นโยบายการตลาดนำการผลิต
“ข้าวตราฉัตร” จัดงานวันเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 3 นำร่องขับเคลื่อน “พะเยาโมเดล” รับซื้อข้าว ในราคา 18,000 บาท ต่อตัน (ความชื้น 15%) ชวนคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมลงนาม MOU ผลักดันข้าว“ฮัก พะเยา” สู่ตลาดโลก “ข้าวตราฉัตร” จับมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดพะเยา และเกษตรกรสมาชิกผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ภายใต้โครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ ของ บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด จัดงานวันเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 3 (3rd World’s Hom Mali Rice Harvesting Day) ขึ้น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อน “พะเยาโมเดล” ตามนโยบายของภาครัฐ ผ่านระบบส่งเสริมการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการตลาด โดยใช้นโยบายการตลาดนำการผลิต ชวนพันธมิตรคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ C.P.INTERTRADE (SHANGHAI) CO.,LTD SHANGHAI RONGYOU INTER-TRADE CO.,LTD 7-Eleven และ Shopee ร่วมลงนาม MOU พร้อมเป็นช่องทางกระจายสินค้าข้าวหอมมะลิคุณภาพ ในแบรนด์ ข้าว “ฮักพะเยา” สู่ตลาดโลก สร้างรายได้ที่แน่นอน และความมั่นคงในอาชีพให้กับเกษตรกร นำไปสู่การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน และเพื่อเป็นการสร้างความเชื
“นโยบายเกษตรแปลงใหญ่” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน ตั้งแต่ ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยไม่จำเป็นต้องมีแปลงติดต่อกัน แต่อยู่ในชุมชนเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน เพื่อลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิต เพิ่มโอกาสด้านการแข่งขัน ผ่านตลาดและการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ เกิดการยกระดับอาชีพและรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืน สำหรับ ปี 2561 มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมการเกษตรแบบแปลงใหญ่กว่า 277,127 ราย จำนวน 3,724,607 ไร่ แบ่งเป็น 11 กลุ่ม ได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น “โนนเขวาโมเดล” ต้นแบบแปลงใหญ่ปลูกผัก เกษตรกรในพื้นที่บ้านโนนเขวา หมู่ที่ 3 ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ทำนาเป็นอาชีพหลัก และปลูกผักเป็นอาชีพเสริม ภายหลังเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วม ในปี 2554 เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาปลูกผักมากขึ้น เนื่องจากใช้เวลาปลูกเก็บเกี่ยวน้อยกว่าการปลูกข้าว แถมขายผลผลิตได้ราคาสูงกว่าการขายข้าว แต่การปลูกผักของเกษตรกรในชุมชนนี้ยังมีลักษณะการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว เพราะเกษตรกรปลูกผักเพียงแค่ชนิดเดียว ทำให้สินค้าไม่มีควา