บ่อดิน
อาชีพเพาะเลี้ยงปลา เป็นหนึ่งในอาชีพยอดนิยมที่เกษตรหันมายึดทำเป็นอาชีพ โดยมีระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกษตรกรแต่ละคนจะเป็นผู้กำหนดเองโดยจะดูตามลักษณะของสถานที่และทุนที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง การเพาะเลี้ยงปลา จริงแล้วทำได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจากตำราที่ได้เขียนไว้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเลี้ยงที่เผยแพร่นั้น จะเห็นว่ามีแนวทางการเพาะที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความรู้ความถนัดของผู้เลี้ยงแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ารูปแบบการเลี้ยงใดก็ตาม สุดท้ายเกษตรกรส่วนใหญ่จะคำนึงถึงต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนที่ได้ ความคุ้มค่า และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ป้าละมาย วงษ์เสถียร เจ้าของกระชังปลาในบ่อดิน แห่งตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีรูปแบบการเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากใช้ต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างน้อย อีกทั้งด้วยเหตุผล 2 ประการหลักๆ คือ การใช้ขนมคบเขี้ยวประเภท มาม่า ขนมปัง เป็นอาหารเลี้ยงปลา และในระหว่างเลี้ยงหรือจับปลาขายไม่เคยดูดน้ำทิ้ง หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง ทำให้สามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปีโดยที่ไม่มีโรคเข้ามารบกวน ป้าละมาย เริ่มเลี้ยงหันม
ที่บ้านน้อยจอมศรี อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำการเกษตร ทำนา ทำไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจาก “เขื่อนน้ำอูน” สำหรับทำการเกษตร ฉะนั้น ผู้ที่เดินทางไปจังหวัดสกลนคร จะพบพื้นที่เขียวชอุ่มไปด้วยข้าวนาปรัง พืชฤดูแล้ง ตลอดจนบ่อเลี้ยงปลาและเลี้ยงกบ ห่างตัวเมืองสกลนคร ประมาณ 12 กิโลเมตร มีหมู่บ้านเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของเมืองสกลนคร คือ บ้านน้อยจอมศรี ต.ฮางโฮง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่มีกลุ่มอาชีพหลากหลาย อาทิ กลุ่มทำหมอนขิด กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเลี้ยงปลา และกลุ่มเลี้ยงกบ โดยเฉพาะกลุ่มเลี้ยงกบ ที่มีมากที่สุดของจังหวัดสกลนคร กว่า 10 ราย คุณรัตนา ศรีบุรมย์ และ คุณกมลชัย ศรีบุรมย์ อยู่บ้านเลขที่ 218 ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สองสามีภรรยา เป็นหนึ่งในกลุ่มเลี้ยงกบ ที่มีกบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ว่า 3,000 ตัว โดยคุณรัตนา เล่าว่า ก่อนเลี้ยงกบเป็นอาชีพ ได้ทำนาและทำไร่มาก่อน รวมทั้งเป็นลูกจ้างกรรมกรในตัวเมือง “นอกจากทำนาปลูกข้าวแล้ว ชาวบ้านแห่งนี้ยังมีอาชีพเสริมคือ ทำการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้ง เลี้ยงสัตว์ และบางส่วนเลี้ยงกบ ขายพันธุ์กบเป็นส่วนน้อย เน้นขายตัวอ่อนของกบหรือฮวก (ลูกอ๊อด)
