น้ำยางพารา
นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โชว์ผลงานนวัตกรรม “ชุดตรวจแมกนีเซียมภาคสนามในน้ำยางพารา” สามารถตรวจได้เองโดยไม่ต้องพึ่งห้องแล็บ สะดวกรวดเร็วรู้ผลภายใน 1 นาที และได้รับอนุญาตจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อย พร้อมต่อยอดการค้าหนุนการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร. ปุริม จารุจำรัส รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหัวหน้าคณะวิจัยโครงการ “ชุดตรวจแมกนีเซียมภาคสนามในน้ำยางพารา” กล่าวว่า คณะวิจัยฯ ได้ร่วมกันคิดค้นและพัฒนานวัตกรรม “ชุดตรวจแมกนีเซียมภาคสนามในน้ำยางพารา” ที่ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและชุมชน ในการคิดค้นพัฒนาชุดทดสอบแมกนีเซียมภาคสนามในน้ำยางพาราขึ้นมา เพื่อวิเคราะห์ปริมาณแมกนีเซียมในน้ำยาง ด้วยการตรวจวัดทางสีที่สามารถอ่านค่าได้ด้วยตาเปล่า โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการวิเคราะห์ก็ทำได้อย่างรวดเร็วทราบผลภายใน 1 นาที ทั้งยังใช้ปริมาณตัวอย่างน้อยแต่ให้ผลการวิเคราะห์เชิงกึ่งปริมาณที่มีความถูกต้องแม่นยำ ใช้สารเคมีและตัวอย่างเพียงเล็กน้อยจึงทำให้มีปริมาณของเสียน้อยมากเมื
แม้จะมีคำตอบจากภาครัฐ ในเรื่องของราคายางที่ผันผวนขึ้นลง และดูเหมือนขาลงจะยาวนานกว่าก็ตาม แต่ข้อข้องใจต่อราคาน้ำยางก็ไม่เคยกระจ่างในใจเกษตรกรแม้แต่คราเดียว ทางออกของมุมนักวิชาการที่ทำงานอยู่กับตัวหนังสือ ฐานข้อมูล พอจะเป็นทางออกหนึ่งที่ชี้ทางสว่างให้กับเกษตรกรได้ โดยเฉพาะคำแนะนำในการแปรรูปน้ำยางจำหน่าย เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้มากขึ้น ดร. วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นักวิจัยจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งผ่านประสบการณ์การทำงานในวงการผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพาราในระดับโลกมาก่อนหน้านี้ และนำความรู้ที่เป็นประสบการณ์มาสานต่องานวิจัย สร้างนวัตกรรมใหม่ให้มีศักยภาพตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยปัจจุบัน มีผลงานวิจัยเรื่อง “กาวน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำยางธรรมชาติ, ฟินอลิก เรซิน และ กัมโรซินและกรรมวิธีการผลิต” ซึ่งได้รับอนุสิทธิบัตร เมื่อปี 2557 แล้ว ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นผลิตภัณฑ์กาวน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำยางพาราจากธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติการติดที่ดี มีความเหนียว มีคุณภาพคงที่ ไม่มีตัวทำลายอินทรีย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประสบผลสำเร็จวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเพ้นต์จากน้ำยางพารา “มหัศจรรย์สีสันยางพารา” (The Amazing Rubber Paint) เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ช่วยสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ พร้อมโชว์/ส่งต่อผู้ประกอบการสู่เชิงพาณิชย์ในงาน THAILAND TECH SHOW 2020 ระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2563 ผ่านนิทรรศการออนไลน์ ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ ดำเนินโครงการการพัฒนากระบวนการเพ้นต์ผ้าทอพื้นเมืองด้วยสีเพ้นต์จากน้ำยางธรรมชาติ ภายใต้โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอท็อป ปี 2561 โดยประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเพ้นต์จากน้ำยางพารา “มหัศจรรย์สีสันยางพารา” (The Amazing Rubber Paint) ผลิตจากน้ำยางพาราเป็นองค์ประกอบหลัก สามารถเพ้นต์บนวัสดุได้หลายชนิด เช่น ผ้าใบแคนวาส ผ้าไหม ผ้าดิบ ผ้ามัสลิน ผ้าสาลู และกระดาษสา เป็นต้น สามารถนำไปให้ผู้ต้องการฝึกปฏิบัติการเพ้นต์ หรือการทำงานศิลปะได้อีกทางหนึ่ง เป็น
ในวันที่ 12 มิถุนายน 2563 นี้ กระทรวงคมนาคม จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง เรื่องอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยจากยางพารา ระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับราคายางพารา และเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน ด้วยการนำน้ำยางพาราของเกษตรกรไทย มาใช้ผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตและหลักนำทางยางธรรมชาติ
