ปลาช่อนแม่ลา
ปลาช่อนแม่ลา เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นดินโคลนและน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุอาหาร ทำให้ปลาช่อนมีลักษณะตัวอ้วนโต หัวหลิม หางเป็นแบบใบพัด คลีบหูสีชมพูปนส้ม มีไขมันปลาแทรกอยู่ในเนื้อปลา รสชาติอร่อยเป็นพิเศษ ปัจจุบันปลาช่อนในลำน้ำแม่ลาเริ่มลดน้อย เกษตรกรก้าวหน้าจึงนำพันธุ์ปลาช่อนคุณภาพมาเพาะเลี้ยงในบ่อ จากนั้นแปรรูปเป็นปลาช่อนแดดเดียวเพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้ให้ครัวเรือนมั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง “ป.แดน เกษตรฟาร์ม ผลิตปลาช่อนแม่ลาแดดเดียว รายได้หลักแสน” มาบอกเล่าสู่กัน คุณศรัญญา เพ็ชรรักษ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เล่าให้ฟังว่า จังหวัดสิงห์บุรีมีลำน้ำแม่ลาซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุอาหารให้ประชาชนใช้ประโยชน์เพื่อการยังชีพและการเกษตร ในแหล่งน้ำมีปลาช่อนหรือปลาหลายชนิดอาศัย มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อนำปลาช่อนมาทำเป็นอาหารเมนูต่างๆ เนื้อปลาจะแน่นนุ่มหนึบ รสชาติอร่อย มีกรดไขมัน โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เทียบเท่ากับปลาทะเลที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ด้านพัฒนาการผลิตได้ส่งเสริมเกษตรกรรวมกลุ่
สิงห์บุรีส่งปลาช่อนแม่ลาขึ้นทะเบียน จีไอ เพิ่มมูลค่าสินค้า ประมงจังหวัดเร่งเก็บข้อมูล ส่งเสริมครบวงจรเลี้ยง-แปรรูป ตั้งเป้าสิ้นปีจดทะเบียนเรียบร้อย ยอมรับภัยแล้ง-สารเคมีกระทบปลาธรรมชาติเหลือน้อย ไม่เพียงพอบริโภค เตรียมฟื้นฟูสายพันธุ์ใหม่ พร้อมส่งเสริมทำเกษตรอินทรีย์แปลงใหญ่ในพื้นที่ช่วยปรับระบบนิเวศ นายวัชระ ช่างบุญศรี นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ จังหวัดสิงห์บุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากนโยบายการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications) หรือ GI ให้ครบ 77 จังหวัด ภายในปี 2560 ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์นั้น เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประชุมทำความเข้าใจและให้ข้อมูลกับกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลา กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปปลาเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปลาช่อนแม่ลาให้เป็นสินค้า GI สำหรับขั้นตอนต่อไปคือ การให้สำนักงานประมงจังหวัดดำเนินการรวบรวมข้อมูล ทั้งถิ่นที่อยู่ของปลา ผู้เพาะเลี้ยง และข้อมูลความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ของปลาช่อนแม่ลากับที่อื่น เพื่อยื่นขอจดทะเบียนมายังกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถขึ้นทะเ
สิงห์บุรีส่งปลาช่อนแม่ลาขึ้นทะเบียนจีไอ เพิ่มมูลค่าสินค้า ประมงจังหวัดเร่งเก็บข้อมูล ส่งเสริมครบวงจรเลี้ยง-แปรรูป ตั้งเป้าสิ้นปีจดทะเบียนเรียบร้อย ยอมรับภัยแล้ง-สารเคมีกระทบปลาธรรมชาติเหลือน้อย ไม่เพียงพอบริโภค เตรียมฟื้นฟูสายพันธุ์ใหม่ พร้อมส่งเสริมทำเกษตรอินทรีย์แปลงใหญ่ในพื้นที่ช่วยปรับระบบนิเวศ นายวัชระ ช่างบุญศรี นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ จังหวัดสิงห์บุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากนโยบายการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications) หรือ GI ให้ครบ 77 จังหวัด ภายในปี 2560 ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์นั้น เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประชุมทำความเข้าใจและให้ข้อมูลกับกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลา กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปปลาเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปลาช่อนแม่ลาให้เป็นสินค้า GI สำหรับขั้นตอนต่อไปคือ การให้สำนักงานประมงจังหวัดดำเนินการรวบรวมข้อมูล ทั้งถิ่นที่อยู่ของปลา ผู้เพาะเลี้ยง และข้อมูลความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ของปลาช่อนแม่ลากับที่อื่น เพื่อยื่นขอจดทะเบียนมายังกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป ทั้งนี้คาดว่าจะสาม