ปลูกพืชหลังนา
“ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือ มีนาคมทุกปี กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำแม่เมยจะมีการประชุมใหญ่เพื่อวางแนวทางจัดสรรน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคและการทำเกษตรกรรมแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง โดยเริ่มระบายน้ำจากคลองลำน้ำเมยสู่ฝาย 3 ฝาย คือ ฝายผ่าเวียงมีพื้นที่รับน้ำ 350 ไร่ ฝายกอม่วงมีพื้นที่รับน้ำ 600 ไร่ และฝายสุดใจมีพื้นที่รับน้ำ 300 ไร่ จากนั้นระบายน้ำลงคลองชลประทานยาว 11 กิโลเมตร ระหว่างทางมีบ่อพักน้ำ 13 บ่อ เพื่อเก็บไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง” นายประเสริฐ วงค์ตันกาศ ประธานกลุ่มบริหารจัดการน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำแม่เมยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน กล่าว ด้านนางกาญจนา ธรรมมากาศ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านห้วยเดื่อ ตำบลทาขุมเงิน เปิดเผยว่า ราษฎรแถบนี้ส่วนใหญ่ปลูกลําไย ทำนาข้าว ปลูกพืชหลังนา ได้แก่ กระเทียมและหอมแบ่ง และพืชผักสวนครัวเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน “ราษฎรได้รับประโยชน์จากโครงการอ่างเก็บน้ำแม่เมยอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดสรรน้ำ ตอนนี้ในอ่างมีปลาจำนวนมากให้ชาวบ้านจับกินจับขายได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นแหล่งท
แตงโม มีวิตามินและแร่ธาตุที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นไม้เถาเลื้อย ขอบใบหยัก ลำต้นมีขน ดอกสีเหลือง ผลกลมและกลมรี เกษตรกรแขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก ได้ปลูกแตงโมพืชเศรษฐกิจสำคัญเป็นพืชหมุนเวียนหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือฤดูแล้ง ในโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรังช่วยทำให้โครงสร้างดินดีมีคุณภาพ หรือเพื่อการยกระดับรายได้ นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความมั่นคง คุณจันทิรา บวรรัตนสุภา เกษตรกรุงเทพมหานคร สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร เล่าให้ฟังว่า สภาพพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่การเกษตร 120,450 ไร่ เกษตรกร 7,032 ครัวเรือน พืชที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่ทำนา 87,397 ไร่ เกษตรกร 3,328 ครัวเรือน กล้วยไม้ 1,514 ไร่ เกษตรกร 243 ครัวเรือน ไม้ดอกไม้ประดับรวมสนามหญ้า 488 ไร่ เกษตรกร 94 ครัวเรือน พืชผัก 2,188 ไร่ เกษตรกร 658 ราย และอื่นๆ สถานการณ์ปัจจุบัน เกษตรกรจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ใช้วิธีการแบบเดิมๆ มีความเสี่ยงกับดินฟ้าอากาศผันแปร ผลผลิตที่ได้รับไม่คุ้มทุนหรือมีความเสี่ยงด้านการตลาด จึงส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ทำให้ไม่มั่นคงต่อการยังชีพ ก้าวสู่วิถีใหม่ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา สำนั
กรมส่งเสริมสหกรณ์ปลื้ม 118 สหกรณ์ สนใจเข้าร่วมโครงการปลูกพืชหลังนากว่าแสนไร่ ส่วนใหญ่เลือกปลูกข้าวโพดเพราะเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ตลาดต้องการสูงปีละ 8 ล้านตัน นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ในปีนี้ประเทศไทยเสี่ยงประสบภาวะภัยแล้ง ปริมาณน้ำโดยรวมในประเทศอาจจะไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง จึงต้องลดปริมาณการใช้น้ำ ลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง และหันมาส่งเสริมปลูกพืชทดแทนที่มีศักยภาพ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปัจจุบันไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เพียงปีละ 4-5 ล้านตันเท่านั้น จึงต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และพืชชนิดอื่นในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เป็นจำนวนมาก ดังนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชทางเลือกหลังฤดูการทำนา ปีการผลิต 2566/67 เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอกับความต้องการของตลาด และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง โดยสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นเงินหมุนเวียนเพิ่
