บัตรทอง
ในห้วงเวลา 2 ทศวรรษ ประเทศไทยมีการ “ปฏิรูประบบสุขภาพ” ครั้งใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง โดยครั้งแรก คือการเกิดขึ้นของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ในปี 2545 ที่ช่วยให้คนไทยกว่า 47 ล้านคน มีกำแพงพิงหลัง ไม่ต้องล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาล และครั้งล่าสุด คือการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แบบ “บิ๊กล็อต” ในปี 2565 ซึ่งช่วยให้การจัดบริการ “สุขภาพปฐมภูมิ” ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ การพลิกโฉม “ระบบบริการปฐมภูมิ” ในครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องใหญ่ และหากนับตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 2 ปี มี รพ.สต. และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ หรือ สอน. ได้ถ่ายโอนไปยัง อปท. แล้วไม่ต่ำกว่า 4,276 แห่ง หรือคิดเป็น 43.31% ของ รพ.สต. ทั่งประเทศที่มีอยู่ 9,872 แห่ง โดยส่วนใหญ่ถ่ายโอนฯ ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ระยะเวลา 2 ปีกับ “บทบาทใหม่” ที่ อบจ. ที่ได้รับ ถือว่าสั้นมาก เมื่อเทียบกับการอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขมากว่าครึ่งศตวรรษ ฉะนั้นในช่วงรอยต่อนี้ จึงเต็มไปด้วยรายละเอียดระหว่างทางและกา
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ สิทธิบัตรทอง ที่มีการใช้มากว่า 15 ปี ส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากประชาชนในภาคการเกษตรได้รับการดูแลด้านสุขภาพมากขึ้น รายละเอียดเป็นอย่างไร ติดตามได้จากรายงานพิเศษชุดนี้ ที่มา : มติชนออนไลน์
“ปิยะสกล” ลั่นแก้ “กม.บัตรทอง” เพื่อประชาชน ย้ำชัดไร้แก้ประเด็นร่วมจ่าย อย่ากลัวไปก่อน วอนศึกษาดีๆ จากกรณีการเปิดเวทีประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. …ซึ่งเป็นการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยภาคประชาชนมองว่ากระบวนการยกร่างขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และเกิดกระแสคัดค้านและวอล์กเอาต์จากเวทีประชาพิจารณ์ใน 2 ภาค คือ ภาคเหนือและภาคใต้ เหลืออีก 2 เวที คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 17 มิถุนายน และภาคกลาง กทม. วันที่ 18 มิถุนายนนี้ ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวระหว่างการแถลงเรื่อง “ความจริงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ว่า อยากให้คนที่ยกประเด็นคัดค้านต่างๆ ได้ศึกษาร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพที่มีการปรับปรุงแก้ไขจริงๆ บางคนยกประเด็นออกมามองถึงว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ในร่าง พ.ร.บ. เองไม่ได้เขียนสิ่งนั้นไว้เลย เป็นการกลัวไปก่อนทั้งสิ้น หากเป็นแบบนี้คิดว่ามันคงจะลำบากในการจับประเด็นที่เกิดขึ้น นพ. ปิยะสกล กล่