ปลานวลจันทร์
ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ น่าสนใจออกมาทำตลาดสร้างรายได้ให้กับสมาชิก และเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในชุมชนที่จะกระจายรายได้ไปในวงกว้าง เช่นเดียวกับ วิสาหกิจชุมชนจันทราบุรี@ปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี น้องใหม่อายุยังไม่ครบขวบดี มาแรงด้วยผลิตภัณฑ์เด่นแปรรูปปลานวลจันทร์ส่งตลาดภายใน-ต่างประเทศ เรียนรู้ เที่ยว ชิม ช้อป วิสาหกิจชุมชนจันทราบุรี@ปากน้ำแหลมสิงห์ คุณสุภิดา ลิ้นทอง ประธานวิสาหกิจชุมชนจันทราบุรี@ปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี หรือ คุณตุ๋ม เล่าว่า วิสาหกิจชุมชนจันทราบุรี@ปากน้ำแหลมสิงห์ เพิ่งจดทะเบียนตั้ง เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565 เป็นแหล่งเรียนรู้ แสดงและจำหน่ายสินค้าของชุมชนและเครือข่าย ตาม Concept “เรียนรู้ เที่ยว ชิม ช้อป” ด้วยศักยภาพพื้นที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำแหลมสิงห์ เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม มีวิถีชีวิตชุมชน อาชีพที่น่าสนใจ เมื่อส่งเสริมและพัฒนาการด้านอาชีพเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวชุมชน ทำให้เพิ่มรายได้เศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อดีของการเลี้ยงปลาในนาทางอ้อมพบว่า ปลาจะช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ช่วยให้อินทรียสารต่างๆ สลายตัวได้ง่าย สร้างระบบนิเวศช่วยให้ดินมีความสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มปุ๋ยในดิน จึงส่งผลในทางตรงทำให้ข้าวมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย นับเป็นการช่วยทุ่นแรงและลดต้นทุนได้อย่างดี ไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่ทำนาจะสามารถเลี้ยงปลาได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องความสมบูรณ์ของน้ำ และพื้นที่ที่เหมาะสมควรมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประทาน และควรมีน้ำตลอดปี ไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน สำหรับในพื้นที่ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ไม่ได้มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ และการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว แต่เหตุใดชาวบ้านกลับประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงปลาในนาได้อย่างไม่ยาก? แล้วในบางคราวยังมีจำนวนปลามากพอสำหรับการแปรรูปสร้างรายได้เสริมอีกด้วย คุณบวร สาริเพ็ง อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 6 บ้านฟ้าห่วน ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นคนแรกในชุมชนที่ริเริ่มเลี้ยงปลาในนา เพราะเห็นว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยเรื่องค่าครองชีพของครอบครัวได้พอ เลยหันมาหาการเลี้ยงปลาในนาข้าวเพื่อสร้างรายได้อ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาแปรรูปบ้านโพธิ์ตาก ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มนี้สร้างรายได้จากปลาเส้น ปลาส้มก้อน ปลาส้มตัว และหม่ำปลา เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งสร้างรายได้ให้สมาชิกทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้คนในชุมชนและต่างจังหวัด จนเป็นที่รู้จักกันดีในชุมชนเพราะเป็นการขายผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทำด้วยคุณภาพจึงเป็นการบอกต่อแบบปากต่อปาก คุณบุบผา สาพรมมา หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม เล่าว่า ปลาเส้นที่ทำขาย วัตถุดิบที่ใช้ทำเป็นปลานวลจันทร์ ปริมาณปลาที่ใช้ผลิตปลาเส้น จะใช้ตกวันละ 400 กิโลกรัมต่อวัน ปลานวลจันทร์จะมีพ่อค้าคนกลางมาส่ง โดยทางกลุ่มจะซื้อกิโลกรัมละ 35 บาท แต่เมื่อทำเป็นปลาเส้นแล้วจะขายกิโลกรัมละ 300 บาท เมื่อได้ปลานวลจันทร์มาแล้วสมาชิกในกลุ่มจะนำปลามาตัดหัว แร่เอาเครื่องในและเอาก้างออก ตัดด้วยกรรไกรเป็นเส้นๆ กลุ่มมีจำนวนสมาชิกจำนวน 30 คน ปัจจุบันเหลืออยู่ 26 คน ตั้งครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ครั้งแรกศูนย์รัตนาภา ที่ตั้งอยู่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนาสังคมมาอบรม ตอนแรกคนที่มาจะได้ค่าจ้างวันละ 50 บาท รวมค่ารถวันละประมาณ 105 บาท ค่าอาหาร 50 บา
