ประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์
มิเตอร์ไอโอที (METER I0T) หนึ่งในนวัตกรรมอัจฉริยะที่โดดเด่น สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สามารถประยุกต์ใช้เป็นทั้งมิเตอร์ไฟฟ้าและมิเตอร์น้ำในเครื่องเดียวกัน จัดแสดงค่า แบบเรียลไทม์ ดูข้อมูลจากหน้าจออุปกรณ์หรือผ่านระบบแอปพลิเคชั่นก็ได้ ดูค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาได้ทันทีตลอดเวลา สามารถนำประยุกตใช้งานในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หอพัก คอนโดฯ หรือตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าเฉพาะจุด ผลงานวิทยาลัยเทคนิคสระบุรี มิเตอร์ไอโอที เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษาแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี ประกอบด้วย นายประภากรณ์ ภิธรรมมา นายธีรเมธ ครองยุติ นายศิวพันธ์ ลำใย นายขัติพงษ์ เพชรณสังกุล นายธนภัทร ลาวรรณ์ นางสาวสุธาทิพย์ เขียวน้อย นายกษิเดช หงษ์เผือก นายนฤสรณ์ สกุลทวีไพศาล นายปริวัฒน์ ปึงชวลิตโสภี นายจักรพงษ์ แววดี และครูที่ปรึกษาคือ นายสุรศักดิ์ ผาสุขรูป นายยงยุทธ์ จันทรัตน์ นางสาวสวคนธ์ มั่งชู นางศรัญญา โม้ทอง และ นางสาวกนกกาญจน์ ทะวงษา จุดเด่นของนวัตกรรม มิเตอร์ไอโอทีสามารถใช้งานได้ทั้งมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต มิเตอร์ไอโอทีแสดงอัตราค่าไฟฟ้าตรงตามมาตรฐานของการไฟฟ้า ประเภ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดประกวด “ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2563” เพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระหว่าง วันที่ 23 – 24 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1 และบริเวณโถงกิจกรรม 1 อาคาร วช. 4 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น เพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นเป็นกิจกรรมที่ วช. จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเปิดเวทีให้นักประดิษฐ์ได้แสดงศักยภาพด้านการประดิษฐ์คิดค้น และเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน และเกิดความร่วมมือในการพัฒนาต่อยอดผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ซึ่งในปีนี้ มีผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดจำนวนทั้งสิ้น 177 ผลงาน ใน 9 สาขา ได้แก่ 1. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ 2. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช 4. สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา 5. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย 6. สาขาสังคมวิทยา 7. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ 8. สาขาปรัชญา และ 9