ประหยัดพลังงาน
“หมาก” เป็นไม้ยืนต้น จัดอยู่ในวงศ์ของปาล์ม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมปลูกมากที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา บังกลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา หมากจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด มีปริมาณฝนพอเหมาะ ในประเทศไทยนิยมปลูกมากในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และระนอง ซึ่งเป็น 3 จังหวัดที่มีการปลูกต้นหมากมากที่สุด ต้นหมากที่สมบูรณ์จะให้ผลผลิตประมาณ 6-8 ทะลายต่อต้นต่อปี หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ส่วนต้นหมากที่ไม่สมบูรณ์จะให้ผลผลิตประมาณ 2 ทะลายต่อต้นต่อปี นิยมนำหมากไปแปรรูปใน 3 ประเภทธุรกิจ ทั้งในอุตสาหกรรม เครื่องสำอาง และรับประทาน ผลหมากมีสารจำพวก แอลคาลอยด์ ชื่อว่า สาร Arecoline ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและเพิ่มแรงดันเลือด ผู้ที่เคี้ยวหมากจึงรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ด้านกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ บูรณา
ในภาวะเร่งด่วนยามเช้าของประชาชนทั่วไปในเมืองใหญ่ ที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลา ตื่นนอนแต่เช้า รีบร้อนออกจากบ้านเพื่อไปให้ทันกับเวลาทำงาน เวลาเข้าโรงเรียน ให้ทันเวลาตามที่นัดหมาย ไม่มีเวลาที่จะทำอาหารเช้าที่บ้าน ต้องไปแวะหาซื้ออาหารเช้าข้างหน้า จึงเกิดอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ดี ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคลักษณะนี้คือ ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ขายอยู่ข้างเส้นทางที่เดินทางผ่าน ราคาถูก ซื้อได้รวดเร็ว รับประทานได้ง่าย การขายหมูปิ้งหมูย่าง บางรายอาจจะเปลี่ยนเป็นเนื้อหรือไก่ ตามแต่ลูกค้าชอบ แต่สิ่งที่จำเป็นสำหรับอาชีพนี้ที่จะขาดเสียไม่ได้คือ เตาปิ้งย่าง บางรายอาจจะใช้ถังขนาด 200 ลิตร นำมาผ่าครึ่งทำเป็นเตาปิ้ง มีตะแกรงเหล็กวางด้านบน บางรายอาจใช้ถังขนาดเล็กลงมา เพื่อให้มีความกะทัดรัด ด้านล่างเตาใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิง ด้านบนเป็นตะแกรงเพื่อวางหมู เนื้อ หรือไก่ เพื่อให้ได้รับความร้อนจากถ่านจนสุก แต่ในขณะที่กำลังปิ้งย่างนั้น จะเกิดน้ำมันจากเนื้อหมู เนื้อ หรือไก่ ที่ถูกความร้อนนั้น หยดไหลลงในเตาปิ้งย่างกระทบกับถ่านที่เป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดควันไฟลอยขึ้นไปในอากาศ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเนื้อห
เอกชนจี้ พพ.เดินหน้าโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานรัฐ หลังค้างกว่า 100 แห่ง เพราะรอแก้ไข พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯใหม่เปิดทางให้บริษัทจัดการพลังงานเข้ามาดำเนินการแทน พพ. ที่ต้องตั้งของบประมาณทุกปี คาดการลงทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ประหยัดพลังงานได้ 3,000 ล้านบาท แหล่งข่าวจากภาคเอกชนเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ดำเนินการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์หรือติดตั้งเครื่องมืออื่น ๆ โดยใช้งบประมาณจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานในรูปแบบเงินให้เปล่านั้น ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้หยุดดำเนินการชั่วคราว เนื่องจากการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างเดิม ทำให้ดำเนินการได้ล่าช้าเพราะติดขัดในเรื่องของกฎระเบียบต่าง ๆ โดยเฉพาะขั้นตอนการตั้งของบประมาณ ส่งผลให้มีโครงการค้างกว่า 100 แห่ง จากปัญหาดังกล่าว พพ.จึงว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขให้โครงการเดินหน้าเร็ว ๆ ขึ้น ซึ่งแนวทางที่ได้มีการนำเสนอคือ ให้ภาคเอกชนอย่างเช่น บริษัทจัดการพลังงาน หรือ ESCO เข้ามาดำเนินการลงทุนแทน พพ.ตามแนวทา
