ปลูกผักหวาน
จำได้ว่าสมัยก่อน ผักหวานป่า หากินยากมาก เพราะจะมีอยู่แต่ในป่าและได้กินเฉพาะช่วงหน้าร้อน-หน้าฝน เท่านั้น แต่หลายปีมานี้มีการนำเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่ามาปลูกกันอย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบผักชนิดนี้มีกินได้ตลอดทั้งปี ในราคาที่จับต้องได้ สวนผักหวานป่า อมรฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ที่ 2 ตำบลโพนสุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นอีกแห่งที่ปลูกผักหวานป่าขายทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม โดยมี คุณพิมพ์พกานต์ ซ้ายกาละคำ อดีตพยาบาลสาว เป็นเจ้าของ ซึ่งในสวนนี้มีเนื้อที่ 23 ไร่ นอกจากจะปลูกผักหวานป่า 6.5 ไร่ ยังแบ่งปลูกพืชผักผลไม้อื่นๆ อีก อาทิ ไผ่บงหวาน 6.5 ไร่ ปลูกข้าว รวมถึงมะม่วง มะขามเทศ หม่อน ฝรั่งไส้แดง มะเดื่อฝรั่ง สมุนไพรหลากหลาย พืชผักสวนครัวนานาชนิด และเห็ดขอนขาว เดิมคุณพิมพ์พกานต์ทำงานเป็นพยาบาล อยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ และเป็นพยาบาลอิสระ รวมระยะเวลากว่า 10 ปี กระทั่งเริ่มสนใจการทำเกษตรอย่างจริงจัง เนื่องจากเจ้าตัวมองแล้วว่าคนต้องกินอาหารทุกวัน การทำธุรกิจอาหารและการเกษตรน่าจะเหมาะกับยุคปัจจุบันที่พืชผักอาหารราคาแพงขึ้น ในส่วนของราคาผักหวานป่าก็แพง ตกกิโลกรัมละ 300-500 บาท ถือว่าส
ลำไย เป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล มีพื้นที่เพาะปลูกในประเทศกว่า 1.10 ล้านไร่ แหล่งเพาะปลูกส่วนใหญ่กว่า ร้อยละ 81 อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ แถบจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา และน่าน ที่เหลือกระจายอยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออก เช่น สมุทรสาคร จันทบุรี ฯลฯ ปัจจุบัน ผลผลิตลำไยส่วนใหญ่ถูกส่งออกในลักษณะลำไยสด ลำไยอบแห้ง ลำไยแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ลำไย ฯลฯ ไปยังตลาดคู่ค้าหลักคือ จีน อินโดนีเซีย ฮ่องกง เวียดนาม แคนาดา มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศมากกว่าปีละหมื่นล้านบาท ทำให้เกษตรกรรายเก่าและรายใหม่สนใจที่จะลงทุนทำสวนลำไยเพื่อป้อนตลาดส่งออก ลำไย เป็นไม้ผลที่ต้องใช้ระยะเวลาปลูกนานพอสมควร ดังนั้น ระหว่างที่รอเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป เกษตรกรสามารถหารายได้เสริมในสวนลำไยได้หลายช่องทาง เช่น ปลูกผักหวานออกจำหน่าย โดยเริ่มจากขุดหลุมและรองก้นหลุมด้วยขี้วัว ปลูกผักหวานในระยะห่าง ประมาณ 1.5×2 เมตร จะปลูกผักหวานได้ 500 ต้น ต่อไร่ หากปลูกในระยะห่าง 2×2 เมตร จะได้ 400 ต้น ต่อไร่ ดูแลให้น้ำต้นผักหวานอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงแรกที่ปลูกจะให้น้ำท
ผักหวานป่า ถือเป็นผักพื้นบ้านอีกชนิดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นอกจากรสชาติที่อร่อย ยังเป็นพืชพันธุ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นฤดูที่ราคาจำหน่ายจะสูงมาก ทั้งนี้ มีเคล็ดลับการปลูกผักหวานป่า ที่จะทำให้รอดตายและเจริญเติบโตเร็ว คือเริ่มจากการเตรียมหลุมปลูกและปรับปรุงดินปลูกให้ร่วนซุย นอกจากนี้ยังเตรียมต้นกล้าที่สมบูรณ์และกรีดถุงต้นกล้าลงหลุม ระวังอย่าให้ตุ้มดินแตกและแปลงปลูกต้องมีพืชร่มเงาให้แสงแดดรำไร รวมถึงในช่วงแล้งปีที่ 1 และ 2 อย่าให้ต้นผักหวานป่าขาดน้ำและร่มเงา โดยเมื่อพ้นแล้งปีที่ 2 จะสังเกตเห็นต้นผักหวานป่าเติบโตได้เร็ว การปลูก จะเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ขุดหลุม ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ผสมวัสดุปลูกโดยใช้ดิน ปุ๋ยคอก แกลบดิบ ที่ย่อยสลายแล้ว อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วกลบลงในหลุมปลูก การเตรียมวัสดุปลูกที่ดีจะทำให้ต้นผักหวานป่าเจริญเติบโตได้เร็ว ระยะปลูกสามารถปลูกได้หลายระยะ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูก ได้ตั้งแต่ 1×1 เมตร หรือ 1.5×1.5 เมตร ซึ่งเป็นการปลูกระยะชิดเพ
คุณบุญ แก้วภิภพ เกษตรกรเจ้าของสวนผักหวานป่า เล่าว่า มีพื้นที่ทั้งหมด 49 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่นา 30 ไร่ อ้อย 14 ไร่ และพื้นที่ป่าซึ่งมีพื้นที่ป่าเต็งรังเป็นป่าไม้ผลัดใบ ประมาณ 5 ไร่ ในช่วงปี 2551 เริ่มมีแนวความคิดอยากทำการเกษตรที่นอกเหนือจากทำนาข้าว จึงมาพิจารณาสวนผืนป่าเต็งรังที่มีอยู่ หากทำไร่ก็ต้องถางป่า ตัดต้นไม้ออก เกิดความเสียดายต้นไม้ และยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ทั้งพืชผักท้องถิ่น ทั้งเห็ดป่า และสัตว์ป่า ดังนั้น จึงปรึกษากับครอบครัว หาข้อมูล สรุปว่า ผักหวานป่า เหมาะที่สุด เนื่องจากในพื้นที่ป่ามีต้นผักหวานป่าอยู่เดิมแล้ว และเป็นอาหารของคนอีสานที่ชอบรับประทาน ประกอบกับช่วงนั้นต้นผักหวานป่าตามธรรมชาติเริ่มลดลง หายาก จึงมีแนวคิดอยากลองปลูก ถือว่าเป็นการอนุรักษ์ป่าไปในตัว สวนกระแสของคนท้องถิ่นที่ถางป่าทำไร่ในขณะนั้น จึงถูกมองว่าเป็นคนสวนกระแส ปลูกในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะผักหวานป่าปลูกยาก มีคนในพื้นที่ลองปลูกมาแล้วหลายคนก็ไม่สามารถดูแลรักษาให้รอดได้ ยิ่งทำให้อยากลองเพื่อพิสูจน์ตนเองให้คนอื่นๆ เห็นว่า ทำได้ จึงตัดสินใจหาข้อมูล เดินทางหาเมล็ดผักหว