ปลานิลบ่อดิน
การเลี้ยงปลาในบ่อดิน สมัยก่อนผู้บริโภคจะมีความกังวลในเรื่องของกลิ่นโคลนเป็นอย่างมาก ต่อมาเกษตรกรได้มีการพัฒนาการเลี้ยงและได้ศึกษาความรู้ต่างๆ อย่างจริงจัง ส่งผลให้การเลี้ยงปลาในบ่อดินเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และสามารถจำหน่ายเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานมีการรับรองมาตรฐานจีเอพี (GAP) สามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ไม่น้อยทีเดียว ต่อมาเมื่อตลาดมีความต้องการมากขึ้น เกษตรกรจึงมีการสร้างกลุ่มที่เข้มแข็ง สามารถผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่องมีรายได้ไม่ขาดช่วง คุณทองอยู่ ไหวพริบ อยู่ที่ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่คร่ำหวอดในเรื่องของการเลี้ยงปลานิลและปลาทับทิม โดยการเลี้ยงที่นี่จะเน้นเลี้ยงในบ่อดิน แต่มีกระชังสำหรับใส่เลี้ยงอีกชั้นหนึ่ง โดยปลาทั้งหมดจะอยู่ภายในกระชัง ปลาสามารถโตดีตามมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ต่อมาเกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ส่งปลาภายในกลุ่มเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เป็นสินค้าที่สร้างได้ให้กับเกษตรกรในย่านนี้ตลอดทั้งปี คุณทองอยู่ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเริ่มเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินเหมือนเช่นทุกวันนี้ สมัยก่อนได้ทำนายึดเป
ปลานิล ปลาน้ำจืดตระกูลทิลาเปีย คือ Nile Tilapia จำนวน 50 ตัว ที่ได้จากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะแห่งญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระอิสริยะยศมกุฎราชกุมาร ได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี 2508 ซึ่งพระองค์ได้ทรงนำไปเลี้ยงไว้ที่บ่อปลาสวนจิตรลดา โดยมีกรมประมงดูแลในเรื่องการเพาะขยายพันธุ์ได้ผลเป็นอย่างดี ในเวลาต่อมาพระองค์ได้พระราชทานลูกปลานิล ขนาด 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมง นำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่แผนกทดลอง และเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลางบางเขน และสถานีประมงต่างๆ อีกจำนวน 15 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมให้กับประชาชนต่อไป จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้ปลานิลกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย คุณทองนาค สีเคนา อยู่บ้านเลขที่ 70 บ้านนาคำน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ได้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลานิลจนประสบผลสำเร็จ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างมีความสุข จึงทำให้ฟาร์มแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจการเลี้ยงปลานิล ได้เข้ามาศึกษาและนำไปปฏิบัติจนเป็นงานที่สร้างรายได้สืบต