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ผลักดันมาตรฐาน CPF SHE&En Standard ทุกฟาร์ม-โรงงาน ส่งเสริมบุคลากรคิดค้นโครงการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า-น้ำกว่า 100 โครงการ ตลอดปี 59 ส่งผลประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากกว่า 50 ล้านบาท นายสุชาติ วิริยะอาภารองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ซีพีเอฟ (CPF SHE&En) เปิดเผยว่า ซีพีเอฟมุ่งมั่นดำเนินโครงการด้านการประหยัดพลังงาน มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้นำเสนอแนวคิดหรือวิธีการ ที่จะช่วยพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าและใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า ในปี 2559 ที่ผ่านมา ซีพีเอฟได้ริเริ่มโครงการใหม่มากถึง 104 โครงการ ช่วยลดการใช้พลังงานกว่า 80,000 กิกะจูล คิดเป็นร้อยละ 11.26 ต่อหน่วยการผลิต เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558 ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas : GHG) ได้กว่า 7,200 ตันคาร์บอนได้ออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 1.05 ต่อหน่วยการผลิต สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากกว่า 50.6 ล้านบาท ลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 6.88 และลดปริมาณ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดต้นแบบแอร์ประหยัดพลังงานฝีมือนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ระบบแรกของไทย หวังช่วยประหยัดไฟและลดความสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละกว่า 36,000 บาท รศ.ดร. สุรินทร์ คำฝอย รองอธิการบดี และอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า ความพิเศษของการวิจัยระบบแอร์ประหยัดพลังงานนี้คือเครื่องต้นแบบนี้ สามารถลดการใช้ไฟได้ถึง ร้อยละ 50 ไม่เพียงเท่านั้น กลุ่มผู้วิจัยยังได้คิดค้นวิธีนำพลังงานที่เหลืออีก ร้อยละ 50 ถูกปล่อยทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ส่งกลับเข้าสู่ระบบภายในบ้าน จึงถือเป็นต้นแบบงานวิจัยที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุดซึ่งช่วยลดค่าไฟได้ด้วย ศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล. กล่าวเสริมว่า การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายลดใช้พลังงานไฟฟ้าไปพร้อมกับการใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ถือเป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วโลกมุ่งพัฒนา เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับหลักสูตรและ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ กระทรวงพลังงาน และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขานรับแผนอนุรักษ์พลังงานของรัฐบาล จับมือ อิมแพ็คฯ และ MEX Exhibitions เตรียมพร้อมจัดงาน “Thailand Energy Efficiency Week 2017” ผนึก 3 งานใหญ่โชว์นวัตกรรมประหยัดพลังงานของประเทศไทย และนานาชาติ พร้อมเป็นเวทีกลางในการเจรจาธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน คาดมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 20,000 ราย และมีเงินสะพัดกว่า 1,000 ล้านบาท โดยงานฯ จะจัดขึ้นวันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2560 อาคารชาเลนเจอร์ 1 อิมแพ็ค เมืองทองธานี วันนี้ (7 ธันวาคม 2559) นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร รองผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ได้รับการยกย่องให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” ทรงวางแนวทางในการพัฒนาพลังงานบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ทรงมีพระราชดำรัสคอยย้ำเตือนพวกเราทุกคนให้รัก และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าอยู่เสมอ กฟผ. ในฐานะองค์กรภาครัฐ จึงมีภารกิ