บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนระดับโลก จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การยกระดับห่วงโซ่อุปทานด้านการเกษตรของไทยสู่ระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน” โดยมีผู้แทนเกษตรกร ผู้แทนภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐสถาบันการศึกษา ผู้ตรวจสอบอิสระ รวมถึงองค์กรอิสระทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมแบ่งปันมุมมองและข้อเสนอแนะ เพื่อทวนสอบยืนยันความถูกต้องของระเบียบการใช้มาตรฐานการจัดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ของ ISEAL Alliance หน่วยงานที่กำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศในการพัฒนามาตรฐานความยั่งยืนรับระเบียบการค้าโลก นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในฐานะผู้จัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรสำหรับการผลิตอาหารสัตว์ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทดำเนินการทวนสอบยืนยันความถูกต้องของมาตรฐานการจัดชื้อวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ที่จำเป็นต้องมีองค์กรกลาง (Third party) มาตรวจร
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บังกี้ จำกัด (BUNGE) คู่ค้ารายใหญ่ระดับโลก จัดส่ง “กากถั่วเหลืองปลอดรุกพื้นที่ป่า” จากบราซิลถึงไทย “ล็อตแรก” จำนวน 185,000 ตัน ผ่านการเชื่อมต่อระบบตรวจสอบย้อนกลับของทั้งสองบริษัท และเพิ่มความโปร่งใสด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ตอกย้ำความมุ่งมั่นของทั้งสองบริษัทในการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรอย่างรับผิดชอบ มาจากแหล่งที่ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า ร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ บริษัท บังกี้ จำกัด (NYSE: BG) (“บังกี้”) และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ บีเคพี ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักอาหารสัตว์ให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โชว์ความสำเร็จของความร่วมมือในการจัดหาถั่วเหลือง และวัตถุดิบจากถั่วเหลืองอย่างรับผิดชอบ ผ่านการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแปลงปลูกของเกษตรกรในบราซิล โดยดำเนินการทดสอบการเชื่อมต่อระหว่างการส่งมอบกากถั่วเหลืองจากบราซิลจำนวน 185,000 ตัน ซึ่งเดินทางถึงประเทศไทยในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน 2567 นี้ นับเป็นถั่วเหลือง “ตู้แรก” จากบราซิล ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแปลงปลูกของเกษตรกรเป็นพื้นที่ท
การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนระดับประเทศ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้ประกาศยกระดับการปฏิบัติการจัดการในช่วงสถานการณ์วิกฤตโดยบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวง องค์กรปกครองท้องถิ่นทำงานร่วมกันผ่าน 9 มาตรการ เพื่อจัดการปัญหาลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด สำหรับช่วงสถานการณ์วิกฤตในช่วงเมษายนปีนี้ องค์กรเอกชนในภาคเกษตร อย่างบริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)ผู้จัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารสัตว์ให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ร่วมสนับสนุนมาตรการของรัฐบาล โดยการประกาศนโยบายไม่รับซื้อและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่บุกรุกป่าและเผาแปลง นำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดมาใช้ในกระบวนการจัดหาข้าวโพดตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นมา ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพโปรดิ๊วส หยุดรับซื้อผลผลิตจากพื้นที่บนภูเขาลาดชัน รับซื้อผลผลิตที่มาจากแปลงปลูกมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ส่งผลให้ปัจจุบันข้าวโพดที่รับซื้อในประเทศไทยทั้งหมดสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงพื้นที่ปลูกได้ 10
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ เดินหน้าตามนโยบายเครือซีพี “นโยบายไม่รับซื้อและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่า และพื้นที่ที่มาจากการเผา” รณรงค์หยุดเผา เปิดแอปพลิเคชั่น “ฟ.ฟาร์ม” แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด หวังพิชิตฝุ่น PM 2.5 พร้อมตอกย้ำรับซื้อเฉพาะ “ข้าวโพดปลอดเผา” บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมมือโรงงานอาหารสัตว์บก เดินหน้าตามนโยบายเครือซีพี “ไม่รับซื้อและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่าและพื้นที่ที่มาจากการเผา” เปิดแอปพลิเคชั่น ฟ.ฟาร์ม แจ้งเบาะแสเผาแปลง โดยมี ผู้บริหารและพนักงานโรงงานอาหารสัตว์บก อาทิ โรงงานอาหารสัตว์บกลำพูน โรงงานอาหารสัตว์บกปักธงชัย โรงงานอาหารสัตว์บกโคกกรวด โรงงานอาหารสัตว์บกพิษณุโลก เป็นต้น ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ชวนคนไทยพบการเผาแปลง แจ้งผ่านแอปพลิเคชั่น ฟ.ฟาร์ม (For Farm Application) ป้องกันการเผาแปลงข้าวโพด ตอกย้ำความมุ่งมั่นว่าโรงงานอาหารสัตว์บกซีพีเอฟทุกแห่งรับซื้อข้าวโพดที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งปลูกที่ไม่รุกป่าและไม่เผาเท่านั
