ปลากด
“อาหารทะเล” จังหวัดตราด เมืองชายทะเลภาคตะวันออก พื้นที่ติดทะเลยาว 165 กิโลเมตร ไม่รวมกับชายทะเลรอบเกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก และเกาะเล็กเกาะน้อยอีกกว่า 50 เกาะ ทำให้พื้นที่ทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติสัตว์น้ำนานาชนิด กุ้ง หอย ปู ปลา หมึก กั้ง อำเภอคลองใหญ่เป็นอำเภอที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งทำประมงมากที่สุดของจังหวัดตราด ทั้งเรือประมงขนาดใหญ่และเรือประมงชายฝั่ง มีชุมชนประมงพื้นบ้านตามชายหาดต่างๆ ตลอดแนวชายฝั่ง เป็นที่ซื้อ-ขายอาหารทะเลสดๆ เช้าตรู่จะมีเรือประมงพื้นบ้านที่ออกไปจับปลานำเรือเข้าฝั่ง และมีแม่ค้าพ่อค้ามารอรับซื้อปลา ทำให้อาชีพประมงพื้นบ้านที่รับสืบทอดต่อๆ กันมายังคงอยู่เห็นในวันนี้ วิถีชีวิตชาวประมงร่วม 30 ปี คุณสุบิน บุญลอย ชาวประมงพื้นบ้านวัย 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1/8 หมู่ที่ 3 ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เล่าว่า ได้ทำอาชีพประมงมากับพ่อตั้งแต่อายุ 15-16 ปี ถึงปัจจุบันทำเป็นอาชีพหลักให้กับครอบครัว ร่วม 30 ปีแล้ว โดยหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 มีชุมชนชาวประมงอยู่ใกล้กัน 3 แห่ง คือ ชุมชนสะพานปลา หาดศาลเจ้า และหาดทรายแดง จำนวนเกือบ 200 ครัวเรือน ประกอบอาชีพทำประมงพื้นบ้านใช้เรือขนา
ปลากดเหลืองใหญ่แม่น้ำโขง เลี้ยงง่ายรายได้ดี ทั้งเลี้ยงขายเป็นลูกปลา เป็นปลาพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ และเป็นปลาที่นำไปปรุงอาหาร เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งไทยและ สปป.ลาว อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงที่นับวันที่เหลือลดน้อยลง นายสาธิต คำกองแก้ว ข้าราชการบำนาญ ซึ่งปัจจุบันเป็นเกษตรกรเลี้ยงปลากดเหลืองใหญ่แม่น้ำโขง เจ้าของฟาร์มปลาวิภาวรรณฟาร์ม ที่บ้านหนองยางคำ หมู่ 13 ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เล่าในฟังถึงการเลี้ยงปลากดเหลืองใหญ่แม่น้ำโขงว่า ปัจจุบันนี้ปลาในแม่น้ำโขงเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องจากเหตุผลหลายอย่าง ทั้งการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง รวมไปถึงเหตุผลอื่นๆ ทั้งนี้ “ปลากดเหลือง” แม่น้ำโขงถือเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีรสชาติดี ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด ตนจึงได้ไปรับซื้อปลากดเหลืองที่จะนำมาทำเป็นปลาพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์จากชาวบ้านที่ประกอบอาชีพหาปลาในแม่น้ำโขง โดยได้เลี้ยงปลาที่ได้มาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี จนมีความสมบูรณ์ และได้ทำการเพาะพันธุ์ซึ่งตอนแรกได้ผลในระดับหนึ่ง จากนั้นก็การเพาะพันธุ์ก็ได้ผลดีมากขึ้น จนถึงขณะนี้ก็ได้เพาะพันธุ์และเลี้ยงต่อเนื่องม
ข้อดีของการเลี้ยงปลาในนาทางอ้อมพบว่า ปลาจะช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ช่วยให้อินทรียสารต่างๆ สลายตัวได้ง่าย สร้างระบบนิเวศช่วยให้ดินมีความสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มปุ๋ยในดิน จึงส่งผลในทางตรงทำให้ข้าวมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย นับเป็นการช่วยทุ่นแรงและลดต้นทุนได้อย่างดี ไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่ทำนาจะสามารถเลี้ยงปลาได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องความสมบูรณ์ของน้ำ และพื้นที่ที่เหมาะสมควรมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประทาน และควรมีน้ำตลอดปี ไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน สำหรับในพื้นที่ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ไม่ได้มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ และการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว แต่เหตุใดชาวบ้านกลับประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงปลาในนาได้อย่างไม่ยาก? แล้วในบางคราวยังมีจำนวนปลามากพอสำหรับการแปรรูปสร้างรายได้เสริมอีกด้วย คุณบวร สาริเพ็ง อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 6 บ้านฟ้าห่วน ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นคนแรกในชุมชนที่ริเริ่มเลี้ยงปลาในนา เพราะเห็นว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยเรื่องค่าครองชีพของครอบครัวได้พอ เลยหันมาหาการเลี้ยงปลาในนาข้าวเพื่อสร้างรายได้อ
คุณยุภาพร ประถม อยู่บ้านเลขที่ 29/8 หมู่ที่ 1 ตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เล่าให้ฟังว่า ผู้ที่ริเริ่มเลี้ยงปลากระชัง คือ คุณพ่อ ซึ่งสมัยก่อนคุณพ่อของเธอเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เพราะด้วยปัญหาหลายๆ อย่างทางสายงาน จึงเลิกทำกิจการด้านนั้น และมาทำการทดลองเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำน่าน เพราะในสมัยที่คุณพ่อยังเป็นสมาชิกสภาจังหวัดได้ออกพื้นที่ต่างๆ เห็นอาชีพด้านการเลี้ยงปลา กระชังตามภาคกลางของประเทศ จึงนำสิ่งที่เห็นมาทดลองเลี้ยงที่บ้าน เพราะพื้นที่บริเวณบ้านอยู่ติดแม่น้ำน่าน “สมัยนั้นคุณพ่อเริ่มทำเป็นเจ้าแรกประมาณปี 46 ต่อมาจึงรวมกลุ่ม ตั้งเป็นกลุ่มเลี้ยงปลากระชัง ประมาณปี 49 ช่วงแรกๆ ทางกลุ่ม เลี้ยงไปได้ดี ต่อมาประสบปัญหาบ้าง ทำให้สมาชิกภายในกลุ่ม มีเลิกเลี้ยงไปบ้าง เพราะการจัดการหลายๆ อย่าง” คุณยุภาพร เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำอาชีพการเลี้ยงปลากระชังของครอบครัว ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำเป็นกระชังสำหรับเลี้ยงเธอบอกว่าเป็นเหล็กที่มีอยู่เดิม เพราะสมัยก่อนที่บ้านก็ทำอาชีพรับเหล่าก่อสร้างด้วย จึงได้นำเหล็กเหล่านั้นมาประกอบเป็นกระชังสำหรับเลี้ยงปลาในแม่น้ำ และเมื่อเลี้ยงมาได้หลายปี จึงเริ่มมี