นักศึกษา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้รับพิจารณาคัดเลือกให้เป็นโครงการระดับพลอย ภายใต้โครงการ THE NEXT GEN คนอาสา พัฒนาสงขลาสู่มรดกโลก ได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณ 30,000 บาท จากคณะอนุกรรมการดำเนินโครงการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย “เด็กไทยต้นแบบ” สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงมกราคม 2565 และได้กำหนดจัดกิจกรรม “THE NEXT GEN FINAL” ขึ้น โดยมี ผศ.ปิยะ ประสงค์จันทร์ เป็นประธานในโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม เพื่อส่งมอบพื้นที่กิจกรรมให้กับตัวแทนชุมชนตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และเพื่อมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรตินักศึกษาที่ร่วมดำเนินงาน ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าว มีการส่งมอบป้ายดำเนินงานให้ตัวแทนชุมชน มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติให้กับตัวแทนนักศึกษา และมอบเกียรติบัตรขอบคุณผู้สนับสนุนการดำเนินงานนี้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการศึกษา รวมถึงการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ และพร้อมที่จะส่งเสริมใ
การสืบสานศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ของท้องถิ่นนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าเป็นอย่างมาก โดย นายพงศธร บุญสุข นักศึกชั้นปีที่ 4 เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์ฯ มทร.ศรีวิชัย ได้รับรางวัลราชมงคลสรรเสริญ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2564 ด้านวัฒนธรรม สาขาการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งนายพงศธร บุญสุข เป็นผู้นำนักศึกษาที่มีความขยัน ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มีจิตอาสา ชอบช่วยเหลือส่วนรวม มีผลงานและกิจกรรมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีผลงานในการเป็นตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรม รวมถึงผลงานการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยระหว่างนักศึกษา มทร.ศรีวิชัย และ นักศึกษา Kolej Vokasional Alor Setar กิจกรรม Walk Rally เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกับชาวสยาม โครงการครุศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและวิชาการในต่างประเทศ รุ่นที่ 1 ณ วัดวิสุทธิประดิษฐาราม (วัดปลายระไม) รัฐเคดาห์ และ สถานศึกษา Kolej Vokasional Alor Setar ประเทศมาเลเซีย การเป็นตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมงาน I
อาหารเช้าในภาวะเร่งด่วนของหลายๆ คนอาจแค่กาแฟสักถ้วย ขนมปังสักชิ้น หรือไม่อย่างนั้นก็ปาท่องโก๋กับน้ำเต้าหู้สักแก้ว ซึ่งสำหรับปาท่องโก๋นั้นเป็นอาหารที่คนไทยรู้จักและนิยมรับประทานเป็นอาหารว่างตอนเช้ามาช้านาน แทบจะเรียกว่าอยู่คู่กับวิถีของว่างยามเช้าที่ทั้งสะดวก อร่อยและหาซื้อได้ง่ายของคนไทยเลยทีเดียว และเพราะความนิยมปาท่องโก๋ที่ไม่เคยลดลง และได้กลายเป็นอีกหนึ่งวิถีการกินไปแล้ว ทำให้ในบางร้านที่มีลูกค้ามากๆ ก็ไม่สามารถผลิตปาท่องโก๋ได้ทันกับความต้องการของลูกค้า เนื่องจากช่วงเวลาการขายปาท่องโก๋โดยปกติจะทำกันสดๆ ในช่วงเช้า และช่วงเย็น ซึ่งขั้นตอนที่อาจทำให้เสียเวลาก็คือ ขั้นตอนกันปั้นแป้งปาท่องโก๋เป็นชิ้นก่อนนำไปทอดในน้ำมันร้อน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักศึกษากลุ่มหนึ่ง เกิดแนวความคิด ประดิษฐ์เครื่องขึ้นรูปปาท่องโก๋ขึ้น โดยอาศัยความรู้ทางด้านวิศวกรรม ที่ได้เรียนมา โดย นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า ในการสร้างเครื่องขึ้นรูปปาท่องโก๋แบบกึ่งอัตโนมัติขึ้นนั้นพวกตน มุ่งเน้นเพื่อหาวิธีการขึ้นรูปปาท่องโก๋ เพื่อเป็นต้นแบบในกา
