ปลูกพุทรา
“พุทรา” เป็นผลไม้ดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมในยุคเก่าแก่ มีทั้งรสเปรี้ยวหวาน รสฝาดปนหวาน จึงรับประทานสดหรือจิ้มพริกเกลือแล้วแต่ความชอบ ถึงตอนนี้พุทรายังมีอยู่เพียงแต่ลดความนิยมลงไปจึงไม่ค่อยพบเห็น เพราะมีผลไม้เด่นหลายชนิดมาเบียดแซง พุทราถูกปรับปรุงพันธุ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดจึงมีพันธุ์หลายชนิดและพันธุ์พุทราที่นิยมปลูกในไทย ได้แก่ พุทราไทยพื้นเมือง สามรส บอมเบย์ หรือแอปเปิ้ล เจดีย์ เหรียญทอง ถ้วยทอง ไข่เต่า พุทราจีน นมสด จัมโบ้ น้ำผึ้ง เป็นต้น ขณะเดียวกัน พุทราสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทรายมากกว่า ชอบอากาศร้อน ชอบแสงแดดเพียงพอ ควรปลูกในฤดูฝน ปลูกได้หลายวิธี ทั้งเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ติดตา เสียบยอด และทาบกิ่ง ซึ่งนิยมวิธีนี้มากกว่าเพราะให้ผลผลิตเร็วเหมาะกับการปลูกเชิงพาณิชย์ ชาวบ้านจังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะที่บ้านบัวเทิง ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ ปลูกพุทรากันหลายครัวเรือน ปลูกเชิงพาณิชย์ เพราะราคาดี ในช่วงผลผลิตมีพ่อค้ามารับซื้อที่สวนเพื่อนำไปขายในพื้นที่จังหวัด แม้มีปริมาณมากแต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ตลาดสินค้าเกษตรก้าวหน้า เล่มนี้ ชักชวนผู้อ่านไปรู้จักกั
“พุทรา” เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้เร็ว ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้หลายสิบปีกันเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีทิศทางตลาดไปได้ดีอีกด้วย คุณสุวิทย์ และ คุณรัศมี ศรีบุรินทร์ 2 สามี-ภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 86 หมู่ที่ 12 บ้านน้ำค้อ ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เล่าให้ฟังว่า ตนมีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำนา ทำสวน ปลูกอ้อย ฯลฯ แต่หากว่างจากการทำไร่ทำสวนก็จะออกไปขายล็อตเตอรี่ที่ต่างจังหวัด แล้วค่อยกลับมาดูแลไร่สวนตัวเองตามเคย ซึ่งอย่างที่รู้กันอยู่ว่าในช่วงที่ผ่านมาจนมาถึงตอนนี้เศรษฐกิจบ้านเมืองไม่ค่อยดีนัก “ข้าวยากหมากแพง” การใช้จ่ายต้องระมัดระวังให้มากถึงจะดำเนินชีวิตอยู่รอด แถมบางปีฟ้าฝนไม่เป็นใจ ก็ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายอยู่เหมือนกัน จนตนและภรรยาต้องคิด ปรับเปลี่ยน หาปลูกพืชชนิดใหม่ที่จะทำให้เราได้ผลผลิตที่เป็นไปตามเป้าและยั่งยืน คุณสุวิทย์ เล่าว่า เริ่มแรกได้ตัดสินใจปลูกส้มเขียวหวาน บนเนื้อที่ 4 ไร่ ของตนเอง ตอนแรกก็ให้ผลิตดี ลูกดก แต่พอถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ไม่ว่าจะเป็นลูกไม่สมบูรณ์ รสชาติไม่โดนใจตลาด ส่งขายลำบาก เริ่มเก