บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดกิจกรรมแรลลี่การกุศล “ESG ECONMASS RALLY” ปี 66 เส้นทางกรุงเทพฯ–หัวหิน มอบรายได้ส่วนหนึ่งให้กับโรงเรียนการศึกษาเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน ชะอำ ได้รับเกียรติจาก คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงาน โดยมี คุณกฤษณะพงศ์ พงศ์แสนยากร นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ และตัวแทนจากองค์กรผู้สนับสนุน สมาชิกสมาคมฯ ร่วมเปิดการแข่งขันแรลลี่ ณ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นพระประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่สำหรับโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และอาคารปฏิบัติการ ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ระยอง – วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.05 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่สำหรับโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และอาคารปฏิบัติการ ระหว่าง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิทยสิริเมธี โดย ศาสตราจารย์ ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล อธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดย รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ณ อาคารวิทยสิริเมธี สถาบันวิทยสิริเมธี ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ทั้งสามหน่วยงานได้ตกลงร่วมกันใ
ในปี 2562 ผักตบชวาเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงและเป็นวัสดุเหลือทิ้งเยอะมาก ทีมวิจัยได้ของบประมาณจาก วช.สำหรับการดำเนินการในปีแรก ผลิตเป็นเส้นด้ายและผ้าจากผักตบชวาขึ้นมาก่อน พอปี 2563 ได้งบจาก ปตท. สนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชนให้ชุมชนได้ใช้ ตอนนั้นมีผ้าแล้ว ก็นำผ้านี้ไปถ่ายทอดให้เขาเพื่อเป็นอีกทางเลือกที่นอกจากผ้าไทยที่เขาจะหาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ให้เขาสามารถใช้ผ้าผักตบไปผลิตเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนของเขาได้ ดร.ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พูดถึงจุดเริ่มต้นของการพัฒนา “นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา” โดยทีมวิจัยได้มีการต่อยอดองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชน เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันมีชุมชนต่างๆ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อไปประยุกต์ใช้แล้ว อาทิ ชุมชนผลิตเสื้อผ้า ชุมชนผลิตพวกเก้าอี้ (เคหะสิ่งทอ) ผลิตพรมจากผักตบชวา โดยการผลิตพรมจะมีทีมนักวิจัยจากคณะวิศวะ คอยช่วยดูแลเรื่องของเทคนิคการผลิตที่ไม่เกิดปัญหาเชื้อรา ส่วนผ้าทอที่ใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้าทั่วไปการผลิตจะทำในเชิงอุตสาหกรรม โดยมีบริษัท ก้องเกียรติเท็กซ์ไทล์ จำกัด เข้ามาช่วยในเรื่องของการ
ซุกิ กับคนไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะ ซุกิ คือ ปลาช่อนทะเล ที่นำมาอัพเวอร์ชั่นใหม่ให้เป็นปลาช่อนทะเลคุณภาพสูงที่มีความอร่อยขึ้น เป็นปลาช่อนทะเลที่แข็งแรง ทนต่อโรค เลี้ยงง่าย โตไว ได้รับอาหารดี คนกินก็ได้กินเนื้อปลาที่อร่อยมากขึ้นกว่าปลาช่อนทะเลทั่วไป โดยคงคุณสมบัติที่ดีเลิศไว้ เป็นปลาที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุด ด้วยคุณสมบัติโปรตีนสูง มีโอเมก้า 3 และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว DHA สูง และมีไขมันดีแทรกตัวอยู่ เมื่อกัดเข้าไปแล้วจะมีความชุ่มฉ่ำ Juicy เพิ่มอรรถรสในการกินเมนูนั้นมากขึ้น อีกทั้งเนื้อปลายังมีความขาว แน่น ทรงตัวและคงรูป จึงเป็นที่สนใจของเชฟ ร้านอาหาร คนที่รักในการทำอาหารและรักสุขภาพอย่างมาก ความต้องการที่จะผลักดันให้ปลาช่อนทะเล ของดีจากทะเลไทยเป็นหนึ่งในใจผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ทำให้โครงการ Booster โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยเพาะเลี้ยงกระชังน้ำลึกจากรัฐบาลนอร์เวย์ หลังจากเหตุการณ์สึนามิ เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ของชาวภูเก็ต มาจับมือร่วมกัน
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนทุนนิสิตปริญญาเอก ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) และโครงการ Frontier Talents Program (FTP) ณ ห้องพลังไทย ชั้น M อาคาร 2 สำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เป็นสถาบันการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ริเริ่มก่อตั้งโดยกลุ่ม ปตท. ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากพันธมิตรร่วมอุดมการณ์ด้วยเห็นถึงความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำองค์ความรู้ขั้นสูงต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมชั้นแนวหน้า ทั้งผลิตบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพทัดเทียมระดับนานาชาติ เพื่อเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนประเทศชาติต่อไป พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ได้รับเกียรติจาก ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธีเป็นสักขีพยานผู้ทรงเกียรติ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามฝ่ายสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล อธิการบดีส
กยท. เปิดตัวนวัตกรรมหมวกยางพารากันฝน นำร่อง ติดต้นยางทั่วพื้นที่กว่า 30 ไร่ ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต อ.วังจันทร์ จ.ระยอง หวังต่อยอดทุกพื้นที่ในประเทศ มุ่งเพิ่มผลผลิตและรายได้ชาวสวนยาง ควบคู่การใช้ยางในประเทศ โดยมี นายประพันธ์ บุณยเกียรติ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน พร้อมผู้บริหารจากสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมในพิธีส่งมอบผลิตภัณฑ์หมวกยางพาราฯ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดกิจกรรมเปิดจุดสาธิตการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งกิจกรรมนี้ กยท. ได้รับความร่วมมือและบูรณาการร่วมกันกับ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย กยท. มอบผลิตภัณฑ์หมวกยางพาราหรือร่มกันฝนจากยางพารา จำนวน 2,000 ชุด ติดตั้งในสวนยางพาราสาธิต ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่สวนยางพารา จำนวน 30 ไร่ เพื่อเป็นจุดต้นแบบเรียนรู้ของเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเก
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า วันเดียวกันนี้กรมชลประทาน ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรธรณี มณฑลทหารบกที่ 37 หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและจิตอาสา และได้รับการสนับสนุนท่อบายพาสน้ำจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในการทำทางเบี่ยงน้ำ (Bypass) จากฝายแห่งที่ 1 กั้นลำห้วยน้ำดั้น ฝายแห่งที่ 2 กั้นลำห้วยผาหมี บริเวณบ้านผาหมี ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย และฝายแห่งที่ 3 กั้นลำห้วยผาฮี้ บริเวณบ้านมูเซอผาฮี้ ต.โป่งงาม อ.แม่สาย สามารถตัดยอดน้ำรวมกันได้ประมาณ 32,000 ลบ.ม./วัน ซึ่งจนถึงขณะนี้ระดับน้ำในถ้ำหลวงได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าหน้าที่ยังคงดำเนินการสูบน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากถ้ำให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ สำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา กรมชลประทาน ยังคงดำเนินการสำรวจสภาพทางธรณีของลำห้วยซึ่งอยู่ในบริเวณถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชต่อไป เพื่อค้นหาร่องรอยและบริเวณที่คาดว่าน้ำไหลซึมเข้าไปภายในถ้ำ
การยางแห่งประเทศไทย จับมือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไทร์พลัส ประเทศไทย และบริษัท ดีสโตน จำกัด จัดโครงการ “ใกล้ไกลปลอดภัย อุ่นใจทุกการเดินทาง” เปิดจุดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ฟรี แก่เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. และเจ้าหน้าที่ของ กยท. ณ จุดบริการที่กำหนดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวว่า กยท. ได้จัดทำโครงการ ใกล้ไกลปลอดภัย อุ่นใจทุกการเดินทาง ขึ้นเพื่อบริการพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง และพนักงานการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้รถยนต์สำหรับการเดินทางและขนส่งยางพารา ในการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ฟรี 24 รายการ เป็นการลดค่าใช้จ่ายให้กับพี่น้องเกษตรกรอีกทางหนึ่ง โดย กยท. ได้ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทร์พลัส ประเทศไทย และบริษัท ดีสโตน จำกัด เปิดจุดให้บริการตามสถานที่ที่กำหนด ได้แก่ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. FIT AUTO 33 สาขาทั่วประเทศ จุดบริการไทร์พลัส ประเทศไทย 126 สาขา และตัวแทนจำหน่ายยางรถยนต์ดีสโตน (บริษัท เดอะเอส-วัน คอร์ปอเรชั่น จำกัด สาขาราชพฤกษ์) โดยไทร์พลัส และดีสโตน จะเปิดให้บริการตั้งแต่วันนี