ฟาร์มกลางเมือง ที่ได้รับการกล่าวขานถึง มีไม่กี่แห่ง แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ไม่ถึงกับกลางเมืองเสียทีเดียว ออกจะขยับไปชานเมือง แต่ก็เป็นฟาร์มที่เรียกได้ว่า ดึงดูดผู้คนเข้าไปหาได้ไม่น้อย คือ “เฟรชวิลล์ ฟาร์ม” ของ คุณสัมพันธ์ พิพัฒน์วรการ ตั้งอยู่ที่ซอยรามคำแหง 118 เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ ที่ได้รับการขนานนามถึง น่าจะเป็นประเด็นที่คุณสัมพันธ์ สร้างตู้เห็ดอัจฉริยะขึ้นมา โดยอาศัยความรู้พื้นฐานที่มีอยู่กับตัวทางด้านวิศวกรรมที่ร่ำเรียนมา ผนวกกับความสนใจด้านเกษตรกรรม และตู้เห็ดอัจฉริยะนี่เอง ที่สร้างเม็ดเงินและสร้างชื่อเสียงให้กับคุณสัมพันธ์จนเป็นที่รู้จักมาถึงวันนี้ คุณสัมพันธ์ เรียก เฟรชวิลล์ ฟาร์ม ว่า เป็นฟาร์มเกษตรสมัยใหม่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2546 นับถึงวันนี้ก็อีก 1 เดือน ครบ 10 ปี “ผมรวมเอาแนวคิดสามอย่างมารวมกันไว้ นั่นคือ งานวิจัยทางวิศวกรรม งานเกษตรกรรม งานสถาปัตยกรรม เกิดเป็นฟาร์มต้นแบบสมัยใหม่กลางเมือง ให้การทำเกษตร เป็นเรื่องง่ายสำหรับคนเมือง รูปแบบของเฟรชวิลล์ ฟาร์ม เป็นเกษตรปลอดสารพิษ ที่มีฟาร์มผักไร้ดิน ฟาร์มเห็ดอัตโนมัติ เป็นตัวชูโรงเป็นทางเลือกของคนรักสุขภาพและคนที่ต้องก
รศ.ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าว จัดโดย สาขาวิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ว่า กิจกรรมการดำนาที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้ ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงความยากลำบากในการปลูกข้าว ตั้งแต่เริ่มต้นที่การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเตรียมแปลงนา ซึ่งการปลูกข้าวของนักศึกษาก็ไม่ลำบากนัก เพราะปลูกในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ในความเป็นจริงชาวนาต้องเฝ้ารอน้ำฝน เมื่อปลูกต้นกล้าแล้วไม่รู้ต้นกล้าจะขึ้นหรือไม่หากฝนไม่มาในระยะเวลาที่ต้องการ นักศึกษาได้เรียนรู้ในระดับหนึ่ง เมื่อดำนาแล้วก็ต้องมาดูแลแปลงข้าว สุดท้ายก็มาลงแขกเกี่ยวข้าวกัน เป็นประสบการณ์ที่สำคัญของนักศึกษาที่จะได้เรียนรู้ประเพณีสำคัญของคนไทย เรียนรู้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเรียนรู้สภาพความเป็นจริงด้วยว่า การลงแขกเกี่ยวข้าวช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนา การจ้างแรงงานเกี่ยวข้าวมีผลกระทบกับต้นทุนการผลิตข้าว ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาขายข้าวไม่ได้ราคา เมื่อขายข้าวได้ราคาไม่สูงพอทำให้เกิดปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ด้าน รศ.ดร. มนต์ชัย ดวงจิ
น้องเฟลม หรือ คุณเกียรติศักดิ์ คำวงษา หนุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปี 4 เรียกได้ว่าเป็นเยาวชนที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ เพราะจุดเริ่มต้นจากเด็กนักเรียนที่ครอบครัวล้มเหลวจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของพ่อกับแม่ จนพ่อเสียชีวิต ส่วนแม่ก็ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกมาตามลำพัง แต่ปัจจุบันน้องเฟลม สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส สานต่อสิ่งที่มีอยู่และต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่า กระทั่งมีแบรนด์เป็นของตนเอง “แม่ผมเป็นข้าราชการและวิศวกร หลังจากพ่อเสียชีวิต เราเป็นหนี้ธุรกิจในตอนนั้นประมาณ 50 ล้านบาท ผมจึงออกจากโรงเรียนในสายสามัญมาเรียนสายอาชีวศึกษา เพื่อเอาเวลาที่มีไปช่วยแม่คุมงานก่อสร้าง และเริ่มเรียนการเขียนแบบ การออกแบบ การก่อสร้าง จบจากนั้นก็เข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย” ด้วยพื้นฐานเดิมของแม่ที่มีพื้นที่จัดสรรทำกินเพื่อการเกษตรบนเนินเขา ประมาณ 400 ไร่ ซึ่งใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกกาแฟ น้องเฟลมเองเลือกศึกษาต่อในคณะการสร้างเจ้าของกิจการและการบริหารกิจการ (School of Entrepreneurship and Management: BUSEM) ซึ่ง น้องเฟลม บอกว่า การเลือกศึกษาต่อในเส้นทางที่คิดว่าจะช่วยปูทางให้อาชีพในอนาคตข้างหน้าได้ เป็นส่วนประก