นาเปียกสลับแห้ง
ปีนี้ เมืองไทยเจอภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับภาวะต้นทุนค่าครองชีพ ทั้งค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าปุ๋ย ค่ายาที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าเดิม “ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำสุด ” คือทางออกของชาวนาจังหวัดชัยนาท เพื่อให้มีผลกำไรเหลือติดกระเป๋าได้มากที่สุด ตำบลนางลือ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท นับเป็นอีกหนึ่งทำเลทองของการปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ตำบลบางลือมีพื้นที่ปลูกข้าวหลายร้อยไร่ เกษตรกรนิยมปลูกข้าวปีละ 3 ครั้ง หมดฤดูทำนา จะปลูกถั่วเขียวเพื่อเป็นรายได้เสริมและเพิ่มธาตุอาหารในดิน เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าว พันธุ์ กข41 และ พันธุ์ กข 47 แบบใช้น้ำน้อย และใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรีย ปลูกข้าวกี่ครั้งกี่หนก็ได้ผลกำไรงาม เพราะใช้เงินลงทุนน้อยนั่นเอง ทำนาเปียกสลับแห้ง การปลูกข้าวนาดำในระบบเปียกสลับแห้ง เริ่มจากใช้แหนแดงหว่าน ลงในแปลงนาข้าวก่อน เพื่อไป ปิดหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้น แต่วิธีนี้ไม่เหมาะกับนาหว่าน เพราะทำแล้วไม่ค่อยได้ผลผลิตเท่าที่ควร การหว่านแหนแดง ในนาข้าว สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้มากขึ้นกว่าเดิม เก็บเกี่ยวแต่ละครั้งจะได้ผลผลิตมากกว่า90 ถังขึ้นไป แม้จะปลูกข้าวทำนาตลอดทั้งปี โดยไม่พั
เทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างประหยัดแบบเปียกสลับแห้ง เหมาะสำหรับพื้นที่นาในเขตชลประทานที่ควบคุมและระบายน้ำได้ คุณอุดมศักดิ์ คำมูล เกษตรจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำน่าเป็นห่วง เนื่องจากสภาวะฝนทิ้งช่วง และเกิดการขาดแคลนน้ำ ฉะนั้น เกษตรกรทำนาในเขตชลประทานที่ควบคุมและระบายน้ำได้ ควรจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งมีวิธีการดังนี้ เตรียมดินทำเทือกเพื่อเตรียมหว่านข้าว ติดตั้งท่อสังเกตระดับน้ำใต้ดิน (ท่อแกล้งข้าว) พื้นที่ละ 1-2 จุด โดยใช้ ท่อ พีวีซี เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 เซนติเมตร เจาะรูด้วยสว่านเส้นผ่าศูนย์กลางหุนครึ่งถึงสองหุน 4-5 แถว รอบๆ ท่อ แต่ละรูห่างกัน 5 เซนติเมตร และฝังท่อในนาลึก ประมาณ 20 เซนติเมตร ให้ปากท่อโผล่พ้นผิวดิน 5 เซนติเมตร ควักดินในท่อออกให้หมด หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว อัตราตามที่กรมการข้าว แนะนำ 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังจากนั้น ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง เมื่อข้าวอายุประมาณ 10 วัน ให้พ่นสารคุมหรือสารกำจัดวัชพืช ตามชนิดของวัชพืชที่เกิดขึ้น สูบน้ำเข้าแปลงนา ครั้งที่ 1 หลังพ่นสารคุม-ฆ่าวัชพืช 2 วัน ที่ระดับครึ่งต้นข้าวเพื่อคุมวัชพืช ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 1 ด้วยส