นำเข้ามะพร้าว
ปัจจุบัน ความต้องการบริโภคมะพร้าวในภาคอุตสาหกรรมและในครัวเรือนมีมากกว่าผลผลิตที่ผลิตได้ และนับวันจะเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ต้องนำเข้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากต่างประเทศมาทดแทน เป็นผลให้มะพร้าวในประเทศราคาตกต่ำ ประเทศที่อนุญาตให้นำมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เข้ามาได้มี อินโดนีเซีย เวียดนาม เมียนมา และมาเลเซีย มีรายงานจาก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ 18 ตุลาคม 2562 ว่า ราคามะพร้าวผลขยับสูงขึ้น จาก 5 บาท/ผล เป็น 15 บาท/ผล หลังจากราคาตกมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ ปี 2555 แม้ราคาสูงขึ้น รายได้จากการขายมะพร้าวยังน้อยอยู่ เนื่องจากมีผลผลิตต่ำ เมื่อดูสถิติการนำเข้าแล้วพบว่า นำเข้ามะพร้าวถึง 7 เดือน ในรอบปี เพื่อทดแทนที่ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปกะทิสำเร็จรูป อาหาร และอื่นๆ นั้น มีความต้องการประมาณ 166,000 ตัน ณ ปัจจุบัน และภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวประมาณ 10% ในปีต่อๆ มา หากดูสภาวะผลิตมะพร้าวในขณะนี้ แสดงให้เห็นว่าอยู่ในภาวะวิกฤติมาก ที่จะต้องรีบเร่งแก้ปัญหานี้ เพื่อรักษาสมาชิกชาวสวนมะพร้าวไม่น้อยกว่า 300,000 ครอบครัว ไม่ให้หันไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน ยุทธศาสตร์เร่งรัดเพิ่มผลผลิตมะพร้าวให้เพียงพ
นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่มีข้อกังวลเกี่ยวกับการอนุมัตินำเข้ามะพร้าว ภายใต้กรอบ AFTA ว่า หลังจากที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ได้พิจารณาอนุมัติการนำเข้า เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 ได้เห็นชอบให้ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปมะพร้าว จำนวน 15 ราย นำเข้ามะพร้าวผลภายใต้กรอบ AFTA สำหรับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 ในปริมาณไม่เกิน 32,543 ตัน “เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตภายในประเทศขาดแคลน และการนำเข้าจะต้องปฏิบัติตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามนำมะพร้าวนำเข้าไปจ้างกะเทาะนอกโรงงาน ห้ามนำไปจำหน่าย จ่าย โอนภายในประเทศ ต้องรายงานบัญชีสมดุลแปรสภาพมะพร้าวผลเป็นเนื้อมะพร้าวขาว และนำเข้าได้เพียง 2 ด่าน เท่านั้น คือ ด่านศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และด่านศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น” นายกีรติ กล่าวว่า สำหรับ คต. จะออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (แบบ ต.2) เพื่อประกอบการนำเข้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2562 ว่า คณะกรรมการฯ มีมติระงับการนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ จนกว่าราคามะพร้าวภายในประเทศจะปรับตัวดีขึ้น หรือตามข้อเรียกร้องของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว และเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว โดยไทยมีช่วงระยะนำเข้ามะพร้าว 4 เดือน หรือ 2 ช่วง คือ ในช่วงเดือน เม.ย.–พ.ค. โดยใช้ผลการรับซื้อมะพร้าวในประเทศ เดือน ม.ค.–มี.ค. และช่วง เดือน พ.ย.-ธ.ค. โดยใช้ผลการรับซื้อมะพร้าวในประเทศ เดือน มิ.ย.–ต.ค. ทั้งนี้ การระงับการนำเข้ามะพร้าวเพื่อผลักดันราคาในประเทศให้ปรับตัวดีขึ้น โดยมติการระงับการนำเข้า จะมีการระงับการพิจารณาคำขอนำเข้ามะพร้าวทุกกรณี โดยสนับสนุนให้ใช้มะพร้าวในประเทศให้หมดก่อน จึงจะมีการพิจราณาให้มีการนำเข้าภายหลัง หรือหากใน เดือน เม.ย. ราคามะพร้าวปรับตัวดีขึ้น ก็จะมีการพิจารณาการนำเข้าอีกครั้ง ส่วนผลผลิตในประเทศ ปี 2562 คาดว่าจะมีปริมาณ 884,756 ตัน เพิ่มขึ้น 27,836 ตัน หรือ 3.25% จาก ปี 2561 ที่มีผลผลิตรวม 856,920 ตัน นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สำหรับมาตรการระงับการนำ
อนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าว ชงคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชกำหนดสัดส่วนนำเข้า เคาะสูตร ซื้อในประเทศ 1 ส่วน จึงจะได้นำเข้า 2.5 ส่วน ให้นำเข้า 2 ช่วง เพื่อแก้ปัญหาราคาตกต่ำ รายงานข่าวจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงผลการประชุมของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าวเพื่อแก้ปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมาว่า คณะอนุกรรมการที่มี นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน มีมติกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้ามะพร้าว จะต้องซื้อมะพร้าวภายในประเทศ 1 ส่วน เพื่อจะได้นำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ 2.5 ส่วน ซึ่งผลผลิตมะพร้าวในประเทศ ปี 2562 คาดว่า จะมีประมาณ 8.8 แสนตัน เท่ากับว่าให้นำเข้ามะพร้าวได้ประมาณ 2.2 ล้านตัน/ปี ทั้งนี้ การนำเข้าให้นำเข้าได้เพียง 2 ช่วง คือ เดือนเมษายน-พฤษภาคมช่วงหนึ่ง และเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมอีกช่วงหนึ่ง ส่วนการขนมะพร้าวข้ามเขตหรือจังหวัด หากมีการขนย้ายไม่เกิน 4 ตัน/ครั้ง ไม่ต้องขออนุญาตขนย้าย หากเกินต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือต้องไปขออนุญาตจากเกษตรอำเภอที่พาณิชย์จังหวัดแต่งตั้ง โดยห
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบบริษัทที่ขออนุญาตนำเข้ามะพร้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า (AFTA) โดยมีกำหนดตรวจสอบภายในสิ้นปีนี้จำนวน 11 ราย และได้เริ่มตรวจสอบไปแล้ว 7 บริษัท ในจังหวัดราชบุรี กรุงเทพฯ นนทบุรี และปทุมธานี และมีกำหนดจะตรวจสอบอีก 4 บริษัทในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่ภายในเดือนธ.ค.2561 นี้ ทั้งนี้ ผลจากการตรวจสอบพบว่า โรงงานในพื้นที่จังหวัดราชบุรี กรุงเทพฯ และปทุมธานี มี 2 ใน 4 บริษัท มีโรงงานพร้อมเครื่องจักรผลิตกะทิ และมะพร้าวเกร็ดอบแห้งตามลำดับ แต่ในช่วงเวลานี้ยังไม่มีการผลิต เนื่องจากรอคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่วนโรงงานย่านจอมทอง แจ้งว่าได้เลิกกิจการไปแล้ว ส่วนโรงงานแถวคลอง 11 ได้ย้ายเครื่องจักรไปผลิตในอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งกรมฯ จะประสานกรมโรงงานให้ช่วยตรวจสอบสถานะใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) อีกครั้งว่าได้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ “การดำเนินการตรวจสอบโรงงานที่ขออนุญาตนำเข้ามะพร้าวภายใต้ AFTA ดังกล่าว เป็นการปฏ