างเลี้ยงก็ไม่มีความยุ่งยาก อาทิ ไม่จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมาก อย่างไรก็ตาม ในธรรมชาติมักจะพบปลากัดไทยได้ทั่วไปในน้ำที่นิ่ง หรือน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ นอกจากนั้นแล้ว ยังพบปลากัดไทยในนาข้าว กระจายทั่วไป โดยปลากัดเลี้ยงมักมีอายุเฉลี่ยเต็มที่ 2 ปี หรือน้อยกว่า แล้วแต่ผู้เลี้ยงมีการดูแลรักษาสุขภาพปลาดีแค่ไหน ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมตามธรรมชาตินั้นมักจะมีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว มีลายตามตัวรวมถึงครีบ และมีหางสั้น ส่วนปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าเพศเมียเล็กน้อย ครั้นต่อมา ความนิยมการ
กลุ่มเกษตรกรฯ นครสวรรค์ ต่อยอดพลังงานทดแทน ปลูกข้าวและพืชผักปลอดภัย แปรรูปสมุนไพรสร้างรายได้ ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรอยู่ที่ไหน ล้วนแล้วแต่ต้องคำนึงถึงความยั่งยืน โดยเฉพาะอาชีพด้านการเกษตร เพราะเป็นหนึ่งในอาชีพสำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรโลก จึงนับเป็นเรื่องน่ายินดีที่กลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้า แห่งตำบลปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ มีการประยุกต์นำเทคโนโลยีมาลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต แปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า และที่สำคัญเทคโนโลยีที่ว่านั้นยังเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย “นครสวรรค์” หรือที่คนนิยมเรียกกันว่า “ปากน้ำโพ” อันเกิดจากภูมิศาสตร์สำคัญ เป็นจุดที่แม่น้ำปิงกับแม่น้ำน่านไหลมาบรรจบก่อนจะกลายเป็น “แม่น้ำเจ้าพระยา” แม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงวิถีเกษตรของภาคกลาง เกษตรกรชาวนครสวรรค์อยู่ร่วมกับสายน้ำและผืนแผ่นดินอุดมสมบูรณ์มาช้านาน สั่งสมประสบการณ์จนเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ในขณะเดียวกัน ก็เปิดรับเทคโนโลยีและวิธีการจัดการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับยุคสมัย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อชุมชน ตัวอย่างสำคัญเกิดขึ้นที่ ตำบลปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ มีการรวมกลุ่มเกษ
ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพื้นที่รับน้ำตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ประสบภัยน้ำท่วมทุกปีมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ “ชุมแสง” โดนน้ำท่วมอ่วมอรทัยในปี 2554 นานถึง 3 เดือนกว่า พืชผลการเกษตรที่ถูกน้ำท่วมเสียหายหมด ประชาชนในพื้นที่เดือดร้อนอย่างหนัก เมื่อคราวอุทกภัยใหญ่ บ้านทับกฤชใต้ถูกน้ำท่วมนานกว่า 3 เดือน พืชผลเกษตรเสียหายหมด แต่กลับมีพืชอยู่ชนิดหนึ่งที่ถูกน้ำท่วมนานก็สามารถทนอยู่ได้ หลังจากน้ำลดลงพืชชนิดนั้นกลับให้ผลผลิตดีมาก นั่นก็คือ “ไผ่อินโดจีน” เป็นไผ่รับประทานหน่อสายพันธุ์หนึ่งที่ คุณนิรุต ผลพิกุล อยู่บ้านเลขที่ 4/1 หมู่ที่ 6 บ้านทับกฤชใต้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ปลูกอยู่ 