ปทุมมาพันธุ์เชียงราย 1
หลายคนสนใจปลูกปทุมา เพราะเห็นว่าเป็นไม้ตัดดอกที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง นอกจากดอกมีรูปทรงสวยงามแล้ว ยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย ซึ่งมีความหลากหลาย หากใครสนใจปลูกปทุมมา มีคำแนะนำเรื่องการปลูกดูแลปทุมมา ดังต่อไปนี้ ปทุมา หรือ ทิวลิปแห่งสยาม มีลักษณะดอกและก้านดอกมีรูปทรงคล้ายกับดอกทิวลิปของฝรั่ง หากพูดถึงพันธุ์ของปทุมานั้นมีอยู่หลายพันธุ์และสีสันแตกต่างกันไป ปทุมาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทตัดดอก และประเภทไม้กระถาง ก่อนอื่น ขออธิบายเรื่องดอกของปทุมาให้เข้าใจก่อน ส่วนที่เห็นเป็นกลีบดอกสีสวยงามนั้นคือ กลีบประดับ ส่วนดอกจริงๆ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย จะเป็นดอกขนาดเล็ก อยู่ต่ำลงมาจากกลีบประดับ จะมีกาบสีเขียวเป็นหลุม เมื่อมองเข้าไปจะเห็นดอกขนาดเล็ก จำนวน 8-10 ดอกย่อยๆ สำหรับปทุมา ประเภทปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่น พันธุ์เชียงใหม่ สีชมพู สีชมพูอ่อน และสีชมพูเข้ม ลักษณะเด่นมีลำต้นสูง 40-45 เซนติเมตร แตกกอ 10-15 หน่อ ต่อกอ ใบแผ่ตั้งแข็งแรง ใบรี แผ่นใบมีสีเขียว เส้นกลางใบมีสีน้ำตาลเหลือบขาว ช่อดอกยาว 60-70 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางก้านดอกเฉลี่ย 1 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีชมพูอ่อน สีชมพู และสีชมพูเข้ม กลีบ
กรมวิชาการเกษตร อวดโฉม ปทุมมา 4 พันธุ์ใหม่ สร้างความแปลกใหม่ในวงการไม้ดอกไม้ประดับ ชูจุดเด่นสุดทุกพันธุ์ สีสันสะดุดตา ออกดอกไว ให้ผลผลิตช่อดอกมาก ก้านช่อดอกตรง แข็งแรง อายุการใช้งานนานทั้งในกระถางและปักแจกัน หวังรักษาตลาดส่งออกพร้อมรองรับความต้องการตลาดต่างประเทศไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท/ปี นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า พืชกลุ่มกระเจียวและปทุมมา เป็นไม้ดอกเมืองร้อนที่มีสีสันสวยงาม โดดเด่น สะดุดตา มีรูปทรงที่สง่า มีความคงทนของอายุการออกดอกบนต้นและอายุการปักแจกัน ชาวต่างชาติจึงขนานนามไม้ดอกชนิดนี้ว่า สยามทิวลิป ประเทศไทยมีพื้นที่การผลิตปทุมมาประมาณ 400 ไร่ แหล่งผลิตใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน เลย ชัยภูมิ และกาญจนบุรี ถือเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่สำคัญ มีการส่งอออกไปต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 รองจากกล้วยไม้ มีมูลค่าการส่งออก 30 – 40 ล้านบาท/ปี ในขณะที่ตลาดโลกมีความต้องการหัวพันธุ์ปทุมมาไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท/ปี ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย กรมวิชาการเกษตร เป็นแหล่งรวบรวมสายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับประเภทเหง้าและอื่นๆ โดยเฉพาะดอกปทุมมาและกระเจียวมากกว่า 500