ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
จากกระแสรักสุขภาพที่ยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นแรงจูงใจและเป็นโอกาสสำหรับใครหลายคนที่กำลังมองหาอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก หันมาเริ่มต้นปลูกผักเพื่อสร้างรายได้ โดยเฉพาะการปลูกผักสลัด ที่มีความต้องการของตลาดสูง ปลูกง่าย ให้ผลผลิตไวเพียง 45-60 วัน หากท่านใดสนใจวิธีการปลูกผักสลัดก็มีทั้งรูปแบบการปลูกลงดิน และการปลูกแบบไร้ดิน หรือที่เรียกว่าการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งมีกระบวนการที่แตกต่างกัน แบ่งตามความสะดวกและความถนัดของแต่ละบุคคล คุณจัตุชัย ใจฉลาด หรือ คุณนุ๊ก เจ้าของแม่โจ้ไฮโดรฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ 489 หมู่ที่ 11 ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย อดีตลูกจ้างประจำกรมป่าไม้ ผันตัวเป็นเกษตรกรปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เด่นที่เทคโนโลยีการผสมธาตุอาหารใช้เอง พืชได้ปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสม ต้นทุนในการผลิตต่ำลง ผักโตดี เป็นที่ต้องการของตลาด คุณนุ๊ก เล่าให้ฟังว่า ตนเองเรียนจบสาขาวิชาเกษตรป่าไม้ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หลังเรียนจบมีโอกาสได้เข้าทำงานเป็นลูกจ้างประจำกรมป่าไม้ บ้านหนองกระทิง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งด้วยระยะทางระหว่างบ้านของตนเองที่อยู่จังหวัดหนองคาย กับที่ทำงา
เจ๊นิด-คุณอุไร ภิรมย์พุ่ม หญิงแกร่งเจ้าของร้านบ้านสวนไฮโดรฟาร์ม จำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์ ปลีก-ส่ง อยู่ที่ตลาดสี่มุมเมือง อาคารผักพื้นบ้าน ซอย 4/34 ผู้สวมบทบาทเป็นทั้งเกษตรกร แม่ค้า และนักธุรกิจค้าส่งในเวลาเดียวกัน โดยเจ๊นิด เล่าให้ฟังว่า อาชีพดั้งเดิมเป็นแม่ค้าขายผลไม้มาก่อน ทำมานานกว่า 14 ปี จนกระทั่งในปี 54 มาเจอกับวิกฤตน้ำท่วมอย่างหนัก จนทำให้เกือบล้มละลาย สวนผลไม้เสียหายทั้งหมด ด้วยพื้นที่ปลูกที่อยู่ที่อำเภอลาดหลุมแก้วเป็นพื้นที่รับน้ำ ทำให้ต้องเลิกราอาชีพทำสวนผลไม้ไป ซึ่งในช่วงนั้นคิดหนักมากว่าจะทำอะไร สุดท้ายตัดสินใจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะมองไปเห็นเพื่อนบ้านปลูกแล้วน่าสนใจ จึงลองไปเสริชข้อมูลการปลูกจากในยูทูบ และเริ่มทดลองปลูกผักสลัดจากพื้นที่เล็กๆ เพียง 10 แปลง เมื่อได้ผลผลิตออกมาก็นำไปขายที่ตลาดนัดใกล้บ้าน แล้วก็ได้เสียงตอบรับจากลูกค้าไปในทิศทางที่ดี มาประกอบกับที่มีฐานลูกค้าเดิมที่เคยซื้อผลไม้มาก่อนแล้ว จึงได้ต่อยอดการตลาดจากลูกค้าฐานเดิม โดยการสอบถามความต้องการของแต่ละเจ้าว่ามีใครต้องการผักสลัดมากน้อยแค่ไหน ก็กลายเป็นว่ามีลูกค้าที่ต้องการผลผลิตอีกเป็นจำนวนมาก “พอลูกค้าเพิ่มมา
เทคโนโลยีการเกษตร คือการใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและผลกำไรในภาคเกษตรกรรม ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมในเมืองไทยเริ่มตื่นตัว เห็นได้จากหลายฟาร์มที่มีการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรเข้ามาใช้บริหารจัดการภายในฟาร์มกันมากขึ้น เพื่อให้การทำเกษตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ทั้งในเรื่องของคุณภาพ ปริมาณผลผลิต รวมถึงช่วยลดปัญหาด้านแรงงานขาดแคลน คุณเสาวนีย์ ภูมิลุน หรือ คุณเปรี้ยว นักวิชาการเกษตร บริษัท กรีนพลัส ฟาร์ม อยู่ที่บ้านคำบง ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เกษตรกรรุ่นใหม่ มุ่งหน้าทำในสิ่งที่รักคือการทำเกษตร พร้อมเรียนรู้และเปิดใจการนำเทคโนโลยีการเกษตรเข้ามาปรับใช้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า