บึงโขงหลง
จังหวัดบึงกาฬ มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่งดงามมากมาย โดยเฉพาะพื้นที่บึงโขงหลง เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศสนใจมาเยี่ยมชม บึงโขงหลง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง มีขนาดพื้นที่ 11,494.79 ไร่ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญของจังหวัดบึงกาฬ เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ การผลิตประปา และการเพาะปลูก บึงโขงหลง บึงโขงหลงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (Ramsar Site) ลำดับที่ 1,098 ของโลก และเป็นแห่งที่ 2 ของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ลำดับที่ 11 ของประเทศ บึงโขงหลงมีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชพันธุ์ สัตว์ป่า และเป็นจุดดูนกอพยพมาหนีความหนาวเย็นจากไซบีเรียและจีน นอกจากนี้ บึงโขงหลงมีความอุดมสมบูรณ์ด้านระบบนิเวศทางธรรมชาติ จากการศึกษาพบพืชน้ำอย่างน้อย 75 ชนิด ชนิดพันธุ์พืชบก 256 ชนิด พันธุ์ปลา 64 ชนิด นก 27 ชนิด จนได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง นอกจากนี้ ยังมีตำนาน ความเชื่อเกี่ยวพญานาค โดยเฉพาะเรื่องราวของ “ปู่อือลือ” พญานาคต้องคำสาปที่เฝ้าบึงโขงหลง เมื่อมาเยือนบึงโขงหลง นักท่องเที่ยวจำนวนมากสนใจ แ
บึงโขงหลง เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ของจังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ครอบคลุมเขตอำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง ปัจจุบัน ได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก เนื้อที่กว่า 11,800 ไร่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกประจำถิ่น และนกอพยพ ถึง 134 ชนิด เนื่องจาก บึงโขงหลง อยู่ในโครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเข้ามาทำแนวกั้นเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาช่วงวางไข่ โดยวางทุ่นกั้นอาณาเขต เป็นช่วงตลอดแนวบึง เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลงให้มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน “ทุ่งบัวแดง” เป็นจุดขายสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาชื่นชมความงดงามของทุ่งบัวแดง ที่มีเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ ในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว หากมาเที่ยวในช่วงฤดูร้อน จะได้ชื่นชม “ทุ่งบัวหลวง” สีขาวสวยสะพรั่งทั่วทั้งบึง เนื้อที่ราว 800 ไร่ นอกจากนี้ บึงโขงหลง ยังมีความสวยงามตามธรรมชาติที่แปลกตาไม่เหมือนใครอีกมากมาย ที่รอให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชื่นชม เช่น “ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ เขนงนายพราน” ที่บึงโขงหลง เป็นแห่งเดียวในไทยที่ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงสามารถอาศัยอยู่ในน้ำ สามารถลอยน้ำได้ เพราะ
ทุกวันนี้ ราคายางพาราอยู่ในช่วงตลาดขาลง ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้ลดน้อยลงตามไปด้วย แต่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่บ้านคำสมบูรณ์ อำเภอบึงโขงหลง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น พวกเขาหันมาปลูก “เสาวรส” เป็นไม้ผลริมรั้ว เพื่อขายผลสดและแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มในรูปน้ำเสาวรส ปรากฏว่าขายดิบขายดี จนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด พวกเขาเตรียมขยายพื้นที่ปลูกเสาวรสมากขึ้น พร้อมรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อขยายกำลังผลิตน้ำเสาวรสให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดในอนาคต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนเกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านคำสมบูรณ์ สอดคล้องกับนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ “คุณนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร” ที่อยากเห็นพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราตัดโค่นต้นยางเก่าที่หมดอายุ หรือแบ่งที่ดินว่างเปล่านำมาปลูกผลไม้ เป็นสินค้าทางเลือกตัวใหม่เสริมรายได้ในครัวเรือน วิธีนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแทนการปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวเหมือนในอดีต จุดเริ่มต้น คุณธีรวัฒน์ พันสุวรรณ์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา บ้านคำสมบูรณ์ ตำบลบึงโขงหลง ได้โอกาสไปศึกษาดูงานเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ โคร