น้ำในเขื่อน
วันนี้ (17 ก.ค. 66) ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่างๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ต่อไป ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (17 ก.ค. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 38,151 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 38,186 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 9,962 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่
เนื่องจากในปัจจุบัน (มกราคม 2561) การจัดการน้ำทั้งโครงการที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และโครงการที่จะพัฒนาขึ้นมาใหม่ เมื่อพิจารณาถึงในแง่วิชาการที่นำมาประยุกต์ใช้ ส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการเก่าๆ เมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ จึงทำให้การแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำทั้งกรณีที่เกิดน้ำท่วม กรณีปกติ และกรณีที่เกิดภัยแล้งด้วยมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง ซึ่งจะขอยกตัวอย่างเฉพาะที่เห็นว่ามีความสำคัญมากที่สุดมาเพียงมาตรการเดียวก่อน คือ การปฏิรูปหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้เป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเฉพาะทางดังเช่นประเทศที่เจริญแล้วได้ยึดถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 50 ปี ทั้งนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ดังตัวอย่าง เช่น ในปี พ.ศ.2517-2518 รวมเวลา 1 ปี ผู้เขียนมีโอกาสไปปฏิบัติงานกับบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาขนาดใหญ่ในประเทศแคนาดา คือ บริษัท เอเคอร์ (Acres Consulting Services Limited) ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ใกล้กับน้ำตกไนแอการา (Niagra Falls, Ontario, Canada) ที่สำนักงานใหญ่
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงการใช้แผนบริหารจัดการน้ำจังหวัดนครราชสีมาปี 2559/2560 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2560 รวมระยะเวลา 5 เดือน โดยกล่าวว่า ล่าสุดสถานการณ์น้ำในเขื่อนลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเขื่อนหลักที่ผลิตน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชน 5 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อำเภอสีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เฉลิมพระเกียรติ และอำเภอเมืองนครราชสีมา ล่าสุดมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 119.106 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 37.87% ของความจุเขื่อน ทำให้กลุ่มผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำลำตะคองได้มีการประชุมและมีมติให้เขื่อนลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนไม่เกินวันละ432,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศในลำตะคอง พร้อมกับแจ้งให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ชลประทานท้ายเขื่อนซึ่งมีอยู่กว่า 150,000 ไร่ และหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน เพื่อรักษาปริมาณน้ำกักเก็บไว้ในการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก พร้อมทั้งประสานให้ประปาเทศบาลนครนครราชสีมาสูบน้ำดิบโดยตรง