คุณเปรี้ยว เล่าให้ฟังว่า ตนเองเรียนจบคณะเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หลังเรียนจบก็ได้กลับมาประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรทำฟาร์มปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เล็กๆ เป็นของตนเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นได้ตัดสินใจหยุดพักงานที่สวน เพื่อต้องการหาความรู้ และประสบการณ์ด้านใหม่ๆ สำหรับนำมาประยุกต์ต่อยอดทำฟาร์มปลูกผักของตัวเองในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น จึงตัดสินใจไปสมัครงานที่บริษัท กรี
เป้าหมายสร้างทักษะอาชีพให้แก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนพื้นที่ต่างจังหวัดหรือในพื้นที่ห่างไกล ผ่านการทำโครงการและกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง และสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน คือ ผลสัมฤทธิ์ที่โรงเรียนและผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner: SP) วางแผนร่วมกันในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของไทย ภายใต้โครงการสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์ อีดี (CONNEXT ED) “โครงการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ปลอดสารพิษ” ของ โรงเรียนบ้านบุตะโก จังหวัดนครราชสีมา เป็น 1 ในจำนวนกว่า 200 โครงการ ที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สนับสนุนโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์ อีดี ในความรับผิดชอบของซีพีเอฟ เป็นการส่งต่อองค์ความรู้ให้กับนักเรียนโดยปราชญ์ชุมชนที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และพี่ๆ SP ของซีพีเอฟที่คอยให้คำแนะนำกับโรงเรียน ทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะด้านอาชีพและด้านวิชาการไปพร้อมกัน ผลผลิตพืชผัก นำไปจำหน่ายที่โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน และนำไปจำหน่ายในชุมชน และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่นอกจากนี้ นักเรียนคิดริเริ่มต่อยอดนำพื
คุณกัลยาณี อ่อนทอง เกษตรกรต้นแบบ (Smart Farmer) อำเภอเกาะยาว พังงา ใช้ชีวิตตามหลักปรัชญา “ เศรษฐกิจพอเพียง” สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยสวนตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านท่าค่าย ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เป็นสวนเกษตรผสมผสาน ในพื้นที่ 1.5 ไร่ ปลูกพืชหลากหลายชนิด เช่น มะละกอ กล้วยหอม ฝรั่ง เสาวรส มัลเบอรี่ มะพร้าวน้ำหอม แก้วมังกร มะนาว พืชผักสวนครัว เพาะถั่วงอก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ไว้บริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม นอกจากนี้ ยังปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และผักในโรงเรือนระบบปิด ขนาด 6×20 เมตร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาและสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว เพื่อเป็นจุดเรียนรู้การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ สนับสนุนการท่องเที่ยวของอำเภอเกาะยาว และยังมีไม้ยืนต้น อย่าง ต้นสักทอง ตะเคียนทอง อีกจำนวนหนึ่ง ปลูกไว้เพื่อเป็นร่มเงาและไว้สร้างที่อยู่อาศัยให้ลูกหลานในอนาคต พืชที่สร้างรายได้หลักคือ ผักไฮโดรปนิกส์ ที่ปลูกทั้งผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี คะน้า กวางตุ้ง จำหน่าย กิโลกรัมละ 70 บาท และผักสลัด ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดมาก สามารถจำหน่ายได้ราคาถึงกิโลกรัมละ 120 บา