ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
ในอดีตชาวนาในพื้นที่ตำบลห้วยไร่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีจำนวนมาก ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง แต่ได้ข้าวไม่มีคุณภาพ แถมขายข้าวได้ราคาถูกเพราะขาดอำนาจต่อรองกับพ่อค้า ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินในครัวเรือน ปี พ.ศ.2552 นายวันนา บุญกลม เป็นแกนนำรวมกลุ่มเกษตรกรชาวนา ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ” ปกติการทำนาทั่วไปมีต้นทุนประมาณ 3,500 – 4,000 บาทต่อไร่ นายวันนา ส่งเสริมสมาชิกทำนาแบบอินทรีย์ ที่เน้นหลักธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีสารกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหญ้า สารกำจัดแมลง รวมถึงสารเคมีอื่น ๆ สามารถลดต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 2,600 บาท/ไร่แล้ว ยังสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ได้ประมาณ 400 -450 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผลผลิตข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปอยู่ที่ 360 กิโลกรัมต่อไร่ ทางกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ประเภทข้าวหอมมะลิ105 ข้าวมะลิแดง ข้าวมะลิดำ และข้าวเหนียวคุณภาพดีมีจุดเด่น “ใหญ่ ยาว ขาว นุ่ม หอม” ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ต่อมาทางกลุ่มได้ยื่นตรวจม
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคล เป็น “วันเกษตรกร” ประจำปี เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตร ซึ่งเป็นภาคการผลิตและเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดให้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่กับวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา เนื่องจาก ร.ต.สุรชัย บุญคง วัย 68 ปี มีผลงานโดดเด่นด้านการปลูกแฝกและเกษตรทฤษฎีใหม่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงประกาศยกย่อง ร.ต.สุรชัย บุญคง ในฐานะปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ.2568 สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงโดยจะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในวันศุกร์ที่ 9พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทำเกษตรหลังเกษียณ หลังลาออกจากข้าราชการทหาร ร.ต.สุรชัย บุญคง ผันตัวมาทำเกษตรโดยปลูกมันสำปะหลังและมะม่วง บนเนื้อที่ 26 ไร่ แต่รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายแถมมีปัญหาด้านสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก จึงเปลี่ยนมาทำเกษตรผสมผสาน ปลูกปุ๋ยพืชสดเช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า และปอเทือง
ในแต่ละปีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดให้มีการประกวดผลงานของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่น และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงระดับชาติ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรรายอื่นได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพและการปฏิบัติงาน โดยปีนี้ เกษตรกรต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกจะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันศุกร์ที่ 9พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ซึ่งในปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศยกย่อง “ คุณสวง คุ้มวิเชียร ” ในฐานะปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่นประจำปี 2568 เนื่องจากคุณสวง เป็นเกษตรกรต้นแบบที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์อันยาวนานในด้านการเพาะพันธุ์กล้วยไม้เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ เกษตรกรรุ่นใหม่ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศ คุณสวง คุ้มวิเชียร ผู้ก่อตั้ง “ แอร์ออร์คิดส์&แลบ ” คุณสวง คุ้มวิเชียร มีจุดเริ่มต้นจากการทำฟาร์มกล้วยไม้ตัดดอกส่งขายในประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2538 มีการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นผู้ก่อตั้ง “ แอ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคล เป็น “วันเกษตรกร” ประจำปีด้วย เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตร ซึ่งเป็นภาคการผลิตและเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดให้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่กับวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับในปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้รับรางวัลปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2568 เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2568 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ได้ลงนามประกาศรับรองมติคณะกรรมการส่งเสริมปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อแต่งตั้งบุคคลเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2568 จำนวน 3 สาขา ดังนี้ 1.ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาข
“อ้อย” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี ที่สร้างอาชีพและรายได้ที่ดีให้แก่เกษตรกรจำนวนมาก ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถาบันการศึกษา อาทิ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี ร่วมกันแบ่งปันความรู้เรื่องการปลูกดูแลอ้อยให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพตามความต้องการของโรงงาน การใช้นวัตกรรมเครื่องจักรกลทดแทนแรงงานคน เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้เรียนรู้กระบวนการผลิตอ้อยที่ถูกต้องเหมาะสม ตั้งแต่การเตรียมดิน การไถดิน การปลูกอ้อยโดยเครื่องปลูกอ้อย ชนิด 1 ร่อง 4 แถว ซึ่งเป็นการปลูกอ้อยระยะชิด และการปลูกระยะห่างแบบ 1 ร่อง 2 แถว ซึ่งทำให้การดูแลจัดการแปลงเป็นเรื่องง่าย เกษตรกรสามารถกำจัดวัชพืชด้วยรถไถระหว่างร่องและใส่ปุ๋ยในคราวเดียว ลดต้นทุนการใช้สารกำจัดวัชพืช นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการใช้รถตัดอ้อย ร่วมกับเครื่องอัดใบอ้อย ลดการเผาเศษใบอ้อยเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกในรอบต่อไป สำหรับเกษตรกรที่ผ่านการอบรมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในแปลงเพาะปลูกของตัวเอง ก็ได้ผลผลิตอ้อยที่เพิ่มมากขึ้น และเกิดรายได้อย่างยั่งยืน “เสถียร มาเจริญรุ่งเรือง” ต้นแบบชาวไร