ปลูกปาล์มน้ำมัน
มาตรฐาน ‘RSPO’ ยกระดับผู้ผลิตปาล์มน้ำมันไทยสู่มาตรฐานสากล ตอกย้ำเกษตรกรสวนปาล์มกว่า 5 ล้านไร่ สร้างผลผลิตที่ยั่งยืน น้ำมันปาล์มเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่เราใช้ในชีวิตประจำวันทั้งอุปโภคและบริโภค ดังนั้น การผลิตน้ำมันปาล์มให้เกิด ‘ความยั่งยืน’ จึงเป็นแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก และในประเทศไทยก็เช่นกัน ซึ่งน้ำมันปาล์มเป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของโลก โดยประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้เอง และปลูกปาล์มมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งมีพื้นที่ในการปลูกปาล์มมากกว่า 5 ล้านไร่ ทั้งยังมีแนวโน้มในการใช้น้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศสูงขึ้นทุกปี สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากเราจะใช้ในการบริโภคในชีวิตประจำวันแล้ว ยังนำไปใช้ในส่วนของอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องสำอาง และต่อยอดไปอีกในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ เรียกได้ว่า ตื่นเช้ามาทุกคนจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์ม ตั้งแต่สบู่ ยาสีฟัน แชมพู และเครื่องสำอางที่ใช้ทุกวัน หรือขนมขบเคี้ยวและของทอด ก็อาจมีน้ำมันปาล์มเป็นส่วนหนึ่งในนั้น ยังไม่นับการนำน้ำมันปาล์มไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอีกหลายอย่าง ไม่ว่
วันที่ 7 กันยายน 2565 นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง นำผู้สื่อข่าวลงพื้นที่แปลงปาล์มน้ำมันอายุ 8 ปี เนื้อที่ 6 ไร่ ในพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ของนายระบิล คล้ายนอง ซึ่งกำลังประสบปัญหาการเข้าทำลายของด้วงแรดกระจายทั่วทั้งแปลง แปลงปลูกปาล์มน้ำมันแห่งนี้ พบการทำลายของด้วงแรดกัดเจาะโคนทางใบต้นปาล์ม จนหักโค่นพร้อมกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน ไม่สมบูรณ์ มีด้วงแรดเข้ามาวางไข่ ทำให้ทางใบปาล์มน้ำมันเกิดโรคยอดเน่า ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันตายในที่สุด ในเบื้องต้นสำนักงานเกษตรอำเภอย่านตาขาวแนะนำให้เกษตรกรควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยใช้กับดักฟีโรโมนที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เพื่อล่อจับตัวเต็มวัยของด้วงแรด โดยนำถังที่ติดแผ่นฟีโรโมนเหนือถังไปแขวนให้สูงจากพื้น 3 เมตรขึ้นไป กับดักฟีโรโมน จะดึงดูดให้ด้วงแรดบินชนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดซึ่งเป็นต้นกำเนิดกลิ่น ทำให้ด้วงแรดตกลงในถัง (เนื่องจากด้วงแรดไม่สามารถบินขึ้นในแนวดิ่งทันทีได้ จึงอยู่ภายในกับถังดัก) จากนั้นเกษตรกรสามารถเก็บด้วงแรด
สะสมที่ดินทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ในนาม “สวนประชาราษฎร์” ร้องรัฐบาลแก้ไขปัญหาราคาตกต่ำมานานแล้ว ทางรอดต้องรวมกลุ่มแปรรูปเท่านั้น!! มีโอกาสได้สนทนาแลกเปลี่ยนกับนายหัวภาคใต้ที่มีชื่อเสียงด้านการทำสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน เจ้าของสวนประชาราษฎร์ บ้านตะปาน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขาชื่อ คุณนิคม เมฆฉาย ปัจจุบันเปลี่ยนนามสกุล เมฆรัตนะ หลายคนเรียกชื่อ นายหัว เพราะความสนิทสนมและมีอัธยาศัยดี ที่สำคัญประกอบอาชีพหลายอย่างที่ผ่านมาจนมีฐานะดีคนหนึ่งในถิ่นภาคใต้ คุณนิคม หรือนายหัว ของบรรดาพี่ๆ น้องๆ ที่ชอบคบค้าสมาคมกันมาช้านาน ถ้าไม่สนิทกันจริงก็ไม่เคยเล่าชีวประวัติให้ฟัง ไม่อยากเอ่ยถึงสถานะราคายางพารากับราคาปาล์มน้ำมัน สุดจะขมขื่นของคนใต้ที่ประสบมาทุกครัวเรือน แม้กระทั่งสวนประชาราษฎร์ที่มีพื้นที่ปลูกหลายร้อยไร่ก็ถูกหางเลขไปกับเขาด้วย เพราะฉะนั้น คนเราจะประกอบอาชีพอะไรมันเหมือนแทงหวย จะออกตรงกับเราแทงหรือเปล่า สินค้าเกษตรเอาแน่นอนไม่ได้ เพราะอย่างช่วงราคาดีเมื่อเกือบ 20 ปี คนใต้ร่ำรวยจากยางกันเยอะ ถึงกับลงทุนไปขยายสวนทางภาคอีสานกันหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดเลยและบุรีรัมย์ เดี๋ยวนี้คงทน