ปลานวลจันทร์ทะเล (Milkfish) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Chanos chanos (Forsskal,1775) บางพื้นที่จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป คือ ปลาดอกไม้ ปลาทูน้ำจืด หรือปลาชะลิน ปลาชนิดนี้มีรูปร่างยาวเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลมแบนข้างเล็กน้อย ตามีเยื่อไขมันคลุมตลอด เกล็ดมีขนาดเล็กถี่ เป็นเกล็ดประเภทขอบกลม (Cycloid Scale) ครีบหลังและครีบก้นมีเกล็ดติดตามก้านครีบ มีเส้นข้างลำตัว (Lateral line) เห็นชัดเจน ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม (Forked type) ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาวกว่า 1.5 เมตร หนักประมาณ 10.6 กิโลกรัม ตามปกติอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็ว อยู่บนผิวน้ำ (Pelagic fish) ในประเทศไทยมีการพบลูกปลานวลจันทร์ทะเลเป็นครั้งแรกที่บริเวณชายฝั่งทะเลบริเวณบ้านคลองวาฬ ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี 2493 พบในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมและระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน หลังจากนั้นได้มีการสำรวจพบบางส่วนในเขตจังหวัดชุมพร เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระยอง และจันทบุรี ลูกปลาที่พบมีรูปร่างเรียวยาว ขนาดเล็กความยาว 1.5-2 เซนติเมตร ตัวใส ตากลมโตสีดำ กินตะไคร่น้ำ ไรน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร โดยปัจจุบันได้มีการเ
ปลานวลจันทร์ทะเล (Milkfish) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Chanos chanos (Forsskal,1775) บางพื้นที่จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป คือ ปลาดอกไม้ ปลาทูน้ำจืด หรือปลาชะลิน ปลาชนิดนี้มีรูปร่างยาวเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลมแบนข้างเล็กน้อย ตามีเยื่อไขมันคลุมตลอด เกล็ดมีขนาดเล็กถี่ เป็นเกล็ดประเภทขอบกลม (Cycloid Scale) ครีบหลังและครีบก้นมีเกล็ดติดตามก้านครีบ มีเส้นข้างลำตัว (Lateral line) เห็นชัดเจน ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม (Forked type) ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาวกว่า 1.5 เมตร หนักประมาณ 10.6 กิโลกรัม ตามปกติอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็ว อยู่บนผิวน้ำ (Pelagic fish) ปลานวลจันทร์ทะเล เพศผู้และเพศเมียมีรูปร่าง สีสัน และลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกันมาก ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ปลาเพศเมียจะมีท้องที่อูมกว่าเพศผู้เท่านั้น ลักษณะภายนอกที่ใช้บอกเพศคือ ปลาเพศผู้จะมีติ่งบอกเพศและช่องเปิด 2 รู ช่องแรกเปิดเป็นช่องขับถ่ายของเสีย ส่วนช่องที่สองซึ่งอยู่ที่ด้านท้ายเป็นช่องปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ ส่วนในปลาเพศเมียมีช่องเปิด 3 ช่อง ในประเทศไทยมีการพบลูกปลานวลจันทร์ทะเลเป็นครั้งแรกที่บริเวณชายฝั่งทะเลบริเวณบ้านคลองวาฬ ในเขตจังหวัดป
“ได้ไปที่ประจวบคีรีขันธ์ ที่คลองวาฬ ซึ่งมีสถานีประมงที่คลองวาฬเขาเลี้ยงปลาที่เป็นปลาทะเล เรียกว่า ปลานวลจันทร์ทะเล เขาจับปลานวลจันทร์เล็กๆ ที่อยู่ในทะเลเอามาขาย และสำหรับเลี้ยงในบ่อ ซึ่งถ้าเลี้ยงในบ่อน้ำมันจืดลง ปลานวลจันทร์ทะเลนั้นก็เติบโตได้ เป็นอันว่าจะเป็นอาชีพสำหรับชาวบ้าน ไปซื้อมา เขาไม่ได้ซื้อ เราซื้อให้ไป ซื้อเอามาปล่อยในอ่างเก็บน้ำ และเมื่อปล่อยแล้วมันก็เติบโต เติบโตดีปีหนึ่งมันเติบโตมาขายได้เป็นเงิน เป็นหลายแสน แต่ชาวบ้านก็ไม่ค่อยสนใจ จึงเลิกปลานวลจันทร์ทะเลมันไม่ มันไม่เติบโต เอ้อมันไม่แพร่พันธุ์ในบ่อ ในอ่างมันจะแพร่พันธุ์ได้แต่ในทะเล แต่ก็ยังไงก็จับได้และขายได้ ซึ่งถ้าสมมติว่าไปซื้อมาแล้วมาปล่อยแล้วก็ดูแล และถึงเวลาก็ขาย ก็เป็นอาชีพที่ดี” พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ปลานวลจันทร์ทะเล เป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ทั้งน้ำจืดรวมถึงน้ำเค็ม สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างมากมาย ทั้งยังมีรสชาติที่อร่อย นำไปประกอบอาหา