12 ไร่ คุณนิรุต กล่าวว่า พื้นที่สวนไผ่ของตนถูกน้ำท่วมนานกว่า 3 เดือน ระดับน้ำสูงประมาณ 3 เมตรครึ่ง หลังจากระดับน้ำลดลงก็พบว่า ไผ่อินโดจีนที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ 12 ไร่ ยังยืนต้นอยู่ได้ไม่ล้มตาย จะมีตายก็เฉพาะไผ่ต้นอ่อนๆ เพิ่งจะลงปลูกใหม่ไม่ถึงปี นอกนั้นไม่ตาย “จะว่าไผ่น้ำท่วมไม่ตายเสียทุกสายพันธุ์ก็ไม่ได้ เพราะละแวกบ้านที่ปลูกไผ่สีสุก ไผ่รวก และไผ่อื่นๆ ถูกน้ำท่วมตายหมด มะพร้าวที่ว่าแน่ๆ ยังตาย จ
ตำบลตะเคียนเลื่อน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา อาชีพหลักส่วนใหญ่ของประชาชนในตำบลคือ การทำไร่ ทำสวนผลไม้ ซึ่งมีหลากหลายชนิดตามฤดูกาล ต่อมามีการนำพันธุ์กล้วยไข่จากจังหวัดกำแพงเพชรมาปลูก และมีการขยายพื้นที่ปลูกออกไป จึงเกิดการเรียนรู้ การปรับปรุง การพัฒนาคุณภาพการผลิตขึ้น จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วประเทศ ต่อมาได้รับคำแนะนำ รวมทั้งเงินทุนในด้านการบริหารจัดการจากทางราชการ จึงมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ และกลุ่มแม่บ้านแปรรูปอาหารจากผลไม้ตามฤดูกาลขึ้น รวมถึงการผลิตและการจำหน่ายผลไม้สดตามฤดูกาลทั้งในพื้นที่อำเภอ จังหวัด จังหวัดใกล้เคียง และต่างประเทศ ปัจจุบัน กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อน นับเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครสวรรค์ นับเป็นผลไม้ที่หายากตลาดมีความต้องการสูง ด้วยจุดเด่นที่กล้วยไข่ของที่ตำบลตะเคียนเลื่อนมีขนาดผลที่ใหญ่ ผิวสวย รสชาติดี เพราะมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และสภาพพื้นที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยไข่เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเคยมีการทดลองนำกล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนไปปลูกที่อื่นก็ไม่ได้ผลดีเหมื
นครสวรรค์ ถือเป็นแหล่งปลูกผักชีฝรั่งที่ใหญ่และสำคัญมากในประเทศ มีพื้นที่หลายตำบล และหลายหมู่บ้านที่ยึดอาชีพนี้ อาทิ เขตพื้นที่ ต.วัดไทร, ต.บางม่วง และ ต.ตะเคียนเลื่อน ลักษณะการปลูกผักชีฝรั่งในแต่ละครัวเรือนไม่เท่ากัน มีจำนวนเนื้อที่ปลูกตั้งแต่น้อยสัก 1 ไร่ขึ้นไปจนกระทั่งไปถึงจำนวนหลายสิบไร่ เกษตรกรบางรายมักปลูกร่วมกับพืชอายุสั้นชนิดอื่น แต่บางรายอาจปลูกเพียงอย่างเดียว ผักชีฝรั่ง หรือที่ชาวบ้านบางรายเรียกกันว่า ผักชีใบยาวบ้าง ผักชีหนามบ้าง เป็นพืชอายุสั้น ใช้เวลาปลูกประมาณ 4 เดือน เก็บผลผลิตขายได้แล้ว เกษตรกรหลายรายต่างก็ยืนยันว่ามีรายได้มากกว่าการปลูกพืชหลายชนิด แม้จะต้องลงทุนมากในช่วงการเริ่มต้นครั้งแรก แต่หลังจากเวลาผ่านไปสามารถได้คืนทุน ประโยชน์ของผักชีฝรั่งมักจะนำมาใช้ในการปรุงอาหารหลายชนิด แต่ที่นิยมและดูจะใช้มากเป็นพิเศษคือในอาหารทางอีสาน สรรพคุณของผักชีฝรั่งนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการหลายประการอันมาจากการที่ประกอบด้วย เส้นใย แคลเซียม เหล็ก โพแทสเซียม ไอโอดีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ไนอะซิน มีสารคลอโรฟิลล์สูง มีน้ำมันหอมระเหย เช่น เอพิออล (apiol) เบอแกบทีน (bergap