ปลูกมะพร้าว
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการบริหารการนำเข้ามะพร้าวผลพิกัดฯ 0801.12.00 พิกัดฯ 0801.19.10 และพิกัดฯ 0801.19.90 ตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2564 ช่วงที่ 2 (เดือนกันยายน – ธันวาคม 2564) โดยใช้ผลการรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในประเทศของผู้ประกอบการฯ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 6 สิงหาคม 2564 มาพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้าให้แก่ผู้มีสิทธินำเข้าในอัตรา 1 : 2.5 (นำเข้า 1 ส่วน ต่อการรับซื้อมะพร้าวผลในประเทศ 2.5 ส่วน) จำนวน 15 ราย รวมปริมาณจัดสรรนำเข้า 78,477 ตัน ทั้งนี้ การนำเข้าต้องเป็นไปตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ นอกจากนี้ เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการพืชน้ำมันฯ ได้มีมติเห็นชอบการใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure : SSG) ภายใต้ความตกลง WTO ปี 2564 โดยใช้หลักการคำนวณ Trigger Volume ที่ปริ
มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ปลูกง่าย แต่การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายด้วย โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ลมพัดแรง ฝนตกหนัก หรือหนาวในเวลากลางคืน ด้วงแรดมะพร้าวมันมักจะเข้ามาทำลายความเสียหายให้กับการปลูกและผลิตมะพร้าว วันนี้จึงมาบอกเตือนผู้ปลูกมะพร้าวให้ระวัง และ “ป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าวศัตรูร้ายออกไป…เพื่อให้ได้ผลผลิตมะพร้าวคุณภาพ” ตามที่ตลาดต้องการ อาจารย์ประสงค์ ทองยงค์ เกษตรกรทำสวนมะพร้าว เล่าให้ฟังว่า ได้ช่วยครอบครัวทำงานในสวนมะพร้าวมาตั้งแต่วัยเด็ก พร้อมกับเรียนหนังสือไปด้วย เมื่อเรียนจบได้เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อเกษียณอายุราชการก็ได้มาปลูกสร้างสวนมะพร้าวเพื่อต่อยอดกิจกรรมของครอบครัวมาถึงวันนี้ก็มากกว่า 50 ปี มะพร้าว เป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นจึงไม่เป็นพันธุ์แท้ มะพร้าวมี 2 ประเภท คือ มะพร้าวต้นเตี้ย และต้นสูง มะพร้าวต้นเตี้ย มีการผสมตัวเองค่อนข้างสูง จึงมักให้ผลดกและไม่ค่อยกลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ปลูกรับประทานผลอ่อน เนื้ออ่อนนุ่ม น้ำมีรสหวาน กลิ่นหอม ลักษณะ ต้นสูงเต็มที่ 12 เมตร ลำต้นเล็ก โคนต้นไม่มีสะโพก ทางใบสั้น การปฏิบัติดูแล
วิกฤตชาวนา”ยิ่งทำ ยิ่งจน” จากปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ธรรมชาติลงโทษ ชาวนาหลายชีวิตต้องทิ้งที่นา ปล่อยให้ที่นารกร้างว่าเปล่า ดิ้นรนเข้าเมืองทำงานรับจ้างแทน “สุเทพ ชูศรี” วัย 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 3 ต.โรง อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา พลิกผืนนาจำนวน 30 ไร่ เกษตรกรคนหนึ่งที่ประสบปัญหา หาทางออกด้วยการพลิกผืนดินนาข้าว 30 ไร่ เปลี่ยนอาชีพมาทำสวนมะพร้าวน้ำหอม จนประสบความสำเร็จ ด้วยการเพิ่มเทคนิคทำเป็นมะพร้าวโนบรา สร้างมูลค่าเพิ่มขายลูกละ50 บาท ฮิตติดตลาดเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ส่งขายในตลาดทั่วไปและห้างดัง “สุเทพ”จากที่เคยทำนาข้าวมายาวนาน รายได้พออยู่พอกิน ชักหน้าพอถึงหลัง แต่ระยะหลังดินเสื่อมสภาพ ต้องใช้ปริมาณปุ๋ยเคมีเพิ่ม ทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น โรคซ้ำกรรมซัดราคาข้าวตกต่ำ รายได้ไม่พอจุนเจือครอบครัว จึงมองหาอาชีพใหม่ที่มีอนาคตมาทดแทนอาชีพทำนา เดินทางไปดูการทำการเกษตรหลายตัว จึงตัดสินใจทำสวนมะพร้าวน้ำหอมแทนตั้งแต่ปี 2551 เพราะมะพร้าวน้ำหอมกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก ลงแรงปลูกมะพร้าวน้ำหอมในผืนนา 30 ไร่ 1,300 ต้น จากอดีตที่เคยทำนาและประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำและเคยเป็นแกนนำปิดถนนประท้วงมาแล้ว แต