ปลาตู้
“ปลากัด” เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงกันมาเป็นเวลานานแล้ว เพราะหาได้ง่ายตามลำน้ำลำคลองทั่วไป อีกทั้งมีสีสันลวดลายที่งดงาม ต่อมาได้มีการผสมข้ามพันธุ์กับต่างสายพันธุ์ จึงมีสายพันธุ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย จนในปัจจุบันมีสายพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพันธุ์ แล้วแต่ว่าเราจะเลือกเลี้ยงแบบไหน การเลี้ยงปลากัดในสมัยแรก จะมีเหตุผลเพื่อกีฬากัดปลา ดังนั้น นับแต่อดีตจึงมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันแพร่หลาย เนื่องจากเพาะพันธุ์ได้ง่าย ไม่ต้องการความดูแลเอาใจใส่มากนักจึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่หัดเริ่มเลี้ยง อีกทั้งระหว่างเลี้ยงก็ไม่มีความยุ่งยาก อาทิ ไม่จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมาก อย่างไรก็ตาม ในธรรมชาติมักจะพบปลากัดไทยได้ทั่วไปในน้ำที่นิ่ง หรือน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ นอกจากนั้นแล้ว ยังพบปลากัดไทยในนาข้าว กระจายทั่วไป โดยปลากัดเลี้ยงมักมีอายุเฉลี่ยเต็มที่ 2 ปี หรือน้อยกว่า แล้วแต่ผู้เลี้ยงมีการดูแลรักษาสุขภาพปลาดีแค่ไหน ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมตามธรรมชาตินั้นมักจะมีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว มีลายตามตัวรวมถึงครีบ และมีหางสั้น ส่วนปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าเพศเมียเล็กน้อย ครั้นต่อมา ความนิยมการ
ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาสวยงามส่งจำหน่ายยังต่างประเทศและส่งขายในตลาดปลาใหญ่ในเขตเมือง แม้จะมีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามหลายฟาร์ม แต่การไม่เอ่ยถึง “มณฑา ฟาร์ม” คงไม่ได้ เพราะเจ้าของฟาร์มปลาสวยงามแห่งนี้ มีดีกรีถึงเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2555 ในสาขาอาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ เพราะการเริ่มต้นบุกเบิกสร้างฟาร์มปลาจากเล็กไปใหญ่อย่างมีระบบและได้คุณภาพมาตรฐานฟาร์ม จึงทำให้มณฑา ฟาร์ม ติดอันดับต้นๆ ของฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามส่งออกรายใหญ่ ชื่อฟาร์มตรงตามชื่อเจ้าของ คุณมณฑา สร้อยแสง เจ้าของฟาร์ม เริ่มต้นทำฟาร์มปลาจากประสบการณ์แบบครูพักลักจำในวัย 20 ตอนปลาย หลังหน่ายจากอาชีพสาวโรงงาน และเก็บงำความรู้ที่ได้จากการช่วยพี่สะใภ้ทำฟาร์มปลาสวยงามมานาน ด้วยเงินเพียง 15,000 บาท ที่ติดลบ เพราะเป็นเงินกู้ที่นำมาเป็นต้นทุนก้อนแรก คุณมณฑา ใช้สร้างล็อกได้ถึง 10 ล็อก และเงินอีกจำนวน 1 ใน 3 หมดไปกับการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นในการเลี้ยงปลา พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลา คุณมณฑาหาซื้อในละแวกไม่ไกลบ้าน เพ
ปลาหางนกยูง เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ความรู้โดยพื้นฐานของคนไทยโดยทั่วไป เข้าใจว่า เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ปล่อยตามอ่าง แอ่ง กาละมัง หรือถังน้ำ ก็เลี้ยงได้แล้ว ทั้งยังขยายพันธุ์ได้ง่าย เริ่มต้นจากแค่ไม่กี่ตัว ไม่นานก็ออกลูกออกหลานมากมาย คุณเดชา ฤทธิเดช ชาวมีนบุรี ก็เข้าใจเช่นนั้นมาตลอด ต่อเมื่อมาเริ่มลงมือเลี้ยงเอง และตั้งเป้าขยายพันธุ์ปลาหางนกยูงขาย ถึงได้รู้แจ่มแจ้งว่า การเลี้ยงปลาหางนกยูงที่ว่าง่าย ต้องเข้าใจวิธีการเลี้ยงด้วย จึงจะเรียกได้ว่าง่าย ไม่อย่างนั้นแล้ว ก็ไม่รอดเหมือนกัน แม้จะมีประสบการณ์จากการเลี้ยงปลามาก่อน ก็ไม่ได้ช่วยให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในระยะเริ่มแรกดำเนินไปด้วยดี เพราะเป็นการเลี้ยงปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาสวาย ซึ่งครอบครัวของคุณเดชาทำมานานก็จริง แต่ไม่ประสบความสำเร็จกับการเลี้ยงปลากินเนื้อกลุ่มนี้ การเลี้ยงปลาหางนกยูง จึงเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับคุณเดชา แรงกระตุ้นให้เริ่มเลี้ยงปลาหางนกยูง อยู่ที่การเห็นปลาหางนกยูงวางขายที่ตลาดปลาในตลาดนัดสวนจตุจักร นั่นหมายถึง ปลาหางนกยูงยังคงขายได้อยู่ตลอด แม้ว่าราคาขายค่อนข้างแพง “เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว หางนกยูงสายพันธุ์จากต่าง
เพื่อนฝูงหลายคนถามมาว่าจะไม่อยู่บ้านไปต่างจังหวัดหลายวัน ควรทำอย่างไรกับปลาที่เลี้ยงไว้ดี ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นเป็นประจำปีละหลายครั้ง เพราะบ้านเรามีวันหยุดยาวเยอะมาก ทั้งเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา โอยนับไม่ไหว… แต่ละครั้งที่หยุดยาวปลาที่เลี้ยงไว้ก็มักเกิดปัญหา กลับบ้านมาอีกทีปลาลอยตายอืดยกตู้ ไม่ก็เจ็บไข้ได้ป่วยต้องมารักษากันให้วุ่น หรือไม่ก็หิวโซไล่ตอดกันเองเนื่องจากไม่ได้กินอะไรเลยเป็นเวลาหลายๆ วัน โดยปรกติวิสัยคนเลี้ยงปลาก็มักจะให้อาหารปลาวันละครั้งบ้างสองครั้งบ้าง มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำดูแลความสะอาดและตรวจสอบสุขภาพความแข็งแรงของปลากันเป็นประจำ พอไม่อยู่บ้านนาน ๆ ปลาถูกทิ้งไว้ไม่ได้รับการดูแลตามปรกติปัญหาก็เริ่มเกิด ยกเว้นมีการเตรียมพร้อมที่ดีและถูกต้องซึ่งเป็นเรื่องที่ผมกำลังจะพูดถึงอยู่นี่แหละครับ หากจำเป็นต้องทิ้งปลาไปเที่ยววันสองวันควรทำดังนี้ 1. เปลี่ยนถ่ายน้ำ ทำความสะอาดตู้และระบบกรอง ปฏิบัติตามปรกติอย่างที่ทำเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่ให้ทำเพิ่มในวันก่อนจะไม่อยู่บ้านเพื่อความมั่นใจเรื่องความสะอาดของน้ำ 2.ตรวจสอบสุขภาพปลาทุกตัว หากมีตัวไหนอาการผิดปรกติให้รีบ