น้ำตาลลอยตัว
ท่ามกลางความสับสนหลังจากที่รัฐบาลตัดสินใจใช้ มาตรา 44 ปล่อยลอยตัวราคาน้ำตาลภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝั่งชาวไร่อ้อย-โรงงานน้ำตาล ตลอดจนถึง ผู้บริโภค จะได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) Q : ใช้ ม.44 ลอยตัวน้ำตาล ถ้าดูประกาศ จะบอกว่าใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ไป “ยกเว้น” การบังคับใช้ มาตรา 17(18) ของ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งหลัก ๆ คือกระบวนการกำหนดราคาน้ำตาลทรายที่ใช้บริโภคภายในประเทศ ม.44 ไปยกเลิกตรงนั้น ไปหยุดกระบวนการที่เคยใช้อยู่ แต่ม.44 ไม่ได้บอกชัดเจนว่า จะใช้อะไรต่อไป เท่าที่ผมอ่านประกาศอีก 5 ฉบับที่ออกตามมาในราชกิจจาฯ ก็พบความชัดเจนเพียงแค่ 2 เรื่องคือ 1) หลังลอยตัวราคาแล้วให้โรงงานน้ำตาลสต๊อกน้ำตาลทรายเอาไว้ในปริมาณเท่ากับการบริโภคภายในประเทศ 1 เดือน กับ 2)ให้โรงงานส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลเท่ากับส่วนต่างของราคาขายส่งหน้าโรงงานกับราคาตลาดโลก ส่วนกฎเกณฑ์อื่น ๆ จะออกประกาศตามมา อะไรที่ยังไม่มีประกาศก็ใช้ตามของเก่าไปก่อน ซึ่งวิธ
ลอยตัวน้ำตาลวุ่นไม่เลิก เหตุขาดวิธีปฏิบัติทั้งการขายน้ำตาล การคำนวณค่าอ้อย TDRI ชี้ถ้าไม่ทำมีสิทธิ์ถูกบราซิลฟ้องใน WTO คาดอาจต้องรออีก 2 เดือนถึงจะลอยตัวได้ เหตุยังมีน้ำตาลเหลือค้างสต๊อกในห้างอีก 300,000 ตัน การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ประกาศ “ยกเว้น” การใช้มาตรา 17 (15) แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 เฉพาะในส่วนของการกำหนดราคาขายน้ำตาลทรายเพื่อการบริโภคภายในประเทศตั้งแต่ฤดูการผลิตที่ 2560/61 จนถึง 2561/62 หรือที่เรียกกันว่า การปล่อย “ลอยตัว” ราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศได้ก่อให้เกิดความสับสนและไม่แน่นอนในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลต่อไปในวิธีปฏิบัติในการคำนวณราคาอ้อยให้กับชาวไร่อ้อย การคำนวณราคาน้ำตาล ณ หน้าโรงงาน การส่งออก-นำเข้าน้ำตาล เนื่องจากคำสั่งที่ 1/2561 ไม่ได้บอกไว้ ประกอบกับเป็นการใช้อำนาจฝ่ายบริหารยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะที่ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายฉบับใหม่ยังไม่สามารถประกาศบังคับใช้ได้ ซุกปัญหาไว้ใต้พรม นายวิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เจ้าของผลงานข้อเสนอในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน