ปลาปักเป้า
BBCไทย – ปลาปักเป้าที่มีพิษร้ายแรงถึงชีวิต กลับเป็นอาหารจานโปรดที่มีราคาแพงในญี่ปุ่นและหลายประเทศในเอเชียตะวันออก ซึ่งจะต้องปรุงโดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่รู้จักวิธีนำพิษออกและมีใบอนุญาตโดยเฉพาะเท่านั้น แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมายังคงมีผู้ถูกพิษจากการรับประทานเนื้อปลาปักเป้าอยู่ไม่น้อย ความต้องการลิ้มรสเนื้อปลาปักเป้าที่แสนอร่อย ต้องถูกขัดขวางด้วยความเสี่ยงสัมผัสพิษ Tetrodotoxin ที่มีอยู่ในตับ รังไข่ ลูกตา และหนังปลา จนหลายคนรู้สึกกล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะกินปลาชนิดนี้ แต่ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทงของจีน และมหาวิทยาลัยนอตติงแฮมของสหราชอาณาจักร สามารถค้นพบและสกัดสารให้รสอร่อยหรือ “อูมามิ” ในเนื้อปลาปักเป้าออกมาได้แล้ว ซึ่งในอนาคตจะใช้เป็นต้นแบบในการสังเคราะห์สารให้รสปลาปักเป้า เพื่อนำไปปรุงอาหารที่รับประทานได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงถูกพิษร้ายแรงกันอีกต่อไป ทีมนักวิทยาศาสตร์มองหาสารประกอบที่ให้รสอูมามิในปลาปักเป้าสายพันธุ์ Takifugu obscurus ซึ่งพบได้ทั่วไปในแถบทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ โดยบดเนื้อเยื่อส่วนกล้ามเนื้อของปลาให้ละเอียด ทำให้สุกก่อนนำไปกรองแล
กรมประมงเตือนรับประทานปลาปักเป้าน้ำจืดเสี่ยงต่อการได้รับพิษอัมพาตและเป็นอันตรายถึงตาย ไม่ควรนำมารับประทานเพราะถึงแม้จะนำปลามาต้มแล้วแต่พิษของปลาที่ละลายในน้ำก็จะสามารถทนความร้อนได้สูง พิษของปลาปักเป้าชนิดที่มีพิษนั้นแม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นควรปฏิบัติตามข้อตักเตือนของกรมประมงพร้อมปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะผู้ขายเพื่อที่เราจะไม่ได้เห็นข่าวพี่น้องของเราต้องเสียชีวิตลงเพราะปลาปักเป้าอีกต่อไป น.ส.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง ให้รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมหลังพบผู้เสียชีวิตเมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมาจากการนำปลาปักเป้าไปรับประทานว่า จากการสำรวจพบว่าปลาปักเป้าในน่านน้ำไทยมีทั้งหมด 42 ชนิด แบ่งเป็นปลาปักเป้าน้ำจืด 9 ชนิด และอีก 33 ชนิด เป็นปลาปักเป้าน้ำเค็มและน้ำกร่อย สำหรับปลาปักเป้าน้ำจืดของไทยพบว่าพิษถูกจัดอยู่ในกลุ่มพิษอัมพาต (Paralytic Shellfish Poison, PSP) ได้แก่ Saxitoxin(STX) ซึ่งพิษ STX จะมีคุณสมบัติละลายในน้ำและแอลกอฮอล์ มีความคงตัวในกรดอ่อน และสลายตัวในสภาพความเป็นด่าง ความร้อนสูงจากการประกอบอาหารไม่สามารถทำลายพิษนี้ได้ จากการศึกษา