ปลาตะเพียน
ปลาตะเพียน เป็นปลาน้ำจืดพื้นเมืองที่อยู่ในประเทศไทยนานพอสมควร เพราะสามารถพบได้ในแม่น้ำ บึง คลอง ฯลฯ ในภูมิมาคนี้นับตั้งแต่สมัยสุโขทัย หรือนานกว่านั้น เพราะมีหลักฐานการเขียนลายของถ้วยชามเครื่องเคลือบ เป็นรูปปลาตะเพียนให้เห็น จึงนับว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาที่อยู่คู่บ้านเมืองนี้อย่างแท้จริง ซึ่งการนำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ก็ทำได้ง่าย จึงทำให้ปลาชนิดนี้มีการขยายพันธุ์และส่งเสริมการเลี้ยง และนำมาทำการค้าที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดีทีเดียว คุณรุ่งลาวัลย์ เบ้าคำ หรือ คุณน้อย อยู่บ้านเลขที่ 7 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองทับจันทร์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้นำปลาตะเพียนมาเลี้ยงและทำการตลาดแบบแปรรูปเอง ทำให้ตัดปัญหาในเรื่องของการรับซื้อจากพ่อค้าคนกลาง ซึ่งการแปรรูปเป็นปลาส้มทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง เกิดรายได้ในกลุ่มเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน กลุ่มมีความร่วมมือกันอย่างสามัคคีในการผลิตสินค้าแปรรูปจากปลาตะเพียน คุณน้อย เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันครอบครัวของเธอมีอาชีพเกี่ยวกับการทำเกษตรอยู่แล้ว โดยในพื้นที่มีการแบ่งการทำเกษตรหลายอย่าง โดยได้มีบ่อปลูกบัวว่างอยู่จึงได้นำปลาตะเพียนมา ทดลองเลี้ยง เม
ข้อดีของการเลี้ยงปลาในนาทางอ้อมพบว่า ปลาจะช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ช่วยให้อินทรียสารต่างๆ สลายตัวได้ง่าย สร้างระบบนิเวศช่วยให้ดินมีความสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มปุ๋ยในดิน จึงส่งผลในทางตรงทำให้ข้าวมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย นับเป็นการช่วยทุ่นแรงและลดต้นทุนได้อย่างดี ไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่ทำนาจะสามารถเลี้ยงปลาได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องความสมบูรณ์ของน้ำ และพื้นที่ที่เหมาะสมควรมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประทาน และควรมีน้ำตลอดปี ไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน สำหรับในพื้นที่ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ไม่ได้มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ และการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว แต่เหตุใดชาวบ้านกลับประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงปลาในนาได้อย่างไม่ยาก? แล้วในบางคราวยังมีจำนวนปลามากพอสำหรับการแปรรูปสร้างรายได้เสริมอีกด้วย คุณบวร สาริเพ็ง อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 6 บ้านฟ้าห่วน ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นคนแรกในชุมชนที่ริเริ่มเลี้ยงปลาในนา เพราะเห็นว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยเรื่องค่าครองชีพของครอบครัวได้พอ เลยหันมาหาการเลี้ยงปลาในนาข้าวเพื่อสร้างรายได้อ
คุณถาวร งานยางหวาย อยู่บ้านเลขที่ 105 หมู่ที่ 4 ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานรับราชการเมื่อครบกำหนดวัยเกษียณ ปี 2550 จึงได้เริ่มใช้เวลาว่างมาทำสวนปลูก ไม้ผลแบบผสมสานอย่างจริงจังเมื่อปี 2551 “ก่อนที่จะตัดสินใจทำเกษตร จะปลูกต้นไม้ หรือเลี้ยงปลา จะดูก่อนว่าเราจะทำอะไรได้มากที่สุด ก็เลยตกลงใจเลี้ยงปลา ส่วนพื้นที่ที่เหลือบนขอบบ่อ ก็จะปลูกพืชผัก ไม้ผลไว้ ก็จะมีมะขาม มะนาว ที่สามารถเก็บผลผลิตขายได้ ซึ่งจะมีการไปหาความรู้ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ก็จะเข้าอบรมกับหน่วยงานที่เขาเปิดสอน