น้ำท่วมนา
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ให้กำลังใจเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ จ.นครพนม โดยเฉพาะ ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม พบมีน้ำท่วมในพื้นที่ทางการเกษตรราว 3 พันไร่ สำหรับการสำรวจความเสียหายเบื้องต้น พบว่า ในพื้นที่ 8 อำเภอ มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 8,108 ราย จากเกษตรกรทั้งหมด 33,427 ราย ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นพื้นที่ประสบภัยที่คาดว่าจะเสียหาย 51,322 ไร่ คิดเป็น 10% จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งจังหวัด 486,041 ไร่ ซึ่งหลังจากน้ำลด ได้กำชับให้สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายโดยเร็วต่อไป ซึ่งการที่พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายเช่นนี้ เกิดหลังจากฝนตกอย่างหนักต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ วันที่ 15 ก.ค. เป็นต้นมา ทั้งนี้ สถานีอุตุนิยมวิทยานครพนม ได้คาดการณ์ว่าจะมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561
รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งว่า จากการตรวจสอบข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 23 จังหวัด ได้แก่ พะเยา พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย นครสวรรค์ พิษณุโลก ยโสธร ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ ศรีสะเกษ มหาสารคาม อุบลราชธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ เลย หนองบัวลำภู ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี สุพรรณบุรี โดยกระทบเกษตรกรรวม 182,885 ราย ได้แก่ ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 35 จังหวัด เกษตรกร 162,258 ราย พื้นที่ 1.45 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1.07 ล้านไร่ พืชไร่ 0.34 ล้านไร่ พืชสวนและอื่นๆ 0.04 ล้านไร่ ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 22 จังหวัด เกษตรกร 10,463 ราย พื้นที่บ่อปลา 12,318 ไร่ กระชัง 3,478 ตรม. ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ 16 จังหวัด เกษตรกร 10,164 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 325,404 ตัว แบ่งเป็น โคกระบือ 26,037 ตัว สุกร 11,592 ตัว แพะแกะ 5,144 ตัว สัตว์ปีก 287,690 ตัว แปลงหญ้า 460 ไร่ รายงานข่าว แจ้งอีกว่า สำหรับการให้ความช่วยเหลือระยะเร่งด่วน ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 272 เครื่อง ในพื้นที่ 13 จังหวัด สุโขทัย 10 เครื่อง กาฬสินธุ์ 8 เครื่อง ขอนแก่น18 เครื่อง มหาสารคาม
จากการที่มีฝนตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันหลายวัน ส่งผลทำให้ทางสำนักชลประทานที่ 12 ได้ประกาศแจ้งเตือนจะมีการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา-ชัยนาท ต้องระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาลงสู่ท้ายเขื่อน มีระดับน้ำสูงขึ้น น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยายังได้ไหลมารวมกับแม่น้ำน้อย ในพื้นที่อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝนที่ตกลงทาทำให้น้ำท่วมนาข้าวของชาวบ้าน ในหมู่ 1-5 ต.บ้านแพน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา กว่า 800 ไร่ จมน้ำ ชาวต้องเร่งสูบน้ำออกจากนาลงในคลองประทาน แต่เนื่องด้วยคลองบางจุดถูกปิดกันเอาไว้ระบายน้ำออกไปได้ช้า นายณรงค์ กิจปลื้ม อายุ 44 ปี ชาวนา กล่าวว่า ฝนตกติดต่อกันมาหลายวันอย่างหนักทำให้น้ำท่วมขังในนาข้าว ชาวบ้านต่างพากันเร่งสูบน้ำออกจากนาลงสู่คลองรำราง แต่หลายจุดเป็นช่วงทางลงจากถนนไปนามีการถมดินขวางกันเอาไว้ น้ำไหลออกได้ช้า จึงอยากให้ทางอำเภอหรือส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยลงมาแก้ไขปัญหาก่อน ตอนนี้ชาวบ้านเดือดร้อนกันเป็นอย่างมาก ต่อมานายอนุกูล เรือนแก้ว นายอำเภอเสนา พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า คลองรำรางบางจุดน้ำไหลได้ไ
ชาวนาอุตรดิตถ์ น้ำตาไหล หลังน้ำท่วมนาข้าวรอบ 6 ปีเสียหายหลายพันไร่ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม นายศมณัฏฐ์ สุขก้อน ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรเมืองตรอน อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ ออกสำรวจความเสียหายในนาข้าวของตัวเองราว 60 ไร่ บ้านใหม่เยาวชน หมู่ 5 ต.วังแดง อ.ตรอน พบว่าข้าวที่กำลังสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ภายใน 5 วัน ถูกน้ำท่วมหลากตั้งแต่ช่วงสายๆ วันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา และน้ำจะท่วมขังเช่นนี้ไปอีกราว 7 วัน นอกจากนี้เกษตรกรที่ปลูกข้าวอายุข้าวเท่ากันในพื้นที่ 5 ตำบลคือ ต.วังแดง ต.น้ำอ่าง ต.บ้านแก่ง ต.หาดสองแคว และ ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน อีกหลายพันไร่ก็ถูกน้ำท่วมหลากและเน่าเสียหายเช่นเดียวกัน ชาวนาหลายคนถึงกับร้องไห้ที่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ทัน หลายคนเอาแต่นั่งดูและปลงกับการสูญเสียครั้งนี้ “ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านใน 5 ตำบลเร่งทำการสำรวจนาข้าว เพื่อเร่งส่งรายงานไปยัง อ.ตรอน และยังไม่ทราบว่า จะไปร้องขอเงินชดเชยความเสียหายจากหน่วยงานใด และยังไม่ทราบว่าจะได้รับหรือไม่ เนื่องจากต้นทุนการเพาะปลูกข้าวไร่ละราว 4,000 บาทหากไม่ได้รับการชดเชยก็คงต้องยอมสูญไป หากอีก 7 วัน ระดับน้ำลดลงสู่ภาวะปกติก็คงต้องเริ่มทำการ
ชาวนาในตำบลเหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์อ่วม หลังแม่น้ำปาวและแม่น้ำชีหนุนสูงเอ่อเข้าท่วมนาข้าวของเกษตรกรนานจมน้ำกว่า 2 สัปดาห์เสียหายกว่า 443 ไร่ ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำการสำรวจ พร้อมเยียวยาและวางแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว เมื่อวันที่ 4 ต.ค. นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยนางปนัดดา ภู่เจริญศิลป์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและเยี่ยมเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน จากผลกระทบแม่น้ำปาวและแม่น้ำชีหนุนสูง ส่งผลให้ปริมาณน้ำเอ่อเข้าท่วมนาข้าวที่กำลังงอกงามและกำลังตั้งท้อง ของเกษตรกรในพื้นที่บ้านด้านใต้ ตำบลเหล้าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีนายสัมฤทธิ์ กิตติโชติ สุขสงค์ นายอำเภอร่องคำ พร้อมด้วยผู้นำท้องถิ่นรายงานสถานการณ์ โดยจากจากตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ และได้รับน้ำจากพื้นที่ต่างๆทั้งในอำเภอกมลาไสย และอำเภอร่องคำ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ติดกับแม่น้ำชี และแม่น้ำปาว ซึ่งปัจจุบันพบว่าต้นข้าวที่กำลังงอกงามและกำลังตั้งท้องออกรวงของเกษตรกรใ