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จับมือ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการเกษตร จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในอำเภอโนนคูณ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร สนับสนุนเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP (Good Agriculture Practice) พร้อมสร้างความเข้าใจต่อขั้นตอนการขายข้าวโพดให้บริษัทตามนโยบาย ไม่รับซื้อและไม่นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่าและมาจากการเผาตอซัง ลดสาเหตุฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 และหมอกควัน มุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี 2593 สร้างความยั่งยืนให้กับสินค้าเกษตรและระบบการผลิตอาหารของโลก ในการอบรม กรุงเทพโปรดิ๊วส ยังนำแอปพลิเคชั่น “ฟ.ฟาร์ม” ที่บริษัทพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นผู้ช่วยเกษตรกร ให้เข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเพาะปลูก ข้อมูลล่วงหน้าเกี่ยวกับปริมาณฝน อุณหภูมิ ลม ข้อมูลราคาและการขายผลผลิต ตลอดจนคำแนะนำการจัดการตอซัง สนับสนุนเกษตรกรเพิ่มคุณภาพผลผลิตที่สามารถส่งตรงเข้าถึงโรงงาน
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ ซีพีเอฟ ได้พัฒนาและใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาตั้งแต่ปี 2559 นับเป็นบริษัทแรกของไทยที่นำระบบนี้มาใช้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการจัดหาวัตถุดิบหลักทางเกษตรสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกที่ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าและการเผา ตามนโยบายของเครือซีพี “ไม่รับและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่า และพื้นที่ที่มาจากการเผา” เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมแก้ปัญหาหมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด (Corn Traceability) ช่วยให้บริษัททราบถึงข้อมูลสำคัญของเกษตรกรและที่มาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงพื้นที่ปลูกที่ไม่ได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงวิธีการปลูก ตลอดจนสามารถติดตามการเผาแปลง ซึ่งปัจจุบัน มีเกษตรกรปลูกข้าวโพดกว่า 40,000 ราย และพ่อค้าพืชไร่ อีกกว่า 600 ราย เป็นผู้รวบรวมข้อมูลเกษตรกร ลงทะเบียนซื้อขายผลผลิตผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับ ครอบคลุมพื้นที่ปลูก กว่า 2 ล้านไร่ ปัจจุบัน การจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำหรับกิจการในประเทศไทยของ
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ให้คู่ค้าของบริษัททั่วประเทศทุกรายใช้ข้อมูลจุดความร้อนจากภาพถ่ายดาวเทียม ตรวจจับการเผาแปลงข้าวโพดของเกษตรกรแบบระบุเป็นรายแปลง และกำกับดูแลห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงานของโครงการ “Partner To Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” ที่ทางบริษัทเปิดตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2566 ที่ผ่านมาเพื่อลดการเผาในพื้นที่เกษตร หนึ่งในต้นเหตุปัญหาฝุ่นและหมอกควัน นายวรพจน์ สุรัตวิศิษฎ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ บีเคพี กล่าวว่า ขณะนี้ทางบริษัทเดินหน้าทำงานร่วมกับคู่ค้าทุกรายทั่วประเทศใช้ระบบตรวจจับแปลงเผา ติดตามจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในแปลงข้าวโพดของเกษตรกรที่จำหน่ายผลผลิตให้บริษัทผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับ กรณีพบจุดความร้อนในแปลงเกษตรกร คู่ค้าพันธมิตรจะต้องลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรภายใน 7 วัน หลังจากได้รับการรายงาน เพื่อชี้แจงมาตรการการรับซื้อตามนโยบาย “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” นอกจากนี้ บีเคพี
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ บีเคพี ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนุนทุกคนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และหมอกควัน โดยเปิดช่องทางการร้องเรียนพบการเผาแปลงข้าวโพด ผ่านแอปพลิเคชั่น “ฟ.ฟาร์ม” และเว็บไซต์ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด ชวนเกษตรกรและประชาชนทั่วไปร่วมมือป้องกันเผาแปลงเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สู้ปัญหาฝุ่นควัน สร้างอากาศสะอาดให้คนไทย พร้อมออกมาตรการหากพบเกษตรกรในเครือข่ายเผาซ้ำจะหยุดซื้อ 1 ปี นายวรพจน์ สุรัตวิศิษฎ์ รองกรรมการผู้จัดการ บีเคพี กล่าวว่า บริษัทฯ เดินหน้าเชิงรุกแก้ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยเชิญชวนเกษตรกรและประชาชนสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกำกับดูแลและป้องกันการเผาแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผู้ที่พบเห็นการเผาแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สามารถแจ้งข้อมูล ถ่ายรูปและระบุตำแหน่งแปลงที่พบ มาที่แอปพลิเคชั่น “ฟ.ฟาร์ม” ดาวน์โหลดแอปฯ http://bit.ly/3DWDwKi หรือทางเว็บไซต์ระบบตรวจสอบย้อนกลับของกลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ( https://traceability.fit-cpgroup.com/complaint) หรือผ่านช่