“ข้าว” คือต้นธารแห่งวัฒนธรรมของคนไทย เป็นรากฐานของชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชีวิตและสังคมของไทย แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปมาก สังคมไทยที่เคยเป็นสังคมเกษตร ปัจจุบันต้องพบกับปัญหา เนื่องจากรายได้ภาคเกษตรมีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อมองถึงความมั่นคงทางอาหารของสังคมไทย จึงไม่ควรมองความสำคัญจากมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือคิดเป็นมูลค่าจากจำนวนเงินเท่านั้น เพราะสถานะภาคเกษตรมีความสำคัญในการเกื้อหนุนชีวิตแรงงานภาคเกษตร ซึ่งปัจจุบันอาชีพชาวนาต้องพบกับปัญหา เนื่องจากลูกหลานชาวนาส่วนใหญ่ต่างเข้ามาทำงานในเมือง หรือเคลื่อนย้ายสู่แรงงานนอกภาคเกษตรมากขึ้น เพราะเห็นว่าอาชีพทำนาเป็นงานที่หนัก ต้องพึ่งพาธรรมชาติ เกิดความสูญเสียจากภัยพิบัติบ่อยครั้ง ต้นทุนการผลิตที่สูง ราคาและรายได้น้อยไม่แน่นอน และไม่มีสวัสดิการที่มั่นคง เหลือแต่ชาวนาสูงวัย จึงทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่า อนาคตข้างหน้าอาจกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ดังนั้น การเรียนรู้การทำนาอย่างถูกต้อง โดยยึดหลัก 3 ป. คือ ประหยัด ปลอดภัย และปฏิบัติได้ จะส่งผลให้ชาวนามีความสุข และม
ตามที่มีสื่อมวลชนบางฉบับลงข่าวว่า เกษตรกรใน อ.ภูซาง จ.พะเยา ไม่สามารถขายข้าวโพดได้ราคาตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ประกาศ และอ้างว่ามีนายทุนเป็นผู้กำหนดราคาขายไม่ใช่รัฐบาล ทำให้เกษตรกรขายได้ราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และวิสาหกิจชุมชนที่อ้างต้องมารองรับปัญหาด้วยการช่วยซื้อข้าวโพดดังกล่าวนั้น นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้เกษตรจังหวัดและสหกรณ์จังหวัดพะเยาเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวทันที และพบว่า ในพื้นที่ อ.ภูซาง จ.พะเยา เกษตรกรตามที่ปรากฏในข่าวไม่ได้เป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ และจุดที่เกษตรกรไปจำหน่ายไม่ได้เป็นจุดรับซื้อของสหกรณ์ตามโครงการฯ ที่ได้ทำลงนามความร่วมมือหรือเอ็มโอยูร่วมกันไว้ และพบว่าเกษตรกรที่ ขายให้กับจุดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่โครงการฯ กำหนดไว้ ได้แก่ สหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด โดยมีสหกรณ์การเกษตรบ้านร่องส้าน จำกัด ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน รองรับผลผลิตและส่งจำหน่ายต่อ โดยราคาเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามโครงการฯ โดยไม่วัดความชื้น จำหน่ายแบบเหมาทั้งฝัก ความชื้นอยู่ที่ประมาณ 30-34 เปอร์เซ็นต์ ซึ่
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 ให้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา โดยให้เป็นปัจจัยการผลิตกับเกษตรกร ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา 13 ทุ่ง และพื้นที่งดทำนาปรัง มาปลูกพืชผัก พืชไร่ ใช้น้ำน้อยช่วงฤดูแล้งนี้ โดยเกษตรกรต้องไม่เคยเข้าร่วมโครงการที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลทุกโครงการในฤดูกาลที่ผ่านมา จะจ่ายให้เกษตรกร ครัวเรือนละ 1 สิทธิ์ ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ตามพื้นที่ปลูกจริงอัตราไร่ละ 600 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ เป็นเงินประมาณ 9,000 บาท ในพื้นที่เป้าหมาย 4.87 ล้านไร่ เกษตรกร 330,000 ครัวเรือน กรอบวงเงิน 2,932 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอดำรงชีพ ลดภาระค่าครองชีพพร้อมกับการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรรักษาศักยภาพการผลิต ส่งผลให้คุณภาพชีวิตมั่นคงเข้มแข็งในการประกอบอาชีพ จากการคาดการณ์ของกรมอุตนิยมวิทยาว่า ฤดูฝนมาช้า และอาจยาวนานถึงปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรช่วงฤดูแล้ง ที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย ลดความเสี่ยง
สหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่ใช้น้ำจากฝายเพื่อปลูกพืช มีเพียงธุรกิจบริการเพียงอย่างเดียว ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่การดูแลเกษตรกรมากยิ่งขึ้น เพิ่มธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจรวบรวมสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด กล้วย พริก ปาล์มน้ำมัน เพื่อช่วยให้สมาชิกสหกรณ์สามารถลดต้นทุนการผลิต มีรายได้เพิ่มขึ้น สุทิน ปันดี ผู้จัดการสหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด กล่าวว่า ทางสหกรณ์ได้จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือสมาชิก แนวทางการส่งชำระหนี้สหกรณ์ แนวทางการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งสหกรณ์ได้มีการส่งเสริมด้านพืชผลทางการเกษตรแก่สมาชิก โดยเฉพาะในเรื่องของข้าวโพด สหกรณ์ให้การสนับสนุนทั้งด้านแหล่งรับซื้อผลผลิต การประกันราคาผลผลิต เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นหลังการเก็บเกี่ยว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ในพื้นที่ทั้งหมด 60 ไร่ เสถียร แข็งแรง สมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอม กล่าวว่า เมื่อก่อนตนเป็นหนี้สินเพราะขายผลผลิตได้น้อย สหก
สหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่ใช้น้ำจากฝายเพื่อปลูกพืช มีเพียงธุรกิจบริการเพียงอย่างเดียว ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่การดูแลเกษตรกรมากยิ่งขึ้น เพิ่มธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจรวบรวมสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด กล้วย พริก ปาล์มน้ำมัน เพื่อช่วยให้สมาชิกสหกรณ์สามารถลดต้นทุนการผลิต มีรายได้เพิ่มขึ้น คุณสุทิน ปันดี ผู้จัดการสหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด กล่าวว่า ทางสหกรณ์ได้จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือสมาชิก แนวทางการส่งชำระหนี้สหกรณ์ แนวทางการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งสหกรณ์ได้มีการส่งเสริมด้านพืชผลทางการเกษตรแก่สมาชิก โดยเฉพาะในเรื่องของข้าวโพด สหกรณ์ให้การสนับสนุนทั้งด้านแหล่งรับซื้อผลผลิต การประกันราคาผลผลิต เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นหลังการเก็บเกี่ยว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ในพื้นที่ทั้งหมด 60 ไร่ คุณเสถียร แข็งแรง สมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้น้ำฝายยางประสบสุก จำกัด เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอม กล่าวว่า เมื่อก่อนตนเองเป็นหนี้สินเพราะขายผ
ก.เกษตรฯ เดินหน้าส่งเสริม ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา 2 ล้านไร่ สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จูงใจเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ประสานบริษัทเอกชนชั้นนำ เบทาโกร – ซีพี รับซื้อผลผลิต เริ่ม พ.ย. นี้ เผยปลูกข้าวโพดหลังนาให้ผลกำไรดีกว่าปลูกข้าว เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2561 นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่มอบนโยบายการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชหลังนา ที่บ้านหม้อ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ พร้อมเปิดเผยว่า โครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูกาลทำนา ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ นำร่องพื้นที่ 5,000 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 430 ครัวเรือน คาดว่าจะได้รับผลผลิตประมาณ 7,500 ตัน กรมส่งเสริมสหกรณ์ จะประสานเครือเบทาโกร และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ให้มารับซื้อผลผลิตต่อจากสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ ส่วนราคาขั้นต่ำกำหนดรับซื้อ 5 บาท/กิโลกรัม (กก.) คาดว่าจะมีรายได้ 7,500บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุน เหลือกำไรประมาณ 4,000 บาท/ไร่ ขณะที่ผลกำไรจากการปลูกข้าวหลังหักต้นทุนแล้ว เหลือเพียง 2,000 บาท/ไร่ เท่านั้น สำหรับพื้นที่บ้านหม้อ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่นำร่องการสนับสนุนให้เกษตรก