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ประกาศการรับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยางพาราผสมสารฯ และสารผสมเพิ่ม อีก 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ซีโก้แอสฟัลท์ จำกัด และ บริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด อีก 3 บริษัทจ่อคิวอยู่ระหว่างการทดสอบคาดรู้ผลเร็วๆ นี้ นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการพิจารณาการรับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่มสำหรับการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ ได้รับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยางผสมสารผสมเพิ่มฯ ให้แก่บริษัทผู้ผลิตน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มฯ ที่ยื่นคำขอรับรองเข้ามาจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท ซีโก้แอสฟัลท์ จำกัด และ บริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด ซึ่งทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบมาตรฐานทั้งในส่วนของมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ ในการตรวจสอบความเข้ากันได้ของน้ำยางพารากับดินซีเมนต์ และมาตรฐานทางวิศวกรรม ในการตรวจสอบการรับแรงอัดของรถที่วิ่งบนผิวถนนรวมถึงค่าความยืดหยุ่นของผิวถนนตามที่ระบุในคู่มือการควบคุมคุณภาพและการรับรองมาตรฐานวัสดุสำหรับงานก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับป
คุณพัฒนะ มีพรหม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ (หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ) สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ ให้ข้อมูลว่า ภายในจังหวัดบึงกาฬมีเกษตรกรที่ทำสวนยางพาราขึ้นทะเบียนอยู่จำนวน 8 แสนกว่าไร่ ซึ่งการทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลักของประชากร รองลงมาคือการทำนา 4 แสนกว่าไร่ เน้นปลูกเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือนเท่านั้น ดังนั้น ในเรื่องของราคาจำหน่ายผลผลิตข้าวจึงไม่มีปัญหาเท่ากับยางพารา โดยการจำหน่ายยางพาราส่วนใหญ่ของเกษตรกรเป็นการจำหน่ายยางแบบยางก้อนถ้วย ราคารับซื้อปัจจุบันอยู่ที่ 15-17 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งอนาคตในจังหวัดบึงกาฬจะมีการสร้างโรงงานรับซื้อน้ำยางจากเกษตรกรมากขึ้นด้วยการสร้างโรงงานเพิ่ม ก็จะทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการจำหน่ายยางพารา จากเดิมที่เป็นยางก้อนถ้วยก็พัฒนาจำหน่ายเป็นแบบน้ำยางที่มีราคามากกว่า 30 บาท ต่อกิโลกรัม “ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรภายในพื้นที่บึงกาฬ ยังใช้แรงงานภายในครอบครัวช่วยกันทำงานอยู่ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูง เพราะปริมาณการทำสวน ยังอยู่ในเกณฑ์ที่เกษตรกรสามารถทำกันเองได้ภายในครัวเรือน ส่วนพื้นที่เหลือจากนั้น ก็จะมีการปลูกพืชแซมเข้ามาเสริม โดยเฉพาะในเรื่อง
รายงานข่าวจากจังหวัดสงขลาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมว่า สถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำต่อเนื่อง ทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยราคาน้ำยางสด ปรับลดลงมาจากเดือนก่อน ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ 50 บาทเศษ ปรับลดลงเหลือกิโลกรัมละ 38 -40 บาท เท่านั้น ในขณะที่ชาวสวนยางกลับไม่สามารถกรีดยางได้เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกต่อเนื่อง ยิ่งเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้เพิ่มมากขึ้น นายสมพงษ์ ราชสุวรรณ รองประธานกรรมการ การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท.กล่าวว่าราคายางพาราที่ตกต่ำลงมา ทั้งที่ในช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ซึ่งชาวสวนยางจะกรีดยางได้ลดน้อยลง จากฝนตก หน้ายางเปียก ราคาจึงควรจะปรับสูงขึ้น เพราะมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคาที่ตกต่ำในช่วงนี้จึงเป็นการสวนทิศทางการตลาดที่ควรจะเป็น ในช่วงบ่ายวันนี้แกนนำเครือข่ายชาวสวนยางในภาคใต้จึงได้มีกำหนดเชิญตัวแทน สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ร่วมหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ตลาดกลางยางพาราสงขลา อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งจะมีตัวแทนเกษตรกรจากหลายจังวัดภาคใต้เข้าร่วม ที่มา : มติชนออนไลน์
กยท. เปิดตลาดกลางน้ำยางสดแห่งแรกของประเทศ นำร่อง พื้นที่เขตภาคใต้ตอนล่าง เชิญ บ.ถาวรอุตฯ เอกชนรายใหญ่ เคาะเปิดตลาดวันแรก รับซื้อน้ำยางสด 44.50 บาท/กก. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2560 กยท. เปิดตลาดกลางน้ำยางสดแห่งแรกของประเทศ เคาะวันแรกเอกชนกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำยางข้นรายใหญ่ของประเทศ ขานรับ ราคาพุ่ง 44.50 บาท/กก. มุ่งเชื่อมโยงตลาดเครือข่ายน้ำยางสดทั้งหมด พร้อมกำหนดราคาอ้างอิงน้ำยางสดจาก ตลาด กยท. ได้ เพื่อให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม มีอำนาจต่อรอง และที่สำคัญ ยกระดับราคาน้ำยางสดในพื้นที่ให้เกิดเสถียรภาพ และผู้ประกอบการจะซื้อผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานในปริมาณมาก เพราะตลาดกลางน้ำยางสด มีระบบควบคุมคุณภาพ และรูปแบบการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง มีพื้นที่ในความรับผิดชอบครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 5.1 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 23.18 ของประเทศ และมีผลผลิตรวม 1,117,880 ตัน/ปี โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ยึดถือการทำสวนยางเป็นอาชีพหลักมาอ
กยท. เปิดหลักสูตร “การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางข้นชนิดครีม” นำนวัตกรรมการผลิตสู่เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการ กระตุ้นการใช้ยางในประเทศ หวังแปรรูปเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย การยางแห่งประเทศไทย เปิดอบรมหลักสูตร “การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางข้นชนิดครีม” เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า นำนวัตกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพารา สู่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยางพาราไทย ณ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่ง ประเทศไทย เขตจตุจักร กรุงเทพฯ นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง กล่าวว่า กยท.ดำเนินการจัดการฝึกอบรมหลักสูตร “การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางข้นชนิดครีม” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจ และจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายรุ่น เนื่องจากหลักสูตรนี้มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนให้นำยางพารามาแปรรูปให้มากยิ่งขึ้น โดยเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ยางเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ตลอดจนผู้ประกอบกิจการยาง ตามแผนงานการสร้างรายได้จากโอกาสในธุรกิจใหม่ โครงการสนับสนุนเกษตรกร
ชาวสวนยางใต้ซีดหลังน้ำลดเริ่มกรีดยางได้ แต่เจอบริษัทซื้อน้ำยางสดรับซื้อจำกัด ฝ่ายคนกรีดยางฝ่อราคาน้ำยางร่วงวันเดียว 7 บาท กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางสงขลาร้องคสช.ช่วยแก้ปัญหาด่วน วันที่ 31 มกราคม ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากแรงงานกรีดยางพารารับจ้างพื้นที่ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุงว่า ช่วง 2-3 วันนี้ สภาพอากาศเข้าสู่ภาวะปกติ ชาวสวนเริ่มกรีดยางพาราได้ทั่วไป โดยทั้งเดือนมกราคม เริ่มกรีดวันที่ 29 มกราคม เป็นวันแรก ในราคากิโลกรัมละ 92 บาท วันที่สองราคาลงมาที่กิโลกรัมละ 91 บาท และ วันนี้ (31 มกราคม) น้ำยางสดเหลือกิโลกรัมละ 85 บาท ค่าดีอาร์ซี 33% ถือว่าราคาร่วงวันเดียวถึง 6-7 บาท/กิโลกรัม ด้านนายสมพงศ์ ราชสุวรรณ ประธานกรรมการกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย.อ.นาทวี จ.สงขลา เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำยางสดผิดปกติมา 2 วันแล้ว ใน จ.สงขลา โดยบริษัทรับซื้อน้ำยางสดซื้อน้ำยางสดในปริมาณจำกัดจำนวน โดยระงับรับซื้อน้ำยางสด โดยรับเพียง 1 เที่ยวขนส่ง จาก 3 เที่ยวขนส่ง ประมาณ 100,000 กิโลกรัม ก็จะขายได้กว่า 30,000 กิโลกรัม ถามว่าน้ำยางสดที่เหลือจะเอาไปไว้ที่ไหน เพราะหากสต๊อกไว้ ค่าวีเอสเอ จากคุณภาพปกติ 0.