บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)
บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น (Change Fusion) ภายใต้มูลนิธิบูรณชนบทแห่งประเทศไทย ประกาศผลคัดเลือก 3 ผู้ชนะรางวัล “สุดยอดนวัตกรรมช่างชุมชนปี2” ประกอบด้วย กับดักแมลงโซลาร์เซลล์ จ.นครปฐม, ซาเล้งโซลาร์เซลล์ จ.ราชบุรี และเครื่องผลิตเทียนอัตโนมัติระดับชุมชน จ.เลย โดยมอบเงินรางวัลสนับสนุนให้กับช่างชุมชนทั้ง 3 ผลงาน มูลค่ารวม 300,000 บาท พร้อมเดินหน้าสานต่อ “โครงการส่งเสริมนวัตกรรมช่างชุมปี3” เพื่อพัฒนานวัตกรรมและยกระดับทักษะช่างชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับชุมชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ดร.สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัท ช.การช่าง มีความภูมิใจที่ได้เห็น “โครงการส่งเสริมนวัตกรรมช่างชุมชน” ได้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทางสังคมผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรรมช่างชุมชนต่อเนื่องมาเป็นปีที่2 โดยต้องขอขอบคุณ “ช่างชุมชน” ทั่วประเทศที่ได้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการในปีนี้ และขอแสดงความยินดีกับช่างชุมชนเจ้าของนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ทั้ง 3 ผลงานท
เมืองไทย กำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงวัย” ดังนั้น นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยทำงานได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น หุ่นยนต์รดน้ำอัตโนมัติ “Rim” นวัตกรรมโรบอท ผลงานของ คุณปุ้ย หรือ คุณสายธาร ม่วงโพธิ์เงิน เกษตรกรรุ่นใหม่ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม หุ่นยนต์รดน้ำอัตโนมัติ “Rim” ติด 1 ใน 4 สุดยอดสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2563 ซึ่งเป็นโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมช่างชุมชน จัดขึ้นโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ภายใต้มูลนิธิบูรณชนบทแห่งประเทศไทย หุ่นยนต์รดน้ำอัตโนมัติ “Rim” เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีทักษะในด้านนวัตกรรมและกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่มีศักยภาพ สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมเพื่อชุมชนและสังคม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แรงบันดาลใจ คุณปุ้ย เรียนจบปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์สายการวิจัยและพัฒนา (R&D) และรับงานเขียนโปรแกรมเป็นฟรีแลนซ์มาหลายปีแล้ว เมื่อ 3 ปีก่อน คุณปุ้ยเริ่มกลับมาช่วยแม่ดูแลสวนกล้วยน้ำว
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตมนุษย์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเงิน การตลาด การใช้ชีวิต และอาชีพการงาน เพื่อให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ พวกเราทุกคนต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์วิถีใหม่ (New Normal) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA หน่วยงานหลักด้านการส่งเสริมระบบนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยยกระดับการพัฒนาสินค้าเกษตรให้ก้าวเข้าสู่ระบบสมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ ช่วยให้การบริหารจัดการฟาร์มกลายเป็นเรื่องง่าย ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิต รวมทั้งแก้ปัญหาการตลาดไปพร้อมกัน ตอบโจทย์ การเกษตรยุคใหม่ (Smart Farmer) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้น้ำใต้ดินผ่านเซรามิกรูพรุนสำหรับทุเรียนนอกฤดู การควบคุมระบบการให้น้ำ เป็นหนึ่งในเทคนิคสำคัญของการจัดการทุเรียนนอกฤดู ที่ผ่านมา เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมให้น้ำต้นทุเรียนบนดินผ่านระบบสปริงเกลอร์ ระบบพ่นฝอย ระบบน้ำหยด ซึ่งมักเกิดปัญหาการสูญเสียน้ำบนผิวดินในปริมาณมาก ทำให้ดินมีความหนาแน่นสูง แถมเกิดปัญหาท่อแตก ท่ออุดตัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการน้ำค่อนข้างสูง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูป