ปลูกกะเพรา
บริษัท ซีพีแรม จำกัด (CPRAM) ผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทาน ให้ความสำคัญกับการเลือกสรรวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเทรนด์กระแสหลักสำหรับวงการอาหารและเครื่องดื่มในปี 2568 เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เดินหน้าต่อเนื่องสานต่อความสำเร็จ “โครงการเกษตรกรคู่ชีวิต” มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกกะเพราของเกษตรกรในชุมชนท้องถิ่นรอบโรงงานซีพีแรม ให้สอดคล้องตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) เพื่อสร้างความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ปลูก สร้างรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร พร้อมสร้างความปลอดภัยทางอาหาร – ความมั่นคงทางอาหาร – ความยั่งยืนทางอาหาร ปลูกกะเพราขายซีพีแรมสร้างรายได้งามตลอดปี กลุ่มเกษตรกร 10 ครัวเรือนในพื้นที่หมู่ 3 ตำบลโนนแดง อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น มีอาชีพและรายได้อย่างมั่นคง เฉลี่ยเดือนละ 2 แสนบาท หลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรคู่ชีวิต ของบริษัท ซีพีแรม จำกัด (ขอนแก่น) นายประหยัด อุสาย เกษตรกรต้นแบบของโครงการเกษตรกรคู่ชีวิต ในจังหวัดของแก่น กล่าวว่า ปี 2560 เจ้าหน้าที่ซีพีแรมมาชวนปลูกกะ
หากใครยังมีพื้นที่ว่างเหลือที่บ้าน อยากชวนมาดูแลตัวเอง ด้วยการปลูก “กะเพรา” สมุนไพรไทยต้านไวรัส เพื่อใช้เป็นอาหารบริโภคในครัวเรือน สร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกคนที่คุณรัก หากใครสนใจปลูกกะเพราเป็นอาชีพเสริมรายได้ ก็ถือเป็นเรื่องดีงาม มั่นใจได้เลยว่า อาชีพปลูกกะเพรา มีโอกาสสร้างรายได้ที่มั่นคงได้ เพราะกะเพราเป็นพืชสวนครัวยอดนิยมที่ปลูกดูแลง่าย ขายดี ตลาดมีความต้องการใช้กะเพราตลอดทั้งปี กะเพรา มีสรรพคุณด้านสมุนไพรมากมาย ดังนี้ “ใบ” บำรุงธาตุไฟ ขับลมแก้ปวดท้อง แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน “เมล็ด” เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย “ราก” ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ ปู่ยาตายายในบางท้องถิ่น สอนให้ลูกหลานใช้กะเพราเป็นสมุนไพรดูแลสุขภาพ เช่น นำใบสดหรือกิ่งสดมาขยี้ ใช้ไล่ยุง-แมลง และใช้ใบกะเพราตำผสมกับเหล้าขาว ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ส่วนน้ำมันสกัดจากใบกะเพราสด ช่วยล่อแมลงวันทองบินให้มาติดกับดักได้อีก กะเพราปลูกง่ายโตไว ปัจจุบัน กะเพราท
เมื่อสิบกว่าปีก่อน สมัยที่ยังวนเวียนไปนั่งกินข้าวเย็นกับสมาคมเพื่อนฝูงหนุ่มๆ สาวๆ ก็มีย่านแพร่งภูธร เขตพระนคร กรุงเทพฯ ที่ผมมักนั่งประจำร้าน “เสรี” จำได้ว่าเขานิยามตัวเองว่าเป็น “ครัวกุ๊กสมเด็จ” ด้วยร้านหนึ่ง ฝีมือทำกับข้าวไทยภาคกลางของเขารสจัด อร่อยคงเส้นคงวามาจนถึงทุกวันนี้ครับ ที่ผมมักสั่งกิน ก็มียำปลาทู โป๊ะแตก สเต๊กเนื้อ แกงป่าเนื้อ และผัดกะเพราหมูสับ ซึ่งเขาจะใส่หอมแดงซอยด้วย ทำให้ผัดกะเพราของเขารสหวานหอม มีเอกลักษณ์ทีเดียว พวกเราคุ้นกับคุณเสรี เจ้าของร้านอยู่บ้าง บางครั้งเห็นเขาออกมาเตะบอลกับลูกชายที่หน้าร้าน แต่ที่เห็นบ่อย คือภาพเขานั่งเด็ดเครื่องสมุนไพรสดใส่เครื่องบด ทำพริกแกงป่าให้พวกเรากินกันสดๆ ร้อนๆ นั่นแหละ ผมจำได้ว่า คุณเสรี เด็ด “ดอกกะเพรา” ใส่เครื่องบดผสมเป็นพริกแกงหอมๆ นั่นด้วย ความรู้สึกตอนนั้นก็คือเข้าใจนะครับ ว่าดอกกะเพรานั้นมีกลิ่นหอม ย่อมใส่ผสมพริกแกงได้แน่ แต่ออกจะเห็นว่า ดอกกะเพราที่คุณเสรีเด็ดใส่ไปในเวลานั้นดูไม่ใช่กะเพราพันธุ์ฉุนหอมสักเท่าใด คงไม่น่ามีผลเรื่องกลิ่นมากนักด้วยซ้ำ ต่อมาภายหลังก็เริ่มได้ยินว่า พริกแกงป่า แกงเผ็ด ของบางวัฒนธรรมมีใส่ดอกกะเพราสด หรื