น้ำแล้ง
ผ่าแผนรับมือวิกฤตแล้งสาหัส : รายงานพิเศษเศรษฐกิจ – ช่วงฤดูแล้งจะกินเวลายาวนาน 6 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ย.-เม.ย. ซึ่งผ่านมาแล้ว 4 เดือนเศษ เริ่มเห็นสัญญาณความรุนแรงเกิดขึ้นในภาคอีสาน และภาคเหนือ เขื่อนหรืออ่างหลายแห่ง น้ำเริ่มแห้งขอดไม่มีน้ำใช้ อ่างกว่า 100 แห่งทั่วประเทศมีปริมาณน้ำเหลือใช้น้อยมากไม่ถึง 30% ของความจุ ในจำนวนนี้มีอ่างขนาดใหญ่ อ่างขนาดกลาง 12 แห่งที่ไม่เหลือน้ำใช้แล้วโดยเฉพาะในภาคอีสาน อ่างขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 35 อ่าง มีปริมาณน้ำ 46,606 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 66% ปริมาณน้ำใช้การ 23,063 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 49% ของความจุอ่างฯ ส่วนอ่างขนาดกลาง 419 แห่ง มีปริมาณน้ำ 2,856 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 51% ปริมาณน้ำใช้การหรือ 2,431 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 47% ของความจุอ่างฯ สำหรับอ่างขนาดกลาง 12 อ่าง ที่ไม่เหลือน้ำใช้แล้ว ในภาคอีสาน ได้แก่ 1.อ่างเก็บน้ำห้วยทรายสว่าง สกลนคร 2.ห้วยหินแตก สกลนคร 3.ห้วยนาบ่อ สกลนคร 4.น้ำซับคำโรงสี สกลนคร 5.หนองสำโรง อุดรธานี 6.ห้วยจานใต้ ร้อยเอ็ด 7.หนองผือ ร้อยเอ็ด 8.ห้วยสวาย บุรีรัมย์ 9.ห้วยจระเข้มาก บุรีรัมย์ 10.ห้วยใหญ่ บุรีรัมย์ 11.ห้วยตะคร้อ นครราชสีมา และเขื่อนในภาคต
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบบึงน้ำสาธารณะหลายแห่งในพื้นที่ ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท พบว่ามีสภาพที่กำลังแห้งขอดจากสภาวะภัยแล้งที่กำลังคุกคามอย่างหนัก อีกทั้งลำคลองส่งน้ำต่างๆ ก็แห้งขอดเหลือเพียงโคลนตมท้องคลองเช่นกัน ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ต้องยอมทิ้งร้างนาข้าวและพื้นที่เกษตรจำนวนหลายพันไร่ เพราะไม่มั่นใจว่าถ้าลงมือเพาะปลูกจะมีน้ำเพียงพอที่จะใช้หล่อเลี้ยงหรือไม่ โดยชาวนารายหนึ่งเปิดเผยว่า ในปีนี้สภาวะภัยแล้งถือว่ามาเร็วกว่าปี 2559 ซึ่งชาวนาที่ต้องการปลูกพืชทดแทนเพื่อสร้างรายได้ช่วงงดทำนาก็ไม่มั่นใจในสถานะจึงยอมงดทำการเพาะปลูกลงอย่าสิ้นเชิง นอกจากนี้ จากการสำรวจในพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่หมู่ 3 ต.อู่ตะเภา ก็พบว่าเกษตรกรพยายามที่จะสูบน้ำก้อนสุดท้ายที่เหลือติดบึงน้ำในพื้นที่ของตนเองขึ้นมาเพื่อใช้รดพืชผักที่ลงมือเพาะปลูกไว้ก่อนหน้านี้จนน้ำแห้งเหือดเหลือแต่ดินโคลน ซึ่งชาวนาบอกว่าถือว่าเป็นน้ำก้อนสุดท้ายที่ยังพอมีความหวังที่พืชผักที่ปลูกไว้จะต่อชีวิตไปได้อีกระยะหนึ่งเท่านั้น ขณะที่สถานการณ์น้ำในเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ระดับน้ำเหนือ