การเลี้ยงปลากระชังในบ่อดิน เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่เกษตรกรให้ความสนใจเลี้ยง เพราะเป็นวิธีที่ใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงน้อยสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ค่าใช้จ่ายในการการเลี้ยงก็ไม่มาก สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมที่มีผลตอบแทนคุ้มค่าได้เป็นอย่างดี คุณรำพึง เถือนถ้ำแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 5 ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่มีความสนใจในอาชีพประมง และหันมายึดเป็นอาชีพตั้งแต่อายุ 20 ปี คุณรำพึง เริ่มทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งในบ่อดินก่อน เลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งก็ต้องพบกับปัญหาของตลาดและราคาที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องลดปริมาณการผลิตลงในบางส่วน ทำให้บ่อกุ้งที่เคยใช้เลี้ยงว่างไม่ได้ใช้ประโยชน์ คุณรำพึงจึงใช้ประโยชน์จากบ่อกุ้ง โดยการปรับปรุงใช้ทำเป็นบ่อเลี้ยงปลานิลไปพร้อมกับเพาะเลี้ยงกุ้ง “เราเลี้ยงแบบกึ่งอาศัยธรรมชาติ ปล่อยในบ่อดิน ให้อาหารเม็ด เช้า – เย็น ให้ปลาได้กินพืช กินแร่ธาตุในดินไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ผลตอบแทนในช่วงแรกๆ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับกุ้งและการทำนา แต่พอช่วงหลังเริ่มสังเกตุได้ว่าปลาที่เลี้ยงนั้นเริ่มโตช้าและใช้เวลาเ
จากสภาวะเศรษฐกิจไม่กี่ปีมานี้ ส่งผลให้สินค้าเกษตรหลายชนิดราคาตกต่ำ จึงทำให้เกษตรกรมีการปรับตัวมากขึ้น โดยทำเกษตรแบบผสมผสานที่ไม่เน้นทำเป็นเกษตรเชิงเดี่ยวมากเกินไป เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ผันผวนแล้ว ยังสามารถมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดทดแทน จึงช่วยเสริมรายได้สลับไปมาในแต่ละช่วงการผลิต จึงเกิดรายได้หลากหลายส่งผลให้ไม่มีหนี้สิน คุณขาว เสมอหัต อยู่บ้านเลขที่ 58/3 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีอาชีพหลักทำนาด้วยราคาข้าวที่ผลิตได้ไม่แน่นอน จึงได้หาอาชีพเสริมเข้ามาช่วย คือการเลี้ยงปลาดุก โดยใช้บ่อน้ำที่มีอยู่เดิมจากการขุดไว้ใช้ภายในสวน มาเลี้ยงปลาให้เกิดประโยชน์มากขึ้น พร้อมทั้งใช้เหยื่อสดต้นทุนต่ำมาเป็นอาหารให้ปลากิน ทำให้ปลาเติบโตดีตลาดต้องการ จำหน่ายได้ราคา อาชีพหลักทำนา เลี้ยงปลาดุกเสริมรายได้ คุณขาว เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ประกอบสัมมาอาชีพมาถึงปัจจุบัน รายได้หลักของครอบครัวคือเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว โดยยึดการทำนามานานหลายสิบปี แต่ด้วยบางปีราคาข้าวที่ได้ไม่แน่นอน จึงเกิดความคิดที่อยากจะเสริมรายได้ เห็นบ่อน้ำที่อยู่บริเวณบ้านว่าง
ในพื้นที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แม้จะเป็นแหล่งแดนดินถิ่นอีสาน ที่เคยได้ชื่อว่าแห้งแล้งเหลือเกินนั้น ยังมีเรื่องของการเลี้ยงปลา ซึ่งต้องอาศัยแหล่งน้ำ และยึดการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพทำกิน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวมหาศาล คุณวิลัย แพงคำแสน วัย 56 ปี เจ้าของ “สมโชคพันธุ์ปลา” ตั้งอยู่เลขที่ 65 หมู่ที่ 5 บ้านนิคม ถนนแจ้งสนิท ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้มีงานประจำทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถยนต์ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดร้อยเอ็ด คุณวิลัย เล่าย้อนให้ฟังว่า งานในหน้าที่คือพนักงานขับรถยนต์ ช่วงว่างช่วยงานด้านการผสมเทียมปลา เลี้ยงปลา จนเกิดความชำนาญระดับผู้เชี่ยวชาญด้านการผสมเทียมปลาน้ำจืดทุกชนิด เช่น ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ตัวละ 1 บาท ปลานิลจิตรลดา ถุงละ 100 บาท ปลาทับทิมใหญ่ ตัวละ 2 บาท ปลาหมอเทศ 80 ตัว 100 บาท ปลาตะเพียน ถุงละ 100 บาท ปลาแรด ตัวละ 5 บาท ปลากดเหลือง ตัวละ 1 บาท ปลากระโห้ ตัวละ 1 บาท ปลาสวายบิ๊กโพ ตัวละ 2 บาท ปลาจาระเม็ด ตัวละ 2 บาท ปลาไน ถุงละ 100 บาท ปลาบึก ตัวละ 200 บาท ปลานิลหมัน ตัวละ 2 บาท และปลาสลิด 80 ตัว 100 บาท “ผมสามารถเพาะพันธุ์โดยวิธีการ
คุณสุริยันต์ วรรณวงษ์ ประมงจังหวัดบุรีรัมย์ ให้ข้อมูลว่า ผลผลิตทางประมงภายในจังหวัดบุรีรัมย์มี 2 ช่องทาง ในการทำรายได้ คือช่องทางแรก ปลาที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามห้วย หนอง คลอง บึงต่างๆ ซึ่งมีสัตว์น้ำอยู่ภายในแหล่งน้ำเหล่านี้ ทำให้ชาวบ้านสามารถจับขึ้นมาบริโภคและจำหน่ายสร้างเป็นรายได้ และช่องทางที่สอง สัตว์น้ำอันเกิดมาจากการเลี้ยงเป็นเชิงการค้า เพราะบางช่วงฤดูกาลสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงทำให้มีการเลี้ยงมากขึ้นเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรสัตว์น้ำ “การทำประมงของเกษตรกร แต่ละพื้นที่ก็จะมีการเลี้ยงชนิดปลาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและปริมาณน้ำ ถ้าพื้นที่ไหนมีน้ำมากหน่อย ก็จะมีการส่งเสริมการเลี้ยงปลาที่แตกต่างกันไป เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ส่วนพื้นที่น้ำไม่เพียงพอก็จะส่งเสริมให้เลี้ยงสัตว์น้ำแบบใช้น้ำน้อย เช่น การเลี้ยงกบ ปลาดุก ในกระชังบก โดยการทำประมงแต่ละอย่างจะเน้นดูพื้นที่เป็นหลัก จากนั้นก็ส่งเสริมการทำตลาดแบบนำมาแปรรูปขายเอง เพื่อให้เกิดรายได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น” คุณสุริยันต์ กล่าว คุณประยูร เรียบร้อย อยู่บ้านเลขที่ 27/2 หมู่ที่ 2 ตำบลโคกม้า อำเภอป
ปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสัตว์น้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาตินับวันยิ่งลดน้อยลง ทำให้การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อให้ปริมาณของแหล่งโปรตีนมีเพียงพอต่อความต้องการของจำนวนประชากรที่สูงขึ้น ซึ่งนับว่าประเทศไทยโชคดีที่มีเกษตรกรเก่งในเรื่องการเกษตร สามารถผลิตทั้งพืชผัก ผลไม้ หรือแม้แต่ด้านปศุสัตว์ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ณ เวลานี้ กระแสการรักสุขภาพยิ่งมาแรงอย่างฉุดไม่อยู่ ผู้บริโภคเริ่มใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงนิยมบริโภคปลาและผักมากขึ้น จนทำให้เห็นว่าตามร้านอาหารหลายๆ แห่ง มีเมนูปลามากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ปลากะพง นับว่าเป็นปลาที่จะต้องมีอยู่ในเมนูอาหารแน่ๆ เพราะเนื้อปลามีความอร่อย รสชาติดี ราคาก็สมเหตุสมผล เมื่อสั่งมากินราคาก็ไม่แพงมากนัก ซึ่งผู้เขียนเองก็ชื่นชอบเมนูปลากะพงเช่นเดียวกัน จึงสงสัยใคร่รู้ว่าปลากะพงที่ผู้เขียนชื่นชอบนี้ มีวิธีการเลี้ยงและจัดการแบบใดบ้าง ทำไมปลาชนิดนี้ยิ่งมีขนาดใหญ่ราคายิ่งแพง มีการเลี้ยงพิเศษอะไรไหม ซึ่งในปักษ์นี้ ผู้เขียนจะนำเสนอการเพาะเลี้ยงลูกปลากะพง ที่ได้รับการฝึกให้กินอาหารเม็ด เพื่อให้เกษตรกรที่ซื้อไปเลี้ยง