และก็นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับพื้นที่ที่เรามีอยู่” คุณถาวร กล่าว ปลาที่เลี้ยงภายในบ่อส่วนใหญ่จะเป็นปลานิล ปลาสลิด และปลาตะเพียน โดยนำปลาเหล่านี้มาปล่อยแบบเลี้ยงเชิงธรรมชาติ ปลาก็ขยายพันธุ์ออกลูกมากมาย สามารถจับขายทำเงินได้เป็นที่น่าพอใจ ต่อมาอยากเลี้ยงแบบจริงจังมากขึ้นจึงได้ไปติดต่อขอซื้อลูกพันธุ์จากแหล่งเพาะเพื่อนำมาปล่อยเลี้ยงเป็นเชิงการค้า ก่อนที่จะนำลูกปลาแต่ละชนิดมาลงเลี้ยงจะทำการเตรียมบ่อ คือ วิดน้ำออกจากบ่อให้หมด จากนั้นโรยด้วยปูนขาวให้ทั่วตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน แล้วจึงป
“ปลาตะเพียน” เป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี แล้วยังอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ พบชุกชุมในแหล่งน้ำทุกภาคของไทย เป็นปลากินพืช แมลง และสัตว์หน้าดิน ปัจจุบัน มีการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำ สำหรับให้ชาวบ้านนำไปประกอบอาชีพ หรือแปรรูปเป็นอาหารยอดนิยม เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม สำนักงานประมงจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สระแก้ว (ศพจ.สระแก้ว) พร้อมกับอีกหลายภาคส่วนบูรณาการส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มชาวบ้านคลองยาง (ละลุ) เลี้ยงปลาตะเพียน แล้วจัดตั้งเป็นกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาตะเพียน ละลุ” ตั้งอยู่ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว มีสมาชิกรวม 37 ราย มีพื้นที่เลี้ยงปลา รวม 50 ไร่ กระทั่งสามารถสร้างมูลค่าปลาตะเพียนด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น คุณเมธี เสมา นักวิชาการประมงปฏิบัติการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สระแก้ว เปิดเผยว่า สมาชิกกลุ่มมีอาชีพทำเกษตรกรรมปลูกพืชและมีบ่อเลี้ยงปลา โดยแต่ละรายผ่านการคัดเลือกจากประมงจังหวัด และศพจ.สระแก้ว จนได้ขึ้นทะเบียนกับทางประมงจังหวัดไว
“การที่เราจะทำอะไรสักอย่าง ตัวเราต้องพร้อม มีความใส่ใจ ปลาที่เราเลี้ยงจะว่าไปมันก็เหมือนคน ไม่ใช่ปล่อยลงบ่อเลี้ยงแล้วก็ไม่สนใจให้อาหารเลย คืออย่างที่ทำอยู่นี่ ถึงจะไม่ค่อยให้อาหารทุกมื้อ แต่เราก็ต้องหามาให้ แบบเอาเศษอาหารต่างๆ แบบต้นทุนต่ำ ซึ่งจากการที่ได้มาทำตรงนี้ มองจากบ่อรอบๆ พื้นที่เราที่เลี้ยงเหมือนกัน เราน่าจะได้กำไรดีกว่า อีกอย่างทำให้เราเหมือนได้ออกกำลังกาย เพราะได้เดินไปมาดูแลบ่อปลา เมื่อเราสุขภาพกายดี จิตใจเราก็จะเป็นสุข มีความสุขกับสิ่งที่เราทำ ก็เป็นการใช้เวลาช่วงอายุวัยเกษียณได้เป็นอย่างดี ไม่มีคำว่าเหงา” คุณสมใจ กล่าว คุณสมใจ ไวทยกุล อยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 5 ตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี หญิงวัยเกษียณที่มากด้วยความสุข จากสิ่งที่เธอทำ คือการเลี้ยงปลา ซึ่งภายใน 1 บ่อ จะปล่อยปลามากกว่า 3 ชนิด ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ดี การเลี้ยงของเธอทำให้อัตราการรอดของปลาค่อนข้างสูง เน้นให้อาหารที่หาได้จากชุมชนและที่สำคัญเมื่อปลาโตจำหน่ายได้ราคา จากชีวิตแม่บ้าน ก้าวสู่เกษตรกรเลี้ยงปลา คุณสมใจ เล่าให้ฟังว่า ไม่คิดไม่ฝันว่าชีวิตจะได้มาเลี้ยงปลาแบบที่เป็นอยู่ เนื่องจากก่อนห
