น้ำเสาวรส
ทุกวันนี้ ราคายางพาราอยู่ในช่วงตลาดขาลง ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้ลดน้อยลงตามไปด้วย แต่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่บ้านคำสมบูรณ์ อำเภอบึงโขงหลง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น พวกเขาหันมาปลูก “เสาวรส” เป็นไม้ผลริมรั้ว เพื่อขายผลสดและแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มในรูปน้ำเสาวรส ปรากฏว่าขายดิบขายดี จนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด พวกเขาเตรียมขยายพื้นที่ปลูกเสาวรสมากขึ้น พร้อมรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อขยายกำลังผลิตน้ำเสาวรสให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดในอนาคต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนเกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านคำสมบูรณ์ สอดคล้องกับนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ “คุณนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร” ที่อยากเห็นพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราตัดโค่นต้นยางเก่าที่หมดอายุ หรือแบ่งที่ดินว่างเปล่านำมาปลูกผลไม้ เป็นสินค้าทางเลือกตัวใหม่เสริมรายได้ในครัวเรือน วิธีนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแทนการปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวเหมือนในอดีต จุดเริ่มต้น คุณธีรวัฒน์ พันสุวรรณ์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา บ้านคำสมบูรณ์ ตำบลบึงโขงหลง ได้โอกาสไปศึกษาดูงานเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ โคร
วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2526 เดิมเป็นศูนย์สาธิตและขยายพันธุ์ไม้ผล โครงการพัฒนาโนนดินแดง ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ จากนั้นก็มีการปรับปรุง ตามยุค ตามสมัย เมื่อปี 2548 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีการเกษตรโนนดินแดง โดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และสำนักงานพัฒนาวิทยาลัยและเทคโนโลยีแห่งชาติ เน้นในเรื่องการเกษตร หนึ่งในนั้น มีโครงการ “โนนดินแดงโมเดล” เป็นโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพรุ่นใหม่ ที่หลายหน่วยงานเข้าช่วยเหลือและสนับสนุน ทั้ง ส.ป.ก. สกว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าไปอบรมให้ความรู้เกษตรกรในพื้นที่ วิทยาลัยเทคโนฯ ออกแบบการบริหารจัดการพื้นที่เป็นแบบอย่าง ในพื้นที่ขนาด 3 ไร่ สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร มีเป้าหมายให้เกษตรกรมีรายได้ไม่น้อยกว่า 7,000 บาท ต่อเดือน เช่น กิจกรรมที่ให้ผลผลิตตามฤดูกาล กิจกรรมที่ให้ผลผลิตเป็นรายเดือนและรายสัปดาห์ กิจกรรมที่ลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว กิจกรรมสนับสนุนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากฟาร์มต้นแบ