น้ำผึ้งหลวงแท้
ชาวบุรีรัมย์สืบสานประเพณีตีผึ้งร้อยรัง ปรับวิธีเก็บน้ำผึ้งเดือน 5 ในช่วงโควิด-19 ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงก่อนเคอร์ฟิวเพื่อให้เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่สูญเสียรายได้ของชุมชน พร้อมจัดเวรยามดูแลและทำงาน อาจารย์สำราญ ธุระตา อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หัวหน้าโครงการ “การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ่านอัตลักษณ์ประเพณีตีผึ้งชุมชนสายตรีพัฒนา 3 ตำบลบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์” โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า น้ำผึ้งเดือน 5 เป็นน้ำผึ้งคุณภาพดีที่หลายคนเฝ้ารอจับจองที่จะได้น้ำผึ้งแท้จากรวง ชาวชุมชนได้ช่วยกันอนุรักษ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่าปริมาณ โดยจะปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ให้เห็นค่าของดีในชุมชนร่วมสืบสานต่อกันมา มีกฎระเบียบของหมู่บ้านที่หารือกันไว้ว่าจะเก็บน้ำผึ้งเพียง ปีละครั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้เพื่อความยั่งยืน ชุมชนเล็กๆ แห่งนี้มี “ประเพณีตีผึ้งร้อยรัง” ซึ่งเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นจังหวัดบุรี