นิสิต
เมื่อกลางปี 2562 มีการเก็บข้อมูลการระบาดทางน้ำของผักตบชวาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีลำน้ำมากมายหลายสาย เป็นทั้งทางไหลผ่านของน้ำ และเป็นเส้นทางคมนาคม หรือแม้กระทั่ง ลำน้ำในจังหวัดต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบจากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วของผักตบชวา จากการสำรวจข้อมูลเชิงนิเวศ พบว่า ผักตบชวา มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก สะสมมวลชีวภาพได้สูงถึง 20 กรัม น้ำหนักแห้งต่อตารางเมตรต่อวัน โดยมีอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์สูงสุดเท่ากับ 1.50 เปอร์เซ็นต์ ต่อวัน ถ้าปล่อยให้เติบโตในแหล่งน้ำ หากจะคำนวณง่ายๆ พิจารณาจากลำต้นสด หนัก 500 กรัม ต่อตารางเมตร ในระยะเวลาเพียง 3 เดือนเศษ พบว่า ผักตบชวา สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ให้มวลชีวภาพสูงถึง 40,580 กรัม น้ำหนักสดต่อตารางเมตร และในระยะเวลา 1 ปี ผักตบชวาจะเจริญเติบโตให้มวลชีวภาพสูงอยู่ในช่วง 717 ตันน้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยจะเติบโตสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน และต่ำสุดในช่วงเดือนมกราคม การแผ่กอขยายเต็มลำน้ำของผักตบชวา จะลดการไหลของน้ำลงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญส่วนต่างๆ ของผักตบชวาที่จมลงใต้น้ำ จะก่อให้เกิดอุปสรรคกับการระบายน้ำของฝาย ประตูระบาย และอื่นๆ ทำให้ทางเดินของ