ลุงสาย หลวงทิพย์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในบ่อดินแบบผสมผสาน อยู่บ้านเลขที่ 4/2 หมู่ที่ 1 ตำบลดอนใหญ่ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ แต่ด้วยปัญหาแรงงาน และราคาข้าวที่ถูก ลุงสายจึงต้องปรับเปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่จากชาวนา มาเป็นเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาบ่อดิน ลุงสาย หลวงทิพย์ หลังจากเลิกทำนา ลุงสายตัดสินใจขายที่ดินส่วนหนึ่งไป ส่วนที่เหลือใช้ปลูกที่อยู่อาศัยและขุดบ่อใช้เลี้ยงปลาแบบผสมผสานบริเวณรอบๆ บ้าน ควบคู่กับการให้เช่าพื้นที่ทำบ่อเลี้ยงกุ้ง “แรงจูงใจที่ทำให้ผมต้องเปลี่ยนอาชีพ ก็เนื่องจากต้นทุนการผลิตข้าวที่แพง อีกทั้งยังต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ทำคนเดียวก็ไม่ไหว จึงต้องเลิกและหันมาเพาะเลี้ยงปลาในบ่อดินแทน และด้วยสภาพพื้นที่บริเวณรอบๆ ชุมชนถูกเปลี่ยนเป็นสวนผลไม้เกือบทั้งหมด จะทำนาอยู่เจ้าเดียวก็เจอกับปัญหาของศัตรูธรรมชาติ โดยเฉพาะหนูที่เข้ามาทำลายกัดกินต้นข้าว สร้างความเสียหายทุกปี ทนทำอยู่ก็มีแต่จะขาดทุน จะเลี้ยงกุ้งก็ไม่รวย ที่สำคัญต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ถ้ามาเลี้ยงปลาซึ่งไม่ต้องลงทุนเยอะ เพียงครั้งเดียวก็สามารถเลี้ยงได้ตลอด เป็นเหตุผลที่ทำให้ผมตัดส
“การทำเกษตร ต้องดูก่อนว่าสภาพพื้นที่เราเหมาะสมทำแบบไหน เพราะบางพื้นที่ปลูกผักได้ดี บางพื้นที่เลี้ยงปลาได้ดี อย่างที่ผมทำอยู่นี่เน้นเรื่องเลี้ยงปลา เพราะบริเวณที่ผมอยู่มีน้ำชลประทานผ่าน จึงไม่มีปัญหาในเรื่องน้ำ ดังนั้น การเลี้ยงปลาจึงถือว่ามีประโยชน์กับผม ยิ่งเราเกษียณจากอายุงานด้วยแล้ว ต้องหาอะไรทำ เพื่อไม่ให้ชีวิตต้องอยู่แบบเหงาๆ ผมจึงเลือกมาเลี้ยงปลา และปลูกพืชผสมผสาน เพื่อให้ชีวิตของผมมีความสุขในทุกๆ วัน” คุณถาวร กล่าว คุณถาวร งานยางหวาย อยู่บ้านเลขที่ 105 หมู่ที่ 4 ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นชายวัยเกษียณผู้มากรอยยิ้ม ผู้มีความตั้งใจเลือกชีวิตเป็นเกษตรกรหลังเกษียณจากงานประจำที่ทำ เรียกง่ายๆ ว่า ไม่พียงแต่มีรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัวเท่านั้น เขายังมีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำอีกด้วย ไม่ขอ นั่งๆ นอนๆ ขอมีงานทำให้สุขใจ คุณถาวร เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีอาชีพรับราชการ เมื่อครบกำหนดเกษียณอายุ ปี 2550 จึงได้คิดริเริ่มที่อยากจะใช้เวลาว่างหลังเกษียณให้เกิดประโยชน์ จึงได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงปลา ตลอดจนการทำเกษตรแบบผสมผสานควบคู่ไปด้วย เพื่อให้มีรายได้หลากหลายช่องทางระหว่างที่รอปลาที่เลี้
ปลาตะเพียนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แม้ก้างจะเยอะแต่นิยมนำไปปรุงอาหาร ทั้งต้มยำ ทอดกรอบ และต้มเค็ม เมืองอู่ข้าวอู่น้ำอย่างสุพรรณบุรีซึ่งเป็นแหล่งปลาตะเพียน เมื่อชาวบ้านจับปลาได้มากๆ มักถนอมอาหารด้วยการต้มเค็มเพราะเก็บไว้กินได้นานหลายวัน เสถียร ท้วมจันทร์ ข่าวสดสุพรรณบุรี พาเข้าครัวเมืองขุนแผน หาสูตรเด็ดต้มเค็มปลาตะเพียนที่ยิ่งอุ่นยิ่งอร่อย เริ่มต้นหาปลาตะเพียนสดๆ ตาใสๆ ผ่าท้องเอาเครื่องในออก ระวังอย่าให้ดีแตก ถ้าแตกจะขมทั้งหม้อ (ที่เขาเรียกว่าดีแตกเป็นอย่างนี้เอง)จากนั้นล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง โปรดฟังอีกครั้ง ดีเป็นส่วนประกอบในท้องปลาเล็กๆ มีสีเขียว ขั้นตอนสำคัญอีกอย่าง ปลาตะเพียนต้องไม่ขอดเกล็ด เตรียมอ้อยเหลือง ปอกเปลือก ทุบพอบุบเพื่อให้น้ำอ้อยออก นำไปรองก้นหม้อเพื่อไม่ให้ปลาติด นำปลาที่เตรียมไว้มาวางทับบนอ้อย ห้ามคนเด็ดขาด เดี๋ยวเนื้อปลาหลุด ทำน้ำขุ่นด้วย ใส่น้ำสะอาด หอมแดงทุบ เกลือ น้ำปลา น้ำส้มมะขาม เคี่ยวไปเรื่อยๆ ด้วยไฟอ่อนๆ จนเนื้อปลาเริ่มเปื่อย สังเกตที่เกล็ดปลาตะเพียนจะพองๆ ใส่น้ำตาลปี๊บลงไปตามชอบ เมนูนี้จะได้ความหวานจากอ้อยและน้ำตาล ยิ่งเคี่ยวก้างยิ่งเปื่อย รสชาติกลมกล