ปลากระเบน
ปลากระเบน เป็นสัตว์จำพวกปลากระดูกอ่อน มีทั้งหมดประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ทำหน้าที่ให้น้ำเข้าออกไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัวเหมือนกับปลาฉลามหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น ปลากระเบน มีนิสัยชอบกบดานตามชายทะเลที่น้ำตื้น โดยจะฝังตัวใต้พื้นทรายหรือโคลนใต้น้ำ หากินตามพื้นท้องน้ำอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย กุ้ง ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ฟันที่มีลักษณะเป็นฟันบดขบเปลือกของอาหารให้แตกก่อน กิจกรรมที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศจากปลากระเบนก็คือ การดำน้ำเคียงข้างพวกมัน นอกจากนี้ ยังช่วยให้มั่นใจได้ว่าการดำน้ำกับปลากระเบนจะยังคงอยู่ในอันดับต้นๆ ของรายการที่นักดำน้ำอยากทำ เพราะด้วยขนาดตัวที่ใหญ่โต และลวดลายสีสันที่สวยงามของปลากระเบน นอกจากนี้ ปลากระเบนยังติดอันดับต้นๆ ของปลาสวยงามที่เหล่าเศรษฐี ทั้งในประเทศบ้านเราและต่างประเทศนิยมเลี้ยงอีกด้วย เพราะด้วยความสวยงามของปลากระเบนที่ไม่ธรรมดา และมีมูลค่าที่ไม่ธรรมดาเช่นกัน แต่หลา
วช. หนุนทีมวิจัย ม.บูรพา พัฒนาคลังข้อมูลดีเอ็นเอบาร์โค้ดของปลาฉลาม-ปลากระเบนในประเทศไทย และพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ช่วยให้เห็นภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคุมการค้าปลาฉลามได้อย่างเหมาะสม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยบูรพา ในการพัฒนาคลังข้อมูลดีเอ็นเอบาร์โค้ดของปลาฉลามและกระเบนในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ข้อมูลดีเอ็นเอใช้จำแนกชนิดฉลามและกระเบนร่วมกับสัณฐาน ช่วยให้เห็นภาพความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์กลุ่มนี้ในหลายระดับ ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปรรูปจากฉลามและกระเบน ที่มีการขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ครีบปลาฉลามตากแห้ง ครีบปลาฉลามบรรจุกระป๋อง อาหารที่ทำจากชิ้นส่วนของปลาฉลามหรือกระเบน ซึ่งข้อมูลพันธุกรรมจะถูกนำมาช่วยระบุชนิดของปลาฉลาม-กระเบนที่เป็นชนิดคุ้มครองและหายาก ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ละเมิดกฎหมายได้ และทำให้ผู้ผลิตมีความระมัดระวังในการใช้วัตถุดิบด้วย ซึ่งเป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยา
หนุ่มตรัง วัย 31 ปี เพาะเลี้ยงปลากระเบนน้ำจืดสวยงามส่งขายหลายประเทศสร้างรายได้นับล้านบาทต่อปี จนต้องขยายสร้างเครือข่ายกลุ่มเพาะเลี้ยงปลากระเบนเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ราคาขายเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักหมื่นบาทต่อตัว นายจิรโรจน์ ดีจุฑามณี เรียนจบจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ทุกวันนี้เขาใช้เวลาว่าง เพาะเลี้ยงปลากระเบนน้ำจืดจำนวนหลากหลายสายพันธุ์ เช่น โมโตโร่, แบล็คไดมอนด์, โพลคาดอท, ไทเกอร์, ไฮบริค ฯลฯ นายจิรโรจน์ เริ่มสนใจเลี้ยงปลากระเบนมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาเมื่อปี 2555 ควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลาสวยงาม เพื่อเป็นค่าเทอมระหว่างเรียน ต่อมาเห็นว่าการเลี้ยงปลากระเบนสวยงามมีแนวโน้มเติบโตดี ประกอบกับชอบเลี้ยงปลาชนิดนี้อยู่แล้ว จึงตัดสินใจลงทุนตั้งฟาร์มเพาะเลี้ยง โดยจดทะเบียนกับกรมประมงตามสัญญาไซเตสประเภท 3 อย่างถูกต้อง บริเวณบ้านเลขที่ 22/1 หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีสำนักงานประมงจังหวัดตรังและศูนย์วิจัยและการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตรัง เข้ามาดูแลระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง คุณจิรโรจน์ สั่งซื้อปลากระเบนชนิ
จากกระแสโซเชี่ยลที่มีการเผยแพร่ข่าวประชาชนได้รับพิษปลากระเบนจนทำให้เกิดเนื้อตาย สร้างความตื่นตกใจให้กับผู้เลี้ยงมือใหม่ กรมประมงจึงออกโรงแจงเทคนิคการเลี้ยงและดูแลปลากระเบนทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ให้ถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นไปตามระเบียบไซเตส โดยนายชำนาญ พงษ์ศรี รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กระเบนน้ำจืดและน้ำเค็มจะมีพิษอยู่บริเวณปลายเงี่ยงหาง ภาษาคนเลี้ยงทั่วไปจะเรียก ”เมือกพิษ” แต่ไม่ได้ร้ายแรงมาก เบื้องต้นคนที่ได้รับพิษจะมีอาการปวด แต่ไม่ต้องตกใจเพราะอาการปวดจะคล้ายกับที่เราโดนสัตว์มีพิษอื่นๆ ถ้าเทียบกับปลาก็เหมือนเงี่ยงปลาดุก ปลากด สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะต้องสลายพิษออกไป จากร่างกายก่อน โดยผู้เลี้ยงปลากระเบนส่วนใหญ่จะใช้วิธีประคบร้อนบริเวณปากแผล โดยประคบไปเรื่อยๆจนกว่าอาการจะทุเลา บางรายจะใช้วิธีจุ่มแผลลงน้ำร้อนเท่าที่จะทนไหวทำไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ ยังมีการใช้วิธีรีดพิษออกตรงจากแผลพิษปลากระเบนจะมีลักษณะเป็นเมือกสีคล้ำๆ ออกจากตัว หลังจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเสร็จเรียบร้อยแล้วให้รักษาแผลแบบทั่วไปอาจจะใช้ยารักษาแผลสด และรักษาแผลให้แห้งอยู่เสมอ จะช่วยทำให้อาการจะดีขึ้น ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับอา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี ชาวบ้านที่อยู่ริมสองฝั่งของแม่น้ำแม่กลอง ทั้งในพื้นที่ อ.อัมพวา และ อ.เมืองสมุทรสงคราม จ.สมุทรสงครามได้พบซากปลากระเบนจำนวนมาก ลอยในแม่น้ำแม่กลองตามกระแสน้ำขึ้นลง และ รศ.สพญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ และอาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมร้อยโทพัชรโรดม อุนสุวรรณ ประธานชมรมอนุรักษ์ปลากระเบนสมุทรสงคราม ลงเรือสำรวจปลากระเบนในแม่น้ำแม่กลอง เพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจหาสาเหตุการตายนั้น ล่าสุดเมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 6 ตุลาคม นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ และอาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร้อยโทพัชโรดม อุนสุวรรณ ประธานชมรมอนุรักษ์ปลากระเบนสมุทรสงคราม ได้ร่วมกันนั่งเรือตรวจการณ์เทศบาลเมืองสมุทรสงครามออกตรวจเยี่ยมผู้เลี้ยงปลากระชังที่อยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง พบว่าปลากะพงตายเป็นจำนวนมาก นายคันฉัตร กล่าวว่า สาเหตุปลากะพงตาย คาดว่าเกิดจากปอระสิดบางชนิดเกาะกินที่